ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองโอ่งอ่าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:600 old market.jpg|thumb|280px|คลองโอ่งอ่างในอดีต มีจุดเด่นคือสะพานหัน ซึ่งถอดรูปแบบมาจากสะพานริอัลโต เมือง[[เวนิซ]] [[ประเทศอิตาลี]] ปัจจุบันได้รื้อถอนออกไปแล้ว]]
'''คลองโอ่งอ่าง''' เป็นส่วนช่วงหนึ่งของ[[คลองรอบกรุง]]ที่ต่อ มีขอบเขตจากปากคลองบางลำพู ตรง[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]] ปลายมหานาคไปถึงปากคลองไปซึ่งหันออกสู่[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ใกล้ทางตอนใต้<ref>โรม บุนนาค. (2561). [https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000117719 เปิดตำนานคลองโอ่งอ่าง ก่อนเปลี่ยนโฉมหน้า! ทำกันจริงๆก็พลิกได้เหมือนฝ่ามือ!!.] สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564</ref> ข้าง ๆ กับ[วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร[สะพานพระพุทธยอดฟ้า]] มีระยะทางรวมประมาณ 750 เมตร คลองโอ่งอ่างทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตปกครองระหว่าง[[เขตพระนคร]]กับ[[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]]
 
ในอดีตคลองโอ่งอ่าง เป็นช่วงคลองสัญจรที่สำคัญของฝั่งพระนคร ประกอบด้วยชุมชนตลอดช่วงสองฝั่งริมคลอง และถือเป็นแหล่งขายเครื่องปั้นดินเผาของชาวจีนและมอญที่สำคัญเมือง จึงเป็นข้อสันนิษฐานของชื่อคลองโอ่งอ่าง<ref>เมืองไทยวันนี้. (2563). [https://www.pmdu.go.th/thailand-today/ong-ang-canal/ เปลี่ยนจากน้ำเน่า เป็นคลองสวยน้ำใส.] สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564</ref> ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการสร้างสะพานหันที่ถอดรูปแบบสะพานริอัลโต เมือง[[เวนิซ]] [[ประเทศอิตาลี]]<ref>เอนก นาวิกมูล. (2541). [https://www.silpa-mag.com/culture/article_12962 สะพานหัน หันได้อย่างไร?.] สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564</ref> ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญในยุคนั้น จนเมื่อเมืองได้ขยายตัวมากขึ้น ความสำคัญของคลองก็ได้ลดลง การสัญจรส่วนใหญ่เปลี่ยนรูปแบบไปใช้บนถนน ทำให้เกิดชุมชนแออัดโดยรอบคลองและแปรเปลี่ยนสภาพเป็นคลองระบายน้ำทิ้ง
 
ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 [[กรุงเทพมหานคร (องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] โดยมติของรัฐบาลได้ทำการรื้อถอนอาคารร้านค้าต่าง ๆ บริเวณริมคลองโอ่งอ่างที่ถูกบดบังทัศนียภาพมานานกว่า 40 ปี เพื่อทำการปรับภูมิทัศน์ให้เป็น[[ถนนคนเดิน]]
 
== ประวัติ ==