ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การลงคะแนนแบบจำกัดคะแนนเสียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 35:
 
==ทางปฏิบัติและประเด็น==
ถึงแม้ว่าวิธีนี้บ่อยครั้งจะช่วยให้กลุ่มเสียงข้างน้อยได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งไม่เหมือนกับ[[ระบบแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด|แบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด]] (FPTP) หรือ[[ระบบแบ่งเขตหลายเบอร์|แบบแบ่งเขตหลายเบอร์]] (ยกชุด) หรือ Bloc voting แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนี้เสมอไปเนื่องจากประสิทธิภาพของคะแนนเสียงส่วนนั้นอาจจะถูกปรับขึ้นตามจำนวนผู้สมัคร
 
จากตัวอย่างที่ผ่านมา ผู้ลงคะแนนร้อยละ 54 สนับสนุนพรรคน้ำเงิน และอีกร้อยละ 46 สนับสนุนพรรคแดง ให้สมมติว่าหากแบ่งการสนับสนุนทั่วทั้งเขตแล้ว พรรคน้ำเงินจะชนะทั้งสามที่นั่งทั้งใน[[ระบบแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด|แบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด]] และ[[ระบบแบ่งเขตหลายเบอร์|แบบแบ่งเขตหลายเบอร์]] ในขณะที่แบบเสียงจำกัดนั้นพรรคแดงจะชนะได้ 1 ที่นั่ง
 
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่พรรคน้ำเงินจะพยายามมากเกินไปจนทำให้ชนะเพียงแค่ที่นั่งเดียวจากทั้งหมดได้ เพราะพรรคน้ำเงินได้คะแนนเสียงเกือบร้อยละ 60 ของทั้งหมด โดยอาจมีความพยายามจะเอาชนะทั้งสามที่นั่ง โดยจะใช้วิธีส่งผู้สมัครให้ครบสามคน ในขณะที่พรรคแดงซึ่งรู้จุดอ่อนของตนจึงเลือกที่จะส่งผู้สมัครเพียงสองรายเพื่อพยายามรวบรวมเสียงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด