ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[File:Approval ballot.svg|thumb|right|ในบัตรลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติ ผู้ลงคะแนนสามารถเลือกผู้สมัครได้หลายคน]]
 
'''ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติ''' ({{lang-en|Approval voting}}) เป็น[[ระบบการลงคะแนน]]สำหรับ[[เขตเลือกตั้ง]]ที่มีผู้แทนเพียงคนเดียวซึ่งผู้ลงคะแนนอาจเลือกที่จะ "อนุมัติ" (approve) ผู้สมัครกี่รายก็ได้ โดยผู้ชนะจะเป็นผู้ที่ได้รับคะแนนอนุมัติสูงสุด ระบบการลงคะแนนแบบนี้มีลักษณะของ[[ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม|แบบคะแนนรวม]]อยู่โดยที่ผู้ลงคะแนนสามารถให้คะแนนได้เป็นลำดับ โดยจะเลือกผู้สมัครที่จำนวนคะแนนรวมมากที่สุดรวมกัน วิธีนี้แตกต่างกับ[[การลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่า]]ซึ่งผู้ลงคะแนนเลือกลงคะแนนได้เพียงหนึ่งคนจากตัวเลือกทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งผู้ชนะการเลือกตั้งมาจากผู้ที่มีคะแนนนำโดยไม่คำนึงถึงว่าจะได้รับจำนวนเสียงข้างมากหรือไม่
 
ในสหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการเสนอให้เปลี่ยนมาใช้การลงคะแนนวิธีนี้ในการเลือกตั้งระดับเทศบาล โดยผ่านการรับรองแล้วในฟาร์โก นอร์ธ ดาโกตา ในปีค.ศ. 2018 และเซนต์หลุยส์ มิสซูรี ในปีค.ศ. 2020 โดยในฟาร์โกนั้นใช้คะแนนอนุมัติเมื่อปีค.ศ. 2020 ในการลงคะแนนเลือกสมาชิกสภาเมือง<ref name="Ballotpedia Fargo">[https://ballotpedia.org/Fargo,_North_Dakota,_Measure_1,_Approval_Voting_Initiative_(November_2018) Fargo, North Dakota, Measure 1, Approval Voting Initiative (November 2018)], November 7, 2018 ''[[Ballotpedia]]''</ref><ref name="Fargo approves">[https://ivn.us/2018/11/06/one-americas-famous-towns-becomes-first-nation-adopt-approval-voting/ One of America’s Most Famous Towns Becomes First in the Nation to Adopt Approval Voting] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20181107185459/https://ivn.us/2018/11/06/one-americas-famous-towns-becomes-first-nation-adopt-approval-voting/|date=2018-11-07}}, accessed November 7, 2018</ref><ref name="Fargo votes">{{cite web |url=https://www.publicnewsservice.org/2020-06-10/civic-engagement/fargo-becomes-first-u-s-city-to-try-approval-voting/a70495-1 |title=Fargo Becomes First U.S. City to Try Approval Voting |last=Moen |first=Mike |date=June 10, 2020 |work=Public News Service |access-date=December 3, 2020 }}</ref><ref name="St. Louis approves">{{cite web|last=|first=|date=November 4, 2020|title=St. Louis Voters Approve Nonpartisan Elections|url=https://www.usnews.com/news/best-states/missouri/articles/2020-11-04/st-louis-voters-approve-nonpartisan-elections|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=December 3, 2020|work=US News and World Report}}</ref> และเซนต์หลุยส์ใช้ระบบนี้ในการคัดเลือกผู้สมัครเพียงสองคนที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และเทศมนตรี<ref>{{Cite web|last=Rakich|first=Nathaniel|date=2021-03-01|title=In St. Louis, Voters Will Get To Vote For As Many Candidates As They Want|url=https://fivethirtyeight.com/features/in-st-louis-voters-will-get-to-vote-for-as-many-candidates-as-they-want/|access-date=2021-03-04|website=FiveThirtyEight|language=en-US}}</ref><ref name=":0">{{Cite web|title=March 2, 2021 Non-Partisan Primary Municipal Election|url=https://www.stlouis-mo.gov/government/departments/board-election-commissioners/elections/election.cfm?customel_datapageid_524494=852866|url-status=live|access-date=2021-03-04|website=City of St. Louis Board of Election Commissioners|language=en}}</ref>
 
==อธิบาย==
บัตรลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติจะแสดงจำนวนผู้สมัครเป็นรายบุคคลในเขตเลือกตั้งนั้นๆ โดยจะให้กาสัญลักษณ์ลงหน้าชื่อผู้สมัคร (หรือในบางกรณีให้ใส่ว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" แทน)
 
โดยอาจพบคำถามสำหรับผู้สมัครแต่ละรายโดยเฉพาะ อาทิเช่น "คุณอนุมัติบุคคลนี้สำหรับตำแหน่งนี้หรือไม่?" โดยให้ผู้ลงคะแนนสามารถเลือกอนุมัติผู้สมัครเพียงรายเดียว หรือบางราย หรือทุกรายก็ได้ โดยการนับคะแนนนั้นนับเท่ากันหมด และผู้สมัครทุกรายมีคะแนนเดียวเท่ากัน ไม่ว่าจะอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ โดยผลรวมคะแนนอนุมัติในแต่ละรายของผู้สมัครจะเป็นตัวกำหนดผู้ชนะซึ่งได้รับคะแนนอนุมัติสูงสุด
 
บัตรลงคะแนนที่ผู้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครทุกรายเท่ากันนั้นโดยปกติแล้วไม่มีผลใดๆ กับผลการเลือกตั้ง เนื่องจากในบัตรลงคะแนนนั้นแบ่งผู้สมัครเป็นสองกลุ่มหลักๆ คือกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุน และกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุน โดยในแต่ละผู้สมัครที่ได้รับการอนุมัติย่อมหมายความว่าได้รับความพึงพอใจมากกว่าผู้สมัครที่ไม่ได้รับการอนุมัติ ในขณะที่ลำดับความชอบของผู้ลงคะแนนในหมู่ผู้สมัครที่ได้รับการอนุมัติจะไม่ได้รับการเฉพาะเจาะจง เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้สมัครที่ไม่ได้รับการอนุมัติ
 
==บัตรลงคะแนน==
บัตรลงคะแนนในระบบคะแนนอนุมัตินี้สามารถมีได้สี่รูปแบบ แบบง่ายที่สุดคือช่องว่างเพื่อให้ผู้ลงคะแนนระบุชื่อผู้สมัครที่สนับสนุนด้วยลายมือ ในบัตรลงคะแนนที่ละเอียดขึ้นจะมีรายชื่อผู้สมัครทุกคน และให้ผู้ลงคะแนนทำเครื่องหมายหน้าผู้สมัครที่สนับสนุน ในบางกรณีจะมีความซับซ้อนมากขึ้นซึ่งให้ถึงสองตัวเลือกต่อผู้สมัครหนึ่งราย
{| BORDER
|-
| [[File:Approvalballotname.png|160px]]
| [[File:Approvalballotword.png|160px]]
| [[File:Approvalballotmark.png|160px]]
| [[File:Approvalballotchoice.png|160px]]
|}
 
ในบัตรลงคะแนนทั้งสี่แบบนี้เทียบเท่ากันในทางทฤษฎี ในบัตรที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าอาจช่วยให้ผู้ลงคะแนนลงคะแนนได้ชัดเจนและรู้ถึงตัวเลือกทั้งหมดที่มี ในบัตรลงคะแนนแบบใช่/ไม่ใช่นั้นสามารถช่วยผู้สมัครในกรณีการ "ลืมลงคะแนน" โดยปล่อยช่องไว้แบบไม่ได้กาเครื่องหมายและยังช่วยให้ผู้ลงคะแนนมีโอกาสตรวจการลงคะแนนว่าถูกต้องตามต้องการแล้ว ในแบบที่มีช่องเดียวนั้นไม่สามารถจะทำให้เป็นบัตรเสียได้
 
ในกรณีที่ใช้บัตรลงคะแนนแบบที่สองหรือแบบที่สี่ การใส่คะแนนลับหลังลงในบัตรลงคะแนนนั้นจะไม่ทำให้บัตรเสีย (เว้นแต่จะเห็นชัดเจนว่าเป็นการโกง) ดังนั้นจึงทำให้คำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นธรรมในการเก็บรักษาบัตรลงคะแนนภายหลังการเลือกตั้ง
 
{{clr}}
==ดูเพิ่ม==
* [[ระบบการลงคะแนน]]
* [[การนับแบบบอร์ดา]]
* [[ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด]] (First-past-the-post)
* [[การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที]] (Instant-runoff voting)
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}