ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{สั้นมาก}}
{{Infobox medical intervention
| name = การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ<br><small>(Intravenous therapy)</small>
| image = ICU IV 1.jpg
| caption = แขนผู้ป่วยมีสายสวนหลอดเลือดดำคาไว้ เป็นวิธีหนึ่งสำหรับให้การรักษาทางหลอดเลือดดำ
| caption = Infusion therapy: A person receiving medication via intravenous therapy.
| synonyms = IV therapy, iv therapy
| alt =
บรรทัด 18:
| eMedicine =
}}
'''การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ''' เป็นวิธีการวิธี[[การรักษา]]ทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ใช้สำหรับนำ[[สารน้ำ]] [[ยา]] หรือ[[สารอาหาร]]เข้าสู่ร่างกายผ่าน[[หลอดเลือดดำ]] ส่วนใหญ่ใช้เพื่อ[[ชดเชยสารน้ำ]]หรือ[[ให้สารอาหาร]]กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับอาหารหรือสารน้ำทางปากได้ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อให้ยาหรือการรักษาด้วยสารอื่นๆ เช่น [[การให้เลือด]]และผลิตภัณฑ์จากเลือด การให้เกลือแร่เพื่อแก้ไข[[ภาวะเกลือแร่ผิดปกติ]] เป็นต้น
 
การฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นวิธีการให้ยาและสารน้ำเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยเป็นการนำสารเข้าไปสู่[[ระบบไหลเวียน]]โดยตรงซึ่งจะถูกส่งผ่าน[[เลือด]]ไปยังร่างกายส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็ว การฉีดเข้าหลอดเลือดดำจึงถือเป็นวิธีการให้สารที่รวดเร็วที่สุด มีทั้งแบบฉีดให้หมดในครั้งเดียว (bolus) หรือค่อยๆ หยดเข้าหลอดเลือดดำก็ได้ ก่อนจะฉีดสารเข้าหลอดเลือดดำต้องมี[[การเจาะหลอดเลือดดำ|การเจาะเพื่อเข้าถึงหลอดเลือดดำ]]ให้ได้ก่อน โดยอาจใช้[[Hypodermic needle|เข็มเจาะเลือด]]เจาะเข้าที่หลอดเลือดดำเพื่อฉีดสารเข้าร่างกาย หรือใช้เข็มพร้อมหลอดเพื่อ[[Peripheral venous catheter|คาหลอดไว้ในหลอดเลือดดำ]]เพื่อสามารถให้ยาหรือสารน้ำซ้ำๆ หรือต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องเจาะหลอดเลือดดำใหม่ ในบางกรณีหากต้องคาสายเอาไว้เป็นเวลานานหรือมีข้อบ่งชี้อื่นอาจต้องใส่[[สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง]] ซึ่งปลายสายจะมีความยาวลึกเข้าไปถึงหลอดเลือดดำใหญ่ที่กลางร่างกาย
 
ผลข้างเคียงของการรักษาโดยเบื้องต้นคือ[[ความเจ็บปวด]]ขณะเจาะหลอดเลือดดำผ่านผิวหนังซึ่งพบได้เป็นปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ได้แก่[[Phlebitis|หลอดเลือดอักเสบ]]ซึ่งอาจเกิดจากการฉีดซ้ำๆ การคาสายเอาไว้เป็นเวลานาน หรือการฉีดสารที่มีฤทธิ์ระคายเคืองหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ยังอาจเกิด[[Extravasation (intravenous)|การเล็ดรอด]]ของยาหรือสารน้ำออกจากหลอดเลือดดำเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ ได้
 
มีบันทึกถึงความพยายามในการพยายามให้การรักษาด้วยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายจนกระทั่งเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อเทคนิกในการฉีดเข้าหลอดเลือดดำได้รับการพัฒนาจนได้ผลดีและมีความปลอดภยปลอดภัย การรักษาด้วยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำจึงได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้น
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Intravenous therapy}}