ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ครีบยันลอย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Muffin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[Image:Arc.boutant.cathedrale.Amiens.png|thumb|250px|ค้ำยันปีกที่[[มหาวิหารอาเมียง]]]]
 
'''ค้ำยันแบบปีก''' (ภาษาอังกฤษ: flying buttress หรือ arc-boutant) ในทาง[[สถาปัตยกรรม]]มักจะใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานเพื่อแบ่งรับน้ำหนักจากหลังคามาสู่ค้ำยันที่กระจายออกไปเป็นระยะๆ ซึ่งอาจจะเป็นทางเดินข้าง (aisle) คูหาสวดมนต์ หรือระเบียงนอกสิ่งก่อสร้าง การใช้ค้ำยันปีกทำให้ทุ่นการรับน้ำหนักหรือแรงกดทับกดดันกำแพงที่แต่เดิมต้องรับน้ำหนักและความกดทับกดดันทั้งหมด จึงทำให้สามารถทำหน้าต่างได้กว้างขึ้นได้ ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นโดยไม่มีค้ำยันปีกก็จะทำให้กำแพงไม่แข็งแรง
 
จุดประสงค์ของค้ำยันปีกก็เพื่อช่วยลดน้ำหนักกดทับกดดันของกำแพงทางเดินกลาง แรงกดทับกดดันและน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ส่วนบนของค้ำยันฉะนั้นเมื่อทำค้ำยันเป็นครึ่งซุ้มโค้งก็ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้เท่าๆ กับค้ำยันที่ตัน นอกจากนั้นยังทำให้ค้ำยันเบาขึ้นและราคาถูกกว่าที่จะสร้าง ฉะนั้นกำแพงจึง “บิน” ออกไปจากสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นกำแพงทึบจึงเรียกกันว่า “ค้ำยันปีก”
 
วิธีการก่อสร้างที่ใช้ค้ำยันมีมาตั้งแต่สมัย[[สถาปัตยกรรมโรมัน]]และต้น[[สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์|โรมาเนสก์]]แต่[[สถาปนิก]]มักจะพรางโดยการซ่อนใต้หลังคา เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปนิกก็เห็นถึงความสำคัญของค้ำยันและมาเน้นการใช้ค้ำยันเป็นสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างเช่นที่[[มหาวิหารชาร์ทร]] (Cathedral of Chartres) [[มหาวิหารเลอมานส์]] (Cathedral of Le Mans) [[มหาวิหารบูเวส์]] (Cathedral of Beauvais) [[มหาวิหารรีมส์]] (Cathedral of Reims) และ [[มหาวิหารโนเตรอดาม|มหาวิหารโนเตรอดาม เดอ ปารี]]เอง