ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุสานบ้านพรุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
'''สุสานบ้านพรุ''' หรือ '''สุสานจีนบ้านพรุ''' หรือ '''เปลวจีนบ้านพรุ''' ในชื่อท้องถิ่น เป็นสุสานจีนที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย<ref>หาดใหญ่โฟกัส. (2561). [https://www.hatyaifocus.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/751-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%2B...%2B%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%2B%3F%3F/หาดใหญ่ ... รู้หรือไม่ ??]. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564.</ref> มีขนาดประมาณ 333 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลาง[[เทศบาลเมืองบ้านพรุ]] [[อำเภอหาดใหญ่]] [[จังหวัดสงขลา]] ซึ่งห่างจากตัวเมืองชั้นใน[[เทศบาลนครหาดใหญ่]]ไปทางทิศใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร สุสานแห่งนี้ประกอบด้วย 2 กรรมสิทธิ์แบ่งเป็นสุสานของมูลนิธิจงฮั่วสงเคราะห์คนชราอนาถา จำนวน 211 ไร่ และสุสานของมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง (มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี) จำนวน 122 ไร่ ซึ่งมีการใช้แนวรั้วและแนวถนนด้วยกัน แต่มีการจัดการสุสานแยกออกจากกัน
 
สุสานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกจากบริจาคที่ดินจำนวน 180 ไร่ โดยขุนนิพัทธ์จีนนคร เมื่อปี พ.ศ. 2482<ref>สงขลานิวส์. (2014). [http://www.songkhlamedia.com/media/index.php?topic=2611.0 ขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจียกีซี) ต้นตระกูลจิระนคร ผู้สร้างเมืองหาดใหญ่.] สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564.</ref> เพื่อเป็นสถานที่ฌาปนกิจชาวจีนที่เป็นแรงงานสร้างทาง[[รถไฟสายใต้]] ซึ่งได้เข้ามาตั้งรกรากในอำเภอหาดใหญ่ โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 เป็นต้นมา มีการสร้างตัดถนนและชุมชนติดต่อกับ[[สถานีชุมทางหาดใหญ่]] ซึ่งขยายตัวไปทางทิศตะวันออก ทำให้ประชากรชาวไทยเชื้อสายจีนค่อย ๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้น<ref>วงค์เดือน ภานุวัฒนากูล. (2552). อัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม. ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์</ref> สุสานแห่งนี้จึงเป็นสถานที่สำคัญที่รองรับการฌาปนกิจชาวจีนทั้งหมดในยุคนั้น โดยขุนนิพัทธ์ได้เลือกที่ตั้งในการทำสุสานที่ห่างจากตัวเมืองหาดใหญ่ไปทางใต้ คือบริเวณเทศบาลบ้านพรุในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นก็มีชุมชนของคนในพื้นที่เดิมอาศัยอยู่แล้ว กรรมสิทธิ์ที่ดินที่บริจาคโดยขุนนิพัทธ์ปัจจุบันดูแลโดยมูลนิธิจงฮั่วสงเคราะห์คนชราอนาถา ในขณะที่มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง ได้เข้ามาเปิดสุสานเมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อเนื่องกับสุสานเดิมทางทิศใต้
 
บริเวณหลุมศพเก่าในช่วงแรก ๆ ของการเปิดสุสานของมูลนิธิจงฮั่วสงเคราะห์คนชราอนาถา ถือเป็นโซนหนึ่งที่มีรูปแบบของการตกแต่งป้ายหลุมหลากหลายมากที่สุดในภาคใต้ แตกต่างจากในปัจจุบันที่พบว่ามีการทำป้ายหลุมฮวงซุ้ยที่คล้าย ๆ กัน โดยภายในโซนหลุมเก่านี้ประกอบด้วยรูปแบบจีนมีสถูปพุทธ รูปแบบคริสตัง และรูปแบบหลุมหินเรียงก่อ ปัจจุบันหลุมเก่าหลายหลุมได้ถูกทิ้งร้างและไม่ได้รับการเข้าไปดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก
บรรทัด 46:
ลักษณะกายภาพบริเวณพื้นที่สุสานบ้านพรุ เป็นที่ราบเชิงเขาของแอ่งหาดใหญ่ โดยมีลักษณะค่อย ๆ ลาดต่ำจากทางฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นภูเขาเตี้ย ลงไปทางทิศตะวันตกที่เป็นที่ต่ำกว่า จนจดคลองอู่ตะเภา มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 13.00 เมตร และสูงสุดประมาณ 56.00 เมตร ด้วยเหตุนี้ทางฝั่งทิศตะวันตกของสุสานจึงเป็นจุดที่สามารถเห็นทัศนียภาพแนวเทือกเขาฝั่งตรงข้ามได้อย่างชัดเจนตามภูมิลักษณะในรูปแบบแอ่ง นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นอาคารสูงจากตัวเมืองหาดใหญ่ชั้นในทางทิศเหนือได้อีกด้วย
 
ด้วยระยะทางจากสุสานที่ห่างจากคลองอู่ตะเภากว่า 1.85 กิโลเมตร รวมถึงความสูงของภูมิลักาณะบริเวณพื้นที่สุสาน ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมหลากจากคลองอู่ตะเภา<ref>ศูนย์วิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคใต้. (2559). [https://www.gispsu.net/datajob ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.]</ref> สอดคล้องกับการวางสุสานตามหลักชัยภูมิ[[ฮวงจุ้ย]] ที่กล่าวว่าพื้นที่สุสานน้ำต้องไม่ท่วมถึง เนื่องจากจะทำให้ศพในโลงศพเน่าเปื่อยได้ ส่งผลกระทบต่อบรรพชน
 
{{wide image|Ban Phru Cemetery (II).jpg|800px|ทัศนียภาพจากสุสานบ้านพรุ ในปี พ.ศ. 2563}}
 
== ประวัติสุสาน ==
ในอดีตบริเวณพื้นที่สุสานบ้านพรุปัจจุบัน เป็นสวนยางพาราเก่าซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านพรุ จนเมื่อขุนนิพัทธ์จีนนครได้เข้ามาซื้อที่ดิน แล้วบริจาคเป็นสถานที่สำหรับการฌาปนกิจชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในหาดใหญ่ ซึ่งมีมูลเหตุมาจากการสร้างทางรถไฟสายใต้จนเมื่อมาสิ้นสุดบริเวณ[[สถานีชุมทางหาดใหญ่]] ซึ่งเป็นชุมทางหลักของภาคใต้ แรงงานชาวจีนส่วนใหญ่จึงเลือกมาปักหลักตั้งถิ่นฐานที่อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งในขณะนั้นเป็นชุมชนขนาดเล็ก ในเวลานั้นขุนนิพัทธ์จีนนคร หัวหน้าแรงงานชาวจีน ได้เป็นผู้สร้างถนนนิพัทธ์อุทิศ 1,2,3 ในรูปแบบกริดตารางขนานไปกับสถานีชุมทางหาดใหญ่ทางทิศตะวันออก เมื่อปี พ.ศ. 24602459 ทำให้เกิดการสร้างตึกแถวพาณิชยกรรมตลอดแนวถนนทั้ง 3 เส้นสายนี้ อันเป็นการบุกเบิกพัฒนาเมืองหาดใหญ่ที่สำคัญ ทำให้หาดใหญ่กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ในเวลาต่อมา<ref>สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้. (2555).[https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองหาดใหญ่.]</ref><ref>ศิลปวัฒนธรรม. (2564). [https://www.silpa-mag.com/history/article_42351 ขุนนิพัทธ์จีนนคร ผู้บุกเบิกหาดใหญ่ยุคแรกสุด อุทิศที่ดิน พัฒนาจากป่าสู่เมืองใหญ่.]</ref>
 
ขุนนิพัทธ์จีนนครได้ทำการซื้อที่ดินในชุมชนบ้านพรุ เพื่อบริจาคสร้างสุสานแก่ชาวจีนที่เสียชีวิตในหาดใหญ่ จำนวน 180 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยให้มูลนิธิจงฮั่วสงเคราะห์คนชราอนาถาเป็นผู้ดูแลรักษา ภายในสุสานจึงประกอบด้วยศพชาวจีนทั้งศพไร้ญาติ และศพมีตระกูล โดยศพไร้ญาติจะเป็นการฌาปนกิจในลักษณะการกุศล ส่วนศพมีตระกูลจะเป็นรูปแบบของการขายฮวงซุ้ย ในเวลาต่อทางมูลนิธิก็ได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีกประมาณ 31 ไร่ ทางทิศเหนือซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้มีการขายฮวงซุ้ยเพิ่มเติม
 
== ชื่อ==
เนื่องจากชื่อสถานที่อย่างเป็นทางการ คือสุสานและตามด้วยชื่อมูลนิธิ แต่สำหรับประชาชนในพื้นที่จะเข้าใจและนิยมเรียกว่า สุสานบ้านพรุ ตามสถานที่ตั้งในเทศบาลเมืองบ้านพรุ ด้วยเหตุนี้ทำให้ประชาชนรุ่นใหม่ ๆ ที่มาสุสาน จะเข้าว่าสุสานแห่งนี้มีเจ้าของเพียงรายเดียว นอกจากนี้ยังมีชื่อที่ท้องถิ่นที่เรียกว่า เปลวจีนบ้านพรุ<ref>สุราหนึ่งป้าน. (2559). [https://www.hatyaifocus.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/6731-%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%2B%7C%2B%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%2B%21%21/ บ้านพรุ | สร้างแผงกั้นห้ามยูเทิร์นหวั่นลดอุบัติเหตุ !!.] สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564.</ref> โดยเปลว ในภาษาใต้ แปลว่าสุสาน ที่ฝังศพ<ref>[https://th.readme.me/p/4858 ไปเที่ยวป่าช้า กันมั้ย? มั้ย มั้ย มั้ย.] สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564.</ref> คำว่าเปลวนี้ยังใช้เป็นคำสามัญทั่วไปเวลาเรียกชื่อ ป่าช้า หรือ สุสานที่อื่น ๆ ในภาคใต้อีกด้วย