ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Adisak007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
Adisak007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 25:
โดยศาสตราจารย์ศรีราชา วงศารยางค์กูร อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน <br>
คำว่า “Ombudsman” หรือ “ออมบุดสแมน” ในภาษาสวีดีช หมายถึง “ผู้แทน” หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการตรวจการ หรือกระทำการต่างๆ ในประเทศอังกฤษ เรียกว่า “Parliamentary Commissioner of Administration” เป็นบุคลากรหรือองค์กรทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครอง สำหรับประเทศไทย “ผู้ตรวจการ” ดัดแปลงมาจากคำว่า “ผู้ตรวจราชการ” (Inspector) ซึ่งในวิชาบริหารถือว่าเป็นผู้ช่วยผู้บริหารชั้นสูง คอยตรวจแนะนำ (ไม่ใช่สืบสวนเพื่อเอาผิด) แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการเอง <br>
 
ตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน มีกำเนิดเริ่มต้นมาจากประเทศสวีเดน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1809 โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของฝ่ายรัฐสภา ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำหรือฝ่ายบริหาร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามภาระหน้าที่ของแต่ละฝ่าย รับฟังและตรวจสอบข้อกล่าวหาของพลเรือนที่มีต่อรัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล รวมทั้งมีอำนาจที่จะดำเนินการสอบสวนหรือไกล่เกลี่ย รวบรวมข้อเท็จจริงและเสนอให้รัฐสภาพิจารณา ตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินนี้เรียกเป็นทางการว่า Justitie-Ombudsman หรือผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อความยุติธรรม (Ombudsman for Justice) โดยทั่วไปเรียกเป็นคำย่อว่า JO หมายถึงผู้ตรวจการแผ่นดินฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความถูกต้องตามข้อเท็จจริง ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินของสวีเดนคนแรกชื่อ Baron Lars Augustin Mannerheim ได้รับการแต่งตั้งเมืองปี ค.ศ. 1810 <br>
 
ออมบุดสแมน โดยอำนาจหน้าที่ของตนเองแล้ว จะไม่เข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรง ออมบุดสแมนจะใช้วิธีการชักชวน โน้มน้าวมติมหาชน เพื่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้นำไปแก้ไขอีกทีหนึ่ง ดังนั้น ข้อเสนอแนะของออมบุดสแมนจึงมักจะมีน้ำหนัก และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรค เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนเป็นสำคัญ <br>
 
ออมบุดสแมนของสวีเดนได้เป็นแบบอย่างที่ประเทศต่างๆ นำไปใช้อย่างแพร่หลาย เริ่มต้นจากประเทศฟินแลนด์ (ค.ศ. 1919) เดนมาร์ก (ค.ศ.1954) เยอรมดีตะวันตก (ค.ศ.1957) นิวซีแลนด์ (ค.ศ. 1962) นอร์เวย์ (ค.ศ. 1963) สหราชอาณาจักร (ค.ศ.1967) สหรัฐอเมริกาโดยมลรัฐฮาวายเป็นมลรัฐแรกที่จัดตั้งออมบุดสแมน ในปี ค.ศ. 1967 และต่อมาก็มีการจัดตั้งในรัฐโอเรกอน (Oregon) มลรัฐไอโอวา (Iowa)
มลรัฐเนบราสกา (Nebraska) และมลรัฐเซาท์คาโรไลน่า (South Carolina) ในแคนาดาโดยมลรัฐอัลเบอร์ตา (Alberta) เป็นมลรัฐแรกที่จัดตั้งออมบุดสแมน <br>
 
นอกจากนั้นยังมีองค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับออมบุดสแมน ได้แก่ คณะกรรมาธิการสืบสวนที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมายของมลรัฐยูท่าห์ (Utah) มลรัฐมิชิแกน และมลรัฐโคโรลาโดในสหรัฐอเมริกา ออมบุดสแมนที่ทำหน้าที่เฉพาะในการควบคุมเจ้าหน้าที่ตำรวจในอิสราเอล องค์การเพื่อบริการด้านสุขภาพแห่งชาติในอังกฤษ กระทรวงการตรวจสอบ (Ministry of Supervision) ในสาธารณรัฐประชาชนจีน กระทรวงมหาดไทยและคมนาคม (MIC : Ministry of Internal Affairs and Communication) ในญี่ปุ่น เป็นต้น <ref>http://ombstudies.ombudsman.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1409</ref>