ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอดา เลิฟเลซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
 
==ประวัติ==
เอดาเป็นธิดาของบุตรสาวของ[[จอร์จ กอร์ดอน ไบรอน บารอนไบรอนที่ 6|ลอร์ดไบรอนที่ 6]] กวีผู้มีชื่อเสียง เธอเกิดเมื่อปีค.ศ. 1815 หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ก็แยกทางกัน แม่ของเอดาจึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ เธอได้รับการศึกษาในด้าน[[คณิตศาสตร์]]และ[[วิทยาศาสตร์]] ผิดแปลกจากสตรีชนชั้นสูงทั่วไป
 
พออายุสิบเจ็ดปี มีผู้แนะนำให้เอดารู้จักกับอาจารย์ซัมเมอร์วิลล์แห่ง[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์|เคมบริดจ์]] สตรีเก่งแห่งยุคที่เคยแปลงานของ[[ปีแยร์-ซีมง ลาปลัส]] มาเป็น[[ภาษาอังกฤษ]] เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนีจนได้รู้จักกับ[[ชาลส์ แบบบิจ]] ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ในที่สุด ในงานวันนั้น ตอนที่แบบบิจกล่าวว่า ''"จะเป็นอย่างไรถ้าเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถคิดผล แต่สามารถประมวลผลนั้นได้ด้วย"''<ref>what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight</ref> แต่ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบบิจเลย มีเพียงเอดาที่รู้สึกสนใจแนวคิดนี้ จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือการสร้างภาษาสำหรับ[[เครื่องวิเคราะห์]]<ref>{{cite journal | author=Fuegi J, Francis J | title = Lovelace & Babbage and the creation of the 1843 'notes' | journal=Annals of the History of Computing | volume = 25 | issue = 4 | pages = 16–26 | date = October–December 2003 | doi = 10.1109/MAHC.2003.1253887 }} See pages 19, 25</ref> (analytical engine) ของแบบเบจบิจ
 
หลังจากนั้นไม่นาน เอดาได้แต่งงานกับท่านเอิร์ลแห่งเลิฟเลซและมีบุตรด้วยกันสามคน ในช่วงสิบปีทั้งเอดาและแบบบิจยังเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย (ทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ) เช่น เอดาบอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่ง[[เพลง]]ที่ซับซ้อน สร้างภาพ[[กราฟิก]] นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบบิจว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา