ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 64:
8. ที่ธรณีสงฆ์แปลงเรียบถนนเกษตร-นวมินทร์ แปลงถนนเกษตรศาสตร์-นวมินทร์ ประมาณ 65 ไร่ จำนวน 2 โฉนด คือ 1125 เนื้อที่ทั้งหมด 43 ไร่ 1 งาน 72 วา (ถูกเวนจำนวน 4 ไร่ 1 งาน 21.7 วา คงเหลือ 39 ไร่ 50.3 วา) และโฉนดเลขที่ 1126 จำนวน 27 ไร่ 1 งาน 96 วา (ถูกเวนคืน 2 ไร่ 6.6 วา คงเหลือ 25 ไร่ 1 งาน 89.4 วา) ปัจจุบันให้เอกชนเช่า [บุญถาวร สาขาเกษตรนวมินทร์]
 
=== วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ร่วมเถราภิเษกในนามวัดบึงทองหลางหลาง ===
 
จัดสร้าง
1.สมเด็จดำ หลวงปู่พัก ประวัติการสร้างอาจไม่ชัดเจนนักแต่จากข้อมูลมีว่ามวลสารที่หลวงปู่นำมาสร้างสมเด็จนี้ ได้มาจากผงในสมเด็จพระสังฆราชแพ ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์สายตรงของท่านที่ท่านบวชและเคยอยู่ที่วัดสุทัศนวรารามมาก่อน นอกจากนี้ยังมีผงวัดระฆัง บางขุนพรม ผงหลวงพ่อพริ้ง ผงวัดสามปลื้ม ผงวัดพลับ ซึ่งปลุกเสกเดียวโดยหลวงปู่พักเอง จัดสร้างใน พ.ศ.ใดนั้นไม่แน่ชัด แต่น่าจะก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งก็เป็นของนักสะสมที่นิยมสะสมกันพอสมควร โดยลักษณะเป็นรูปพระปางสมาธิมีฐานรอง ๓ ชั้น ลักษณะมวลสารอาจดูไม่ละเอียดเมื่อเทียบกับสมเด็จในรุ่นเดียวกันแต่ก็น่าหามาสะสมไว้แล
 
=== วัตถุมงคลร่วมเถราภิเษก ===
1.'''[https://siamrath.co.th/n/2772 “พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485”]''' “พระพุทธชินราชอินโดจีน” เป็นพระหล่อเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลืองเป็นหลัก จัดสร้างจำนวนมาก แต่คัดสภาพสมบูรณ์เหลือเพียง 84,000 องค์ ลักษณะจะคล้ายพระยอดธง ด้านหน้า จำลององค์พระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ใต้ฐาน ปั๊ม “อกเลา” บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และ “ธรรมจักร” ส่วน “เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน” สร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 3,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปทรงเสมา ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ด้านหลัง เป็นรูป “อกเลา” บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และอักษรไทยว่า “อกเลาวิหารพระ พุทธชินราช” ประกอบพิธีเททองหล่อตาม ‘ตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์’ ของวัดสุทัศน์อย่างสมบูรณ์ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 จากนั้นประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่21 มีนาคม พ.ศ.2485 โดยมี ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน เจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งาน