ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชทินนาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ราชทินนาม''' [ราด-ชะ-ทิน-นะ-นาม] หมายถึง นามที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามยศหรือตำแหน่งราชการ เพื่อให้เป็นเครื่องเสริมพระเกียรติยศ เพิ่มอิทธิพลและอำนาจ รวมถึงให้เกิดสิริมงคลแก่บ้านเมือง โดยมีใช้ตั้งแต่ทินนามพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ ขุนนาง พระพุทธรูป พระสังฆาธิการ ช้างม้าที่ขึ้นระวางเป็นช้างต้น ม้าต้น และเรือพระราชที่นั่ง<ref>{{cite web |url=https://drmlib.parliament.go.th/site.php?mod=document&op=doc_poll&url=aHR0cHM6Ly9kbC5wYXJsaWFtZW50LmdvLnRoL2JpdHN0cmVhbS9oYW5kbGUvbGlydC81MDI0NTIvMjU0NV8lRTAlQjglOTUlRTAlQjglQjElRTAlQjklODklRTAlQjglODclRTAlQjklODAlRTAlQjglODglRTAlQjklODklRTAlQjglQjIlRTAlQjglOUUlRTAlQjglQTMlRTAlQjglQjAlRTAlQjglQTIlRTAlQjglQjIlRTAlQjglODElRTAlQjglQTMlRTAlQjglQjglRTAlQjglODclRTAlQjglQTMlRTAlQjglQjElRTAlQjglOTUlRTAlQjglOTklRTAlQjklODIlRTAlQjglODElRTAlQjglQUElRTAlQjglQjQlRTAlQjglOTklRTAlQjglOTclRTAlQjglQTMlRTAlQjklOENfJUUwJUI4JTgxJUUwJUI4JUEzJUUwJUI4JUExJUUwJUI4JUE4JUUwJUI4JUI0JUUwJUI4JUE1JUUwJUI4JTlCJUUwJUI4JUIyJUUwJUI4JTgxJUUwJUI4JUEzLnBkZj9zZXF1ZW5jZT0x&handle=502452&uid=0&target=download&ip=49.228.23.17&col_status=false&collection=381|page=313|title=เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์|publisher=สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร}}</ref>
 
ที่มาของราชทินนาม [[พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)]] สันนิษฐานว่า ชื่อเดิมของขุนนางไทยฟังไม่ไพเราะ อีกประการหนึ่ง คือ เป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้ว กล่าวคือ เป็นธรรมเนียมมาแต่อดีตที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานราชทินนามต่อท้ายนามชั้นบรรดาศักดิ์แก่ขุนนางที่มีความดีความชอบหรือมีความสามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น ขุนวิจิตรอักษร ซึ่งหมายถึง ผู้มีความสามารถในการอักษร หรือ พระปราบพลแสน ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ปราบพ่ายพลลงได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น ราชทินนามอาจไม่ได้ตั้งตามความสามารถเท่านั้นแต่อาจตั้งตามชื่อบุคคลสำคัญในคัมภีร์ไสยศาสตร์ ในเนื้อเรื่องทางพุทธศาสนา หรือแม้แต่คุณลักษณะของขุนนาง เช่น ขุนซุกซนสังฆกรณ์ ราชทินนามที่มาจากความขี้ฟ้องของข้าราชการคนนั้น<ref name="ศิลปวัฒนธรรม">{{cite web |title=“หลวงการ์เดนกิจบริรักษ์” ขุนนางสยาม ราชทินนามอังกฤษ สมัย ร.5 |url=https://www.silpa-mag.com/culture/article_24040 |publisher=ศิลปวัฒนธรรม}}</ref>
ราชทินนามนั้นจะอยู่ต่อท้าย[[บรรดาศักดิ์ไทย]] (เช่น ขุน หลวง พระ พระยา) เช่น
 
* [[เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)]] ทำหน้าที่ ดังนี้ เป็นอดีตประธานศาลฎีกา เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีหลายกระทรวง เคยดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา และ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ประธานองคมนตรี เจ้าพระยาคนสุดท้ายของประเทศไทย
ราชทินนามของขุนนางอาจมีซ้ำกันได้ เนื่องจากราชทินนามโดยส่วนมากแล้ว คือนามที่ได้รับพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานตั้งตามตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้นหากขุนนางมีตำแหน่งหน้าที่การงานเดียวกันก็หมายความว่าจะมีราชทินนามเหมือนกันด้วย ยังมีราชทินนามที่ใช้ภาษาอังกฤษมาตั้ง อย่าง หลวงการ์เดนกิจบริรักษ์ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานให้กับเจ้ากรมสวนสราญรมย์ เป็นต้น<ref name="ศิลปวัฒนธรรม"/>
* [[พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)]] ทำหน้าที่ ดังนี้ ท่านได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง
 
ในคณะสงฆ์ไทยมีการพระราชทานสมณศักดิ์ให้แก่พระเถรานุเถระ แบ่งเป็นลำดับขั้น ตั้งแต่พระครู ไล่ขึ้นไปถึงพระราชาคณะชั้นสามัญ ชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม จนถึงสมเด็จพระราชาคณะ โดยในแต่ละชั้นก็จะมีราชทินนามประกอบด้วย ทำนองเดียวกับขุนนางศักดินา<ref>{{cite web |title=ยศ และ ราชทินนาม (ชื่อจริงและชื่อเล่น ตอนที่ 4) |url=https://www.sarakadee.com/2018/08/01/%E0%B8%A2%E0%B8%A8-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1/ |publisher=สารคดี|author=ศรัณย์ ทองปาน}}</ref>