ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Caramel latte 56 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Caramel latte 56 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 28:
'''เจิ่น ฟู้'''ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]] ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนแรกของพรรค หนึ่งปีหลังจากได้รับเลือกเขาถูกทางการฝรั่งเศสตัดสินจำคุกเนื่องจากจัดกิจกรรมต่อต้านฝรั่งเศส เขาเสียชีวิตในคุกในปีเดียวกัน{{sfn|Dodd|Lewis|Emmons|2003|p=557}} ผู้รับช่วงเป็นเลขาธิการคนที่ 2 โดยพฤตินัยคือ ''เลอ ห่ง ฟอง'' เลขาธิการ OEC ซึ่งเป็นผู้นำพรรคโดยผ่านสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการบริหารพรรคแห่งโพ้นทะเล (OEC) เหตุที่ได้เป็นเลขาธิการพรรคเพราะคณะกรรมการกลางถูกปราบปรามทั้งหมด{{sfn|Brocheux|2007|p=60}} ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2478 ในการประชุมพรรคครั้งแรกที่มาเก๊า ''ฮ่า หุ่ย เติบ'' ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการคนที่ 3 จนถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2481 ในที่ประชุมคณะกรรมการพรรค ณ บาเดียม [[นครโฮจิมินห์|กรุงไซ่ง่อน]] เขาได้ลาออกจากตำแหน่ง เดือนพฤษภาคมเขาถูกเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสจับกุมและถูกประหารในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2484 {{sfn|Quinn-Judge|2002|p=225}} ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2481 หลังการลาออกของเลขาธิการคนที่ 3 ''เหงียน วัน เกอ''ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนที่ 4 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2483 เขาถูกเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสจับกุม และถูกประหารชีวิตโดยการยิงในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ท่ามกลางวิกฤติของ[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]]ที่ถูกทางการฝรั่งเศสกวาดล้างผู้นำพรรคหลายคน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 ''[[เจื่อง จิญ]]''ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนที่ 5{{sfn|Currey|2005|p=61}} โดยบทความใน NhânDân เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2494 ได้กล่าวถึงบทบาทของเจื่องจิญในฐานะ "ผู้สร้างและผู้บัญชาการ" ของการปฏิวัติในขณะที่[[โฮจิมินห์]]ถูกเรียกว่า "จิตวิญญาณของการปฏิวัติเวียดนามและการต่อต้านของเวียดนาม"{{sfn|Quinn-Judge|2002|pp=1–2}} ในปีพ.ศ. 2488 พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจินได้สลายตัวทำให้เจื่องจิญพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ตามสภาพพรรค และในปี พ.ศ. 2499 ได้ก่อตั้งพรรคใหม่อีกครั้งในนามพรรคแรงงานเวียดนาม จิญกลับมาเป็นเลขาธิการเอกคนที่ 1(5) แต่เนื่องจากบทบาทของเขาในการรณรงค์ปฏิรูปที่ดินอย่างรุนแรงเขาจึงต้องลาออก{{sfn|Thai|1985|pp=27–29}} ''[[โฮจิมินห์]]''จึงเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการเอกพรรคแรงงานเวียดนามต่อเป็นคนที่ 2(6) แต่ได้แต่งตั้งให้เล สวนเป็นรักษาการเลขาธิการเอกอย่างรวดเร็ว{{sfn|Ooi|2004|p=777}} ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ''[[เล สวน]]''ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการเอกคนที่ 3(7) และเป็นผู้นำสูงสุดลำดับที่สองจนกระทั่งโฮจิมินห์เสียชีวิตในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512{{sfn|Brocheux|2007|p=174}}
 
นับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ''[[เล สวน]]''เป็นผู้นำของเวียดนามที่ไม่ได้ประสบปัญหาใดเฉกเช่นเดียวกับผู้นำรุ่นก่อนๆจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลงในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2529{{sfn|Woods|2002|p=74}} โดยเขาได้เสียชีวิตลงก่อนการประชุมพรรคแห่งชาติครั้งต่อไปเพียงสองเดือน ผู้รับช่วงคนถัดมาคือ''[[เจื่อง จิญ]]''อดีตเลขาธิการพรรคสองสมัยและเขาเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งมากที่สุดเป็นอันดับสองและหลังจากโฮจิมินห์เสียชีวิตไปแล้วเขากลายเป็นนักการเมืองที่มีอำนาจมากในเวียดนาม โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2529 เขาได้รับการลงมติให้พ้นจากตำแหน่งตามวาระในที่ประชุมพรรคแห่งชาติชุดที่ 6 เพื่อดำรงตำแหน่ง[[ประธานาธิบดีเวียดนาม|ประธานาธิบดี]] และที่ประชุมได้ลงมติเลือกเลขาธิการใหญ่คนถัดไปเป็น''[[เหงียน วัน ลิญ]]''{{sfn|Corfield|2008|pp=111–112}} โดยสื่อตะวันตกมักเรียกเขาว่า "[[มีฮาอิล กอร์บาชอฟ|กอร์บาชอฟแห่งเวียดนาม]]" เนื่องจากนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ([[โด๋ยเม้ย]])ของเขา{{sfn|Mason|Mason|1997|p=313}} ในปี พ.ศ. 2534 เหงียน วัน ลิญได้ลาออกจากเลขาธิการพรรคเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพของเขา และที่ประชุมใหญ่พรรคแห่งชาติชุด 7 ได้ลงมติรับรองให้''[[โด๋ เหมื่อย]]''เป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 9<ref>{{cite news|title=March of the poor and friendless (Vietnamese Communist Party holds its 7th Congress)|work=[[The Economist]]|date= 29 June 1991}}</ref>และในการประชุมพรรคชุดที่ 8 ในปี พ.ศ. 2539 เขาก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคอีกสมัย แต่ในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 ของคณะกรรมการกลางชุดที่ 8 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากปัญหาระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมซึ่งนำโดยโด๋เหมื่อยและฝ่ายปฏิรูปของเหงียนวันลิญ ที่ประชุมใหญ่พรรคชุดที่ 8 จึงได้ลงมติเลือก{{sfn|Largo|2002|pp=10–13}}''[[เล ขา เฟียว|พลเอกอาวุโสเล ขา เฟียว]]''เป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 10 และเขาได้เป็นผู้ประนีประนอมการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายโด๋เมื่อย และในปี 2544 ก่อนการประชุมพรรคแห่งชาติครั้งที่ 9 เมื่อคณะกรรมการกลางคว่ำการตัดสินใจของโปลิตบูโร เสียงข้างมากในที่ประชุมคณะกรรมการกลางได้ลงมติให้เขาพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค<ref>{{cite web|title=The Lessons of Le Kha Phieu: Changing Rules in Vietnamese politics|url = https://www.jstor.org/stable/25798583?seq=1|date=2001-04-01|accessdate=2021-04-06|publisher=JSTOR}}</ref> และที่ประชุมพรรคได้ลงมติเลือก''หน่อง ดุ๊ก หมันห์''เป็นเลขาธิการพรรคต่อจากเลขาเฟียว และเขาได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ เขายังเป็นเลขาธิการคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย<ref>{{cite web|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/1291000.stm|title=Modernising leader for Vietnam|publisher=[[บีบีซี เวิลด์นิวส์]]. BBC Online|date=22 April 2001|access-date=27 April 2012}}</ref> เขาดำรงตำแหน่งอยู่สองสมัยจึงได้พ้นจากตำแหน่งในปี 2554 และที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 11 ได้เลือก''[[เหงียน ฟู้ จ่อง]]''ให้รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการใหญ่คนปัจจุบันและตอนนี้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่มีอำนาจทางการเมืองมากที่สุดในเวียดนาม <ref name="manhsuccessor">{{cite web | title = Party Congress announces CPVCC Politburo members | publisher = [[รัฐบาลเวียดนาม|Government of the Socialist Republic of Vietnam]] | access-date =23 April 2012 | date = 19 January 2011| url = http://news.gov.vn/Home/Party-Congress-announces-CPVCC-Politburo-members/20111/9872.vgp }}</ref>
 
เลขาธิการใหญ่เป็นประธานในการทำงานของคณะกรรมการกลางพรรค, สมาชิกโปลิตบูโร และเป็นประธานการประชุมกับผู้นำคนสำคัญ(ระเบียบการทำงานของคณะกรรมการกลาง, 2554)
 
 
==References==