ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองโอ่งอ่าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kritkung Minecraft (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:คลองรอบกรุง074600 old market.jpg|thumb|250280px|คลองโอ่งอ่างในอดีต]]
'''คลองโอ่งอ่าง''' เป็นส่วนหนึ่งของ[[คลองรอบกรุง]]ที่ต่อจากคลองบางลำพู ตรง[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]] ปลายคลองไปออก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ใกล้[[วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร]] เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง[[เขตพระนคร]]กับ[[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]]
 
== ประวัติ ==
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] เมื่อพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวัง และขยายอาณาเขตพระนครให้กว้างออกไปนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2326 ตรงกับปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช 1144 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองคูเมืองเดิม โดยเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือที่ตำบลบางลำพู ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร, วัดเทพธิดาราม วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, วังบูรพาภิรมย์ ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ เหนือวัดสามปลื้มหรือวัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นระยะทาง 85 เส้น 13 วา (ประมาณ 3.426 กิโลเมตร) กว้าง 10 วา (ประมาณ 20 เมตร) ลึก 5 ศอก (ประมาณ 2.5 เมตร) ในการครั้งนั้นได้สร้างกำแพงประตูเมือง ป้อมปราการ เลียบแนวคลองด้านใน ตลอดทั้งคลอง ประตูเมืองและป้อมปราการเว้นระยะห่างกันเป็นช่วง ๆ ถึง 9 ช่วง เป็นคลองคูเมืองชั้นนอก เมื่อขุดคลองแล้วพื้นที่เมืองจึงกลายเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ คือ ด้านตะวันตกเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา และด้านตะวันออกเป็นคลองรอบกรุง
 
คลองรอบกรุงนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปหลายชื่อ ส่วนที่เริ่มตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาตรงวัดสังเวชวิทยารามจนถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศตรงช่วงปาก[[คลองมหานาค]]นิยมเรียกว่า "[[คลองบางลำพู]]" เมื่อผ่าน[[สะพานหัน]]เรียก "คลองสะพานหัน" เมื่อผ่าน[[วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร|วัดเชิงเลน]]เรียก "คลองวัดเชิงเลน" และช่วงสุดท้ายก่อนบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาเรียก "คลองโอ่งอ่าง" เพราะเคยเป็นแหล่งค้าขายเครื่องดินเผาของชาวมอญและชาวจีน การที่เรียกชื่อแตกต่างกันมีมาตั้งแต่สมัยไหนนั้นไม่สามารถค้นหลักฐานได้ จากหนังสือเก่าซึ่งพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีการเรียกชื่อคลองโอ่งอ่างกับคลองบางลำพูแล้ว<ref>ข้อมูลคูคลอง กรุงเทพมหานคร | http://dds.bangkok.go.th/csd/canal_h6.htm</ref> เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ [[พ.ศ. 2525]] คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ [[7 ธันวาคม|7 ธันวาคม]] พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองนี้ให้ถูกต้องว่า "คลองรอบกรุง" ตลอดทั้งสาย
 
[[ภาพ:คลองโอ่งอ่างใหม่.jpg|thumb|250280px|สภาพคลองโอ่งอ่างหลังปรับปรุงใหม่]]
ในปี พ.ศ. 2526 กรุงเทพมหานครได้เปิดสัมปทานเปิดพื้นที่ให้เช่า บนคลองโอ่งอ่าง เพื่อย้ายผู้ค้าจากคลองถมเดิมมาที่คลองโอ่งอ่างนี้แทน จนกลายเป็นย่านสะพานเหล็กทับคลอง เป็นแหล่งขายเกม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ <ref>https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1060975771007568/</ref> ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 [[กรุงเทพมหานคร (องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] โดยมติของรัฐบาลได้ทำการรื้อถอนอาคารร้านค้าต่าง ๆ บริเวณริมคลองโอ่งอ่างที่ถูกบดบังทัศนียภาพมานานกว่า 40 ปี เพื่อทำการปรับภูมิทัศน์ให้เป็น[[ถนนคนเดิน]]ที่ร่มรื่นรวมถึงมีร้านค้า<ref name=คลอง>{{cite web|work=[[ไทยรัฐทีวี]]|date=2015-11-19|title=ประชาชนปลื้มโฉมใหม่คลองโอ่งอ่าง|url=https://www.youtube.com/watch?v=gwbJjCsjKUA}}</ref> และมีความสวยงามทางศิลปะเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคล้ายกับ[[คลองช็องกเยช็อน]] ในประเทศเกาหลีใต้<ref>{{cite web|url=http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/702675|work=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|title=สภากทม.ยก'ชองเกชอน' ต้นแบบฟื้นฟูคลองในกรุงเทพฯ|date=2016-06-15}}</ref><ref name=คลอง/> ปัจจุบันทางเดินริมคลองสามารถมองเห็นสะพานข้ามคลองที่เรียงกัน 5 สะพาน คือ [[สะพานดำรงสถิต]] (สะพานเหล็ก), [[สะพานภาณุพันธ์]], [[สะพานหัน]], สะพานบพิตรพิมุข และสะพานโอสถานนท์ บริเวณเชิง[[สะพานพระปกเกล้า]] อันเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์ รวมถึงการปรับปรุงสภาพน้ำในคลองและบูรณะสะพานที่ข้ามคลองโอ่งอ่างทั้ง 5 ด้วย<ref>{{cite web|title=วีดิทัศน์โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่างบริเวณสะพานดำรงสถิตถึงบริเวณสะพานโอสถานนท์|url=https://www.youtube.com/watch?v=DLJtlBjYGpw|date=2016-12-13|work=กรุงเทพมหานคร}}</ref>
 
== อ้างอิง ==