ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ethan2345678 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 65:
ในปี พ.ศ. 2454 ขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมนั้นเอง ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญคือข่าวการเตรียมการก่อการ[[กบฏ]]ของ "[[กบฏ ร.ศ. 130|คณะ ร.ศ. 130]]" โดยฝ่ายกบฏได้กำหนดจะใช้กำลังทหารในพระนครบางส่วนเข้าทำการยึดอำนาจในวันที่ 1 เมษายน อันเป็นวันขึ้นศกใหม่ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455)<ref>[http://www.eduzones.com/knowledge-2-2-33490.html ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย]</ref> ซึ่งกลุ่มทหารผู้ก่อการในครั้งนั้นล้วนเป็นลูกศิษย์ของพระองค์แทบทั้งสิ้น<ref>[http://www.komchadluek.net/column/think/2006/05/kadan15.php ทหารอาชีพ (5) : จาก ร.ศ.130 สู่ 24 มิ.ย.75] คมชัดลึก.คอม</ref> ดังนั้นพระองค์จึงได้วางแผนและทำการจับกุมในตอนเช้าตรู่ของวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 (ปฏิทินสากลคือ พ.ศ. 2455) และทรงรับหน้าที่เป็นประธานอำนวยการพิจารณาโทษพวกนี้อย่างเคร่งครัด เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระองค์ขอลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม แต่รัชกาลที่ 6 ทรงยับยั้งไว้ ทรงให้เหตุผลว่าทรงเชื่อถือในพระราชอนุชา<ref>[http://www.eduzones.com/knowledge-2-2-33095.html กบฏ ร.ศ. ๑๓๐]</ref>
 
ครั้นเมื่อเสร็จสิ้นการจับกุมกบฏในปีนั้นแล้ว สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้เสด็จไปยังกรุง[[ลอนดอน]]เพื่อเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[[พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร]] โดยได้เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระนครโดยเรือโดยสารสัญชาติฝรั่งเศสชื่อ โดใน ที่หน้า [[สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย]] เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2454 โดยมี [[หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร]] เป็นผู้ตามเสด็จ<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/82_1.PDF ข่าวสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเสด็จไปราชการต่างพระองค์ณประเทศยุโรป] </ref>นอกจากนั้นในระหว่างประทับอยู่ในยุโรป พระองค์ยังได้ปฏิบติหน้าที่ราชการในการเชิญเจ้านายพระราชวงศ์ของเจ้าต่างประเทศในยุโรป เพื่อเสด็จมาในงานสมโภชพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2454<ref>[http://web.archive.org/20080115172507/www.geocities.com/roy_bilan222/ken_v2.htm "สยาม" ต้อนรับ "เจ้านายต่างประเทศ" ครั้งยิ่งใหญ่สมัยรัชกาลที่ 6]</ref> โดยพระองค์และหม่อมเจ้าอมรทัตได้เสด็จกลับถึงพระนครด้วย [[เรือมกุฎราชกุมาร]] เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 เวลา 10.30 น. ในการนี้โปรดเกล้าฯ พระราชทาน [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์]] และเจิมพระมหาสังข์แก่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิศณุโลกประชานาถ ด้วย<ref name="จักรพงษ์1">{{cite journal| url = [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/1813.PDF | title = ข่าวสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิศณุโลกประชานาถ เสด็จกลับกรุงเทพฯ] | journal = ราชกิจจานุเบกษา | volume = เล่ม 28 | issue = ตอน 0 ง | date = 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 130 | accessdate = 15 มีนาคม พ.ศ. 2564 | page = หน้า 1813}}</ref>ครั้นวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ก็ได้ทรงรับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้เลื่อนพระอิสริยยศจากกรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เป็นกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ<ref name="จักรพงษ์2">{{cite journal| url = [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/1718.PDF | title = พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา (| journal = ราชกิจจานุเบกษา | volume = เล่ม 28 | issue = ตอน 0 ง | page = หน้า ๑๗๒๔-๑๗๒๗)]1726 | date = 11 พฤศจิกายน ร.ศ. 130 | accessdate = 15 มีนาคม พ.ศ. 2564}}</ref>
 
เมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จสิ้นไปได้ด้วยดี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เสด็จออกไปช่วยงานนี้ต่างพระองค์เป็นอย่างดีเยี่ยม ทั้งได้เสด็จเยี่ยมราชสำนักต่างประเทศอีกหลายแห่งและได้ทรงมอบให้ตรวจงานต่าง ๆ อีกหลายแห่ง อันจะเป็นประโยชน์แก่ราชการของประเทศไทย จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวง มีพระนามตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ นริศราชมหามกุฎวงศ์ จุฬาลงกรณ์นริจทร์ สยามพิชิตินวรางกูล สมบูรณพิสุทธิชาติ วิมโลภาสอุภัยปักษ์ อรรควรรัตนขัตตยราชกุมาร กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ สิงหนาม ได้ทรง[[ศักดินา]] 50,000 ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรมในบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์ จงเจริญพระชนมายุ วรรณะ พละ ปฏิญาณ คุณสารสมบัติสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล วิบูลศุภผล สากลเกียรติยศอิสริยศักดิ์มโหฬารทุกประการ” และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากพลโทเป็นพลเอก ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน<ref name="สมาคมศิษย์เก่าจักรพงษภูวนาถ"/>