ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suphakorn343 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 75:
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456 [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น[[พระองค์เจ้าต่างกรม]]ที่ "'''พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร'''"<ref name="ตั้งกรม ร.6 (2)">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/1835.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม], เล่ม 31, ตอน 0ง, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457, หน้า 1835 </ref> เมื่อพ.ศ. 2457 ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง[[กระทรวงศึกษาธิการ]] และทรงเป็นผู้บัญชาการ[[โรงเรียนราชแพทยาลัย]]เมื่อ พ.ศ. 2458 ทรงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการพยาบาลผดุงครรภ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังนิยมใช้การแพทย์แผนโบราณ คลอดบุตรโดย[[หมอตำแย]]กันอยู่ ทรงส่งเสริมให้ข้าราชบริพารในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เข้าเรียนต่อหลักสูตรของ[[ศิริราชพยาบาล]] ให้สนใจศึกษาวิชาแพทย์และพยาบาลแผนปัจจุบันให้มากขึ้น ทรงปลูกฝังความนิยมในการเรียนแพทย์ให้เป็นที่แพร่หลาย จัดการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ให้มีมาตรฐาน นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้โน้มน้าว[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช]] ให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์
 
พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2486 ในสมัยรัฐบาลของจอมพล[[แปลก พิบูลสงคราม]] พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมใน[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]] ทำให้พระองค์ถูกคุมขังที่[[เรือนจำบางขวาง]] รวมทั้งถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์<ref name="ถอดพระยศ">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/2617.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดยศฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์และบรรดาศักดิ์], เล่ม 56, ตอน 0 ง, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 ,หน้า 2617 </ref> แต่ได้มีการประกาศสถาปนาพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ตามเดิม เมื่อพ.ศ. 2487 ในสมัยรัฐบาลของพันตรี[[ควง อภัยวงศ์]]<ref name="คืนพระยศ">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2487/A/059/848.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา กลับดำรงฐานะและฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ตามเดิม], เล่ม 61, ตอน 59 ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2487, หน้า 848</ref>
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ที่[[วังถนนวิทยุ]] เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2494<ref> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/018/1312.PDF</ref> ด้วยพระโรคหืดและโรคพระหทัยวาย สิริพระชันษา 66 ปี 4 เดือน เป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระชันษายืนที่สุด
บรรทัด 159:
*'''พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร''' (9 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
*'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร''' (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482)
*'''นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา''' (ถอดพระอิสริยยศ; 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 - 20 กันยายน พ.ศ. 2487)<ref name="ถอดพระยศ" />
*'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร''' (คืนพระอิสริยยศ; 20 กันยายน พ.ศ. 2487 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)<ref name="คืนพระยศ" />
*'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร''' (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 28 มกราคม พ.ศ. 2495)<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/A/027/490.PDF การสถาปนาพระราชวงศ์], เล่ม 67, ตอน 69, 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2493, หน้า 490</ref> โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
''“พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรณคุณสรณาภิรักษ ประยูรศักดิธรรมิกนาถบพิตร”'' สิงหนาม ทรงศักดินา 15000 ตามอย่างธรรมเนียมพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวง