ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำให้การชาวกรุงเก่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
'''คำให้การชาวกรุงเก่า''' เป็นคำให้การของเชลยศึกชาวอยุธยาที่บอกเล่าเรื่องราวใน[[ประวัติศาสตร์]][[การเมืองไทย]]โดยเฉพาะช่วง[[อาณาจักรอยุธยา]] ตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักร จนกระทั่งเสียแก่[[ราชวงศ์คองบอง|พม่า]]ใน พ.ศ. 2310
 
== ประวัติ ==
 
คำให้การขุนหลวงหาวัด เป็นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาได้ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช ยังมีเนื้อหาบรรยายภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา ทำเนียบต่าง ๆ ตลอดจนราชประเพณี
 
เชื่อกันว่าเป็นคำให้การของ[[พระเจ้าอุทุมพร]]ที่พระเจ้าอังวะโปรดให้สอบถามและจดไว้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า เมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในปี พ.ศ. 2310 ได้พาชาวไทย ทั้งพระเจ้าอุทุมพร ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยและชาวเมืองไปยังพม่า พระเจ้าอังวะมีรับสั่งให้จดคำให้การของชาวไทยเป็นภาษามอญ แล้วแปลเป็นภาษาพม่าเก็บไว้ใน[[หอหลวง]] เมื่ออังกฤษตีเมืองมัณฑะเลย์ได้ จึงเก็บมาไว้ที่เมืองย่างกุ้ง
 
คำให้การชาวกรุงเก่านี้ ได้ต้นฉบับมาจาก[[ประเทศพม่า]] เมื่อปี พ.ศ. 2454 เมื่อปี พ.ศ. 2454 ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของ[[จักรวรรดิอังกฤษ]] โดยเชื่อว่าต้นฉบับดั้งเดิมเป็นคำให้การเป็น[[ภาษามอญ]]และได้แปลเป็น[[ภาษาพม่า]]อีกทอดหนึ่ง แล้วแปลเป็น[[ภาษาไทย]]เสร็จในปี พ.ศ. 2455 พิมพ์โดยโรงพิมพ์หมอสมิธ (แซมมวล เจ.สมิธ)
 
คำให้การชาวกรุงเก่ามีความละม้ายคล้ายคลึงกับ "[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]]" (แปลเป็นภาษาไทย โดย [[กรมหลวงวงศาธิราชสนิท]]) เมื่อพิมพ์แล้วเสร็จ [[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ได้ทรงวิจารณ์และทรงให้ชื่อหนังสือว่า คำให้การชาวกรุงเก่า แทนที่จะเป็น คำให้การขุนหลวงหาวัด เนื่องจากทรงเห็นว่า เป็นคำให้การของบุคคลหลายคน มิใช่แต่เพียงคน ๆ เดียว
 
== เนื้อหา ==