ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31:
เรือเข้าประจำการในวันที่ 2 เมษายน 1912 ''[[โรยัล เมล ชิป]] (อาร์เอ็มเอส) ไททานิก'' เป็นเรือลำที่สองจากสามลำ{{efn|เรือลำที่สามคือ ''อาร์เอ็มเอส บริแทนนิก'' ซึ่งไม่เคยประจำการเป็นเรือโดยสาร แต่ประจำการเป็นเรือพยาบาล ''[[เอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก]]'' (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1)}} ในเรือเดินสมุทรชั้นโอลิมปิก และเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ณ ขณะนั้น ''ไททานิก'' และเรือพี่น้อง ''[[อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก]]'' มี[[ระวางน้ำหนักเรือ]]เป็นเท่าครึ่งของ ''[[อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย]]'' และ ''[[อาร์เอ็มเอส มอริเตเนีย]]'' ของสายการเดินเรือคูนาร์ด ซึ่งถือครองสถิติก่อนหน้า และยาวกว่าเกือบ {{convert|100|ft}}{{sfn|Hutchings|de Kerbrech|2011|p=37}} ''ไททานิก'' สามารถบรรทุกคนได้ถึง 3,547 คนและยังคงความเร็วและความสบายไว้ได้{{sfn|Butler|1998|p=10}} และถูกสร้างขึ้นด้วยขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน มี[[เครื่องยนต์ลูกสูบ]]ใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างมา สูง {{convert|40|ft}} กระบอกสูบมีเส้นผ่านศูนย์กลาง {{convert|9|ft}} ต้องเผาถ่านหิน 610 ตันต่อวันเป็นเชื้อเพลิง{{sfn|Butler|1998|p=10}}
 
ที่พักผู้โดยสารบนเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนชั้นเฟิร์สต์คลาส พูดได้ว่าเป็น "ความเหนือชั้นและความโอ่อ่างดงาม"{{sfn|Butler|1998|pp=16–20}} สังเกตได้จากค่าโดยสารที่พักชั้นเฟิร์สต์คลาส ห้องพาร์เลอะสวีทThe (ห้องชุดที่แพงที่สุดและหรูหราที่สุดบนเรือ) พร้อมดาดฟ้าเดินเล่นส่วนตัวมีราคาสูงกว่า $4,350 (เทียบเท่ากับ $115,000 ในปัจจุบัน)<ref>Federal Reserve Bank of Minneapolis. [https://www.minneapolisfed.org/about-us/monetary-policy/inflation-calculator/consumer-price-index-1800-| "Consumer Price Index (estimate) 1800–".] Retrieved 1 January 2020.</ref> สำหรับข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเที่ยวเดียว แม้แต่ชั้นสามแม้จะมีความหรูหราน้อยกว่าชั้นสองและเฟิร์สต์คลาสมาก แต่ก็สบายกว่ามาตรฐานร่วมสมัยและได้รับอาหารอร่อยมากมาย ทำให้ผู้โดยสารบนเรือหลายคนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเคยมีประสบการณ์ในบ้านของตน{{sfn|Butler|1998|pp=16–20}}
 
การเดินทางครั้งแรกของ ''ไททานิก'' เริ่มขึ้นหลังเที่ยงวันที่ 10 เมษายน 1912 เมื่อเรือออกจากเซาแทมป์ตันที่เป็นขาแรกของการเดินทางสู่นิวยอร์ก{{sfn|Bartlett|2011|p=67}} ไม่กี่ชั่วโมงต่อมาเรือแวะไปที่[[แชร์บูร์ก]]ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ระยะทาง {{convert|80|nmi|0}} เพื่อรับผู้โดยสาร{{sfn|Bartlett|2011|p=71}} ท่าเรือถัดไปคือควีนส์ทาวน์ (หรือ[[โคฟ]]ในปัจจุบัน) ในไอร์แลนด์ ซึ่งเรือเดินทางมาถึงตอนเที่ยงวันที่ 11 เมษายน{{sfn|Bartlett|2011|p=76}} เรือออกเดินทางตอนบ่ายหลังจากรับผู้โดยสารและสินค้าค้าเพิ่มเติม{{sfn|Bartlett|2011|p=77}}