ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุสานแต้จิ๋ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Teochew Cemetery (I).jpg|thumb|right|300px|สุสานแต้จิ๋ว ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564]]
[[ไฟล์:Teochew Cemetery (II).jpg|thumb|right|300px|ศาลาองค์ไต้ฮงกง เป็นเทพเจ้าประจำมูลนิธิแต้จิ๋ว และยังเป็นจุดหมายตาสำคัญของสุสาน]]
'''สุสานแต้จิ๋ว''' หรือที่รู้จักกันในชื่อ '''สุสานวัดดอน''' หรือ '''ป่าช้าวัดดอน''' เป็นสุสานจีนขนาดใหญ่ในเขตเมืองชั้นในกรุงเทพมหานคร มีขนาดพื้นที่ประมาณ 105 ไร่ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2442 หรือประมาณปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บนถนนจันทร์บริเวณซอยวัดปรก 1 ถนนจันทร์ แขวงทุ่งวัดดอน [[เขตสาทร]] [[กรุงเทพมหานคร]] สุสานแห่งนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ดินของสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย เดิมสุสานแห่งนี้ ไม่ใช่ของสมาคมแต้จิ๋วฯ แต่ภายหลังได้โอนการบริหารและงานดูแลรักษาแก่สมาคมเป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งหมด และยังมีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุสานอีกสององค์กร คือ มูลนิธิปอเต็กตึ้ง และสมาคมไหหลำด่านเกเต้ โดยสมาคมแต้จิ๋วฯ จะเป็นผู้ก่อสร้างหลุมฝังศพเอง และให้ถือเป็นลักษณะการเช่า ไม่ใช้การซื้อ
 
ในช่วงก่อตั้งใหม่ การบริหารสุสานนำเอาต้นแบบมาจาก[[สิงคโปร์]] คือระบบ กงซีซัว (ลักษณะเป็นหลุมฮวงซุ้ย) ซึ่งไม่มีการเก็บเงิน “แบบหงี่ท่ง” (บริการฟรี) โดยในช่วงแรกของสุสาน คือในปี พ.ศ. 2449 มีรายชื่อคนที่ถูกนำมาฝังรวมแล้วกว่า 4,267 ชื่อ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่เข้ามาบุกเบิก ใช้แรงงาน ทำงานหนักเพื่อการพัฒนาประเทศ แล้วมาเสียชีวิตที่กรุงเทพ หรือ บางกอก ในขณะนั้น เนื่องจากระบบสาธารณสุขและการรักษาสุขภาพยังไม่ดี การฝังศพที่นี่ มีสองรูปแบบคือ มีศพที่ฝังในลักษณะของฮวงซุ้ย จำนวน 7,961 ศพ ศพที่บรรจุเฉพาะอัฐิอีก 1,800 กว่าศพ และศพที่ไม่มีญาติ บรรจุรวมกันไว้ อีกมากกว่าหมื่นศพ<ref>[http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=JHealthVol20No3_09 กรมอนามัย. ''ยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่ กับการพัฒนาป่าช้าวัดดอน''. สืบค้นข้อมูล 19 มกราคม 2564.]</ref> มีค่าดูแลรักษาหลุมละ 800-1,000 บาทต่อปี<ref>วธิชาธร ลิมป์สุทธิรัชต์ (2557), ''โครงการสวนสาธารณะแต้จิ๋ว''. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref>