ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39:
== ประวัติ ==
 
สถานที่ตั้งพุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในอาณาบริเวณปริมณฑล[[เมืองฝางสวางคบุรี]] ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เนื่องจากเป็นเมืองที่ตั้งของ[[พระบรมธาตุฝาง]] ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระทันตธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามความในพงศาวดารเหนือ ปัจจุบันบริเวณเมืองฝางสวางคบุรีคือที่ตั้งของ[[ตำบลคุ้งตะเภา]] ตำบลผาจุก และบางส่วนของตำบลป่าเซ่า รวมถึง[[บึงทุ่งกะโล่]] ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ของเมืองสวางคบุรีมานับแต่โบราณ<ref>ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). ''''''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ 245 ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา''''''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
 
=== การจัดหาสถานที่ตั้งพุทธมณฑลจังหวัด ===
 
[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 54|คณะรัฐมนตรีไทย]] ในสมัยของ[[ทักษิณ ชินวัตร]] ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2547 เห็นชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมพระพุทธศาสนาตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ โดยให้มีการจัดตั้งพุทธศาสนสถานที่มีลักษณะเดียวกับพุทธมณฑลในส่วนภูมิภาคให้แพร่หลายเพิ่มขึ้น โดยอาจใช้พื้นที่สวนสาธารณะ ที่วัด ที่ศาสนสมบัติกลาง ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่เอกชน ซึ่งยินดีให้ใช้ประโยชน์ และสถานที่ดังกล่าวควรเน้นการเป็นสวนสาธารณะที่สงบ ร่มรื่น ราษฎรใช้ออกกำลังกาย เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สามารถใช้ประกอบพิธีการทางพุทธศาสนา ประชุมปรึกษาเรื่องทางศาสนา และใช้เป็นสถานที่แสดงธรรมได้ โดยรัฐจะสนับสนุนทางคณะสงฆ์หรือท้องถิ่นในส่วนของงบประมาณ<ref>สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2547). '''หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๕๐๔/๖๑๙๔ ลงวันที่ ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๗ เรื่อง การส่งเสริมเผยแพร่พุทธศาสนา'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.cabinet.soc.go.th/doc_image/2547/991972071.pdf </ref><ref>สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2547). '''หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๕๐๔/ว(ล)๖๑๙๔ ลงวันที่ ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๗ เรื่อง การส่งเสริมเผยแพร่พุทธศาสนา'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.cabinet.soc.go.th/doc_image/2547/991972072.pdf</ref> จากนั้นในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 21/2548 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 ได้มีมติที่จะสนับสนุนการจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดตามนโยบายของรัฐบาล<ref>สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2549). '''มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๙ เรื่อง กิจกรรมการจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัด'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://mahathera.onab.go.th/files/mati_doc/CCF01092551_00121.pdf</ref>
ในปี พ.ศ. 2549 ท่านเจ้าคุณพระสิทธิญาณมุนี (อุดม เขมธัมมมหาเถระ) เจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น ได้ดำริร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ และพุทธศาสนิกชน ดำเนินการจัดหาสถานที่เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นสถานที่ถวายเป็นพุทธบูชาในนามของศูนย์กลางในระดับจังหวัด ที่สามารถใช้จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งด้านการศึกษา อบรม ปฏิบัติธรรม การเผยแพร่พระพุทธศาสนาสู่เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยมุ่งหวังให้มีลักษณะเหมือนกับ[[พุทธมณฑล]] [[จังหวัดนครปฐม]]<ref>สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2559). '''การประชุมคณะกรรมการโครงการพุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติจังหวัดอุตรดิตถ์'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://pr.prd.go.th/uttaradit/ewt_news.php?nid=2994</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2549 ท่านเจ้าคุณพระสิทธิญาณมุนี (อุดม เขมธัมมมหาเถระ) เจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น จึงได้ดำริร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ และพุทธศาสนิกชน ดำเนินการจัดหาสถานที่เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นสถานที่ถวายเป็นพุทธบูชาในนามของศูนย์กลางในระดับจังหวัด ที่สามารถใช้จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งด้านการศึกษา อบรม ปฏิบัติธรรม การเผยแพร่พระพุทธศาสนาสู่เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยมุ่งหวังให้มีลักษณะเหมือนกับ[[พุทธมณฑล]] [[จังหวัดนครปฐม]]<ref>สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2559). '''การประชุมคณะกรรมการโครงการพุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติจังหวัดอุตรดิตถ์'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://pr.prd.go.th/uttaradit/ewt_news.php?nid=2994</ref>
 
[[ไฟล์:Provincial Phutthamonthon Park of Uttaradit 2020 0004 02.jpg|left|thumb|240px|พุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์ จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาโดยมีแนวคิดเดียวกับ[[พุทธมณฑล]] จ.นครปฐม เพื่อจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธในพื้นที่]]
 
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2548 ภาคส่วนราชการในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีริเริ่มนโยบายดำเนินโครงการพัฒนาบึงทุ่งกะโล่ ให้เป็นศูนย์การศึกษา กีฬา และนันทนาการ<ref>'''"อุตรดิตถ์กำหนดวางศิลาฤกษ์โครงการพัฒนาบึงกะโล่เพื่อเป็นอุทยานการศึกษาการกีฬาและนันทนาการใช้งบกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท,"''' (2548, 28 กันยายน). สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 จังหวัดพิษณุโลก. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://region4.prd.go.th/pubnews/detail.asp?ID=1463</ref> โดยมีหน่วยงานราชการในจังหวัดขอใช้หลายหน่วยงาน เช่น [[มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์]] ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ และได้รับจัดสรรที่ดินในบึงกะโล่ จำนวน 150 ไร่ รวมถึงได้ดำเนินการออกแบบแผนผังโดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้มีการดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลรูปหล่อลอยองค์ พระฝางทรงเครื่อง เนื้อกะไหลทอง จำนวน 6,300 องค์ ใน[[พระฝางจำลอง (พระพุทธรูป)|พิธีอัญเชิญพระฝางทรงเครื่องจำลอง]]ประดิษฐาน ณ [[วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ]] ตำบลผาจุก ในปี พ.ศ. 2551 และได้เข้าดำเนินการปรับพื้นที่บางส่วนเพื่อเตรียมจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธี<ref>เว็บพระออนไลน์. (2551). รูปหล่อลอยองค์ พระฝางทรงเครื่อง. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.web-pra.com/auction/show/6993344</ref>
 
ต่อมาภาคส่วนในชุมชนรอบบึงกะโล่ได้ยื่นคัดค้านโครงการของจังหวัด จึงได้ร้อง[[ศาลปกครอง]]เป็นเหตุให้การดำเนินการในพื้นที่บึงกะโล่ต้องหยุดลง<ref>ผู้จัดการออนไลน์. (2554). '''ค้านสร้าง“ราชภัฎอุตรดิตถ์” “คนลับแล” ยื่นฟ้องทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำ'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://mgronline.com/daily/detail/9540000014602</ref><ref>ผู้จัดการออนไลน์. (2558). '''ศาลปกครองยกฟ้องชาวอุตรดิตถ์เบรกสร้าง มรภ.และวิทยาลัยพยาบาลในบึงทุ่งกะโล่'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9580000024006</ref> ทำให้คณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องยุติการจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดในพื้นที่[[บึงทุ่งกะโล่]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ได้มีความพยายามในการดำเนินการขอใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ม่อนไม้ซาง ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีเทศบาลตำบลบ้านด่านนาขาม เป็นหน่วยงานขอใช้ที่ดิน จากที่ดินสาธารณประโยชน์ และที่ สปก. จำนวนเนื้อที่ 105 ไร่ 2 งาน 2 ตารางวา โดยใช้คำว่า "พุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติจังหวัดอุตรดิตถ์" แทนพุทธมณฑลจังหวัด ซึ่งมีอาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง แต่การดำเนินการไม่คืบหน้า เนื่องจากเป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่างที่ดินสาธารณประโยชน์ (นสล.) และพื้นที่ ส.ป.ก. และได้รับอนุญาตจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินให้ใช้พื้นที่ Rest Area ที่จอดรถยนต์ เพียง 14 ไร่ เท่านั้น<ref>สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2563). '''จ.อุตรดิตถ์ประชุมโครงการพุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติ'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG190314115637955</ref> รวมถึงการขาดทุนดำเนินการจัดสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ตามแผนงานให้แล้วเสร็จ ทำให้ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ดังกล่าวคงอยู่ในการดูแลของเทศบาลตำบลด่านนาขามในนาม "สวนสาธารณะเทศบาลตำบลบ้านด่านนาขาม (ม่อนไม้ซาง)"<ref>สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2563). '''จังหวัดอุตรดิตถ์ เตรียมอัญเชิญองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหินหยกขาวจากจีนมาประดิษฐาน ณ จังหวัดอุตรดิตถ์ ปลายปีนี้'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG200821162249212</ref>
 
=== การก่อสร้างพุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์ ===
[[ไฟล์:Phra Sambuddha Muni 012.jpg|thumb|150px|ขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระสังฆราช ภายในพุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์]]
 
ในปี พ.ศ. 2555 [[พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ]] เจ้าอาวาส[[วัดคุ้งตะเภา]], ผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับสนองงานคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการดำริจัดสร้างปูชนียสถานเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นพุทธานุสรณียสถาน เนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลฉลองวาระ[[พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้]] ซึ่งครบในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ. 2555 จึงได้ดำเนินการจัดหาที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 20 ไร่ เพื่อจัดสร้างสถานพุทธบูชาขนาดใหญ่ โดยพุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ในพื้นที่โฉนดตราจองที่ 5172 ระวาง 92 น. 14 ฏ ที่ดิน 57 หน้า 72 เล่ม 52 ใช้ประโยชน์ในการเป็นที่ตั้งพุทธมณฑล สังเวชนียสถานสี่ตำบลจำลอง ศาลาปฏิบัติธรรม กุฎิสงฆ์ และสถานที่จัดกิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชน มีเนื้อที่ตามโฉนดรวมกับที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชนในเขตพื้นที่ หมู่ 4 ตำบลคุ้งตะเภา เป็นพื้นที่กว่า 72 ไร่ เพื่อจัดสร้างสถานและเมื่อรวมกับโฉนดที่ตั้งวัดคุ้งตะเภา จะมีพื้นที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางพุทธบูชาขนาดใหญ่ศาสนาทั้งหมด 87 ไร่<ref>วัดคุ้งตะเภา. (2564). '''ข้อมูลพื้นฐาน'. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : https://sites.google.com/site/watkungtaphao/general</ref>
 
โดยโครงการจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์ในพื้นที่ปัจจุบัน ได้รับพระเมตตาคุณจากสมเด็จพระสังฆราช ถึง 2 พระองค์ คือ ในปี พ.ศ. 2555 [[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร]] [[สมเด็จพระสังฆราช]] สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 19 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ได้มีพระเมตตาธิคุณประทานแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่รักษาสืบมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธศาสนามาตั้งมั่นในสยามประเทศ และเป็นพระบรมธาตุส่วนเดียวกับที่ได้ทรงเคยแบ่งอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ บนยอด[[ดอยอินทนนท์]]<ref>วัดคุ้งตะเภา. (2555). '''พระบรมสารีริกธาตุหลวงส่วนพระองค์ รับประทานจากสมเด็จพระสังฆราช '''. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : https://sites.google.com/site/watkungtaphao/puchaniyawatthu2/boromsaririkkathat/from_somdet_phra_nyanasamvara</ref>ให้แก่[[วัดคุ้งตะเภา]] เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบรรจุสร้างพระประธานในพื้นที่พุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์<ref>หนังสือสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ที่ พ ๐๔๓๖/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ '''เรื่อง ประทานพระบรมสารีริกธาตุ'''</ref>
เส้น 64 ⟶ 66:
, วาระถวายพระราชกุศล<ref>วัดคุ้งตะเภา. (2560). '''โครงการอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลฯ ในโอกาสบำเพ็ญกุศลสตมวาร (๑๐๐ วัน) ระดับจังหวัดอุตรดิตถ์''. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : https://sites.google.com/site/watkungtaphao/news/khorngkarxupsmbththwaypenphrarachkuslnixokasbapheykuslstmwar100wanradabcanghwadxutrditth</ref>
, บรมราชาภิเษก<ref>วัดคุ้งตะเภา. (2562). '''จังหวัดอุตรดิตถ์รับสมัครอุปสมบทหมู่ ๗๙ รูป เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก'''. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : https://sites.google.com/site/watkungtaphao/home/forcoronationrama10</ref>การก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น พระพุทธปฏิมาศิลาสังเวชนียสถาน กุฎิสงฆ์ และศาลาปฏิบัติธรรม ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ภายใต้ความรับผิดชอบของวัดคุ้งตะเภา ในนามสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 โดยการจัดสร้างได้ดำเนินการมาเรียบร้อยและได้รับความสนับสนุนจากทุกภาคส่วนมาด้วยดีโดยลำดับ<ref name="ผังที่59">สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3. (2559). '''แผนผังพื้นที่ พุทธมณฑลอุทยานสังเวชนียสถานสี่ตำบล จังหวัดอุตรดิตถ์'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/watkungtaphao/home/new-area-expand/layout-planning</ref>
 
[[ไฟล์:Phra Buddha Mettapanyanath 02.jpg|thumb|200px|พระพุทธปฏิมาปางปฐมเทศนาแกะสลักจากหินทรายแดงใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ ในส่วนสังเวชนียสถานจำลอง 4 ตำบล ภายในพุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์]]
 
จากนั้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 [[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก]] (อัมพร อัมพโร) [[วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม]] [[สมเด็จพระสังฆราช]] สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 20 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ได้ทรงมีพระเมตตาธิคุณโปรดประทานนามพระพุทธรูปประธาน ซึ่งคณะสงฆ์และคณะศรัทธาชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้สำนึกในพระเมตตาธิคุณยิ่ง จึงได้พร้อมใจกันถวายสร้อยพระนามพระมหาปฏิมาเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่องค์[[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร]] และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ว่า "พระสัมพุทธมุนี ศรีสุโขทัยไตรรัตนสวางคบุรีบพิธ สิริอุตรดิตถ์มหาปฏิมากร" แปลว่า "พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระมุนี ผู้ทรงให้สิริมงคลและความสุขเกิดขึ้นแก่สรรพสัตว์ สถาปนาโดยพุทธศาสนิกชนชาว[[สวางคบุรี]]ผู้ประกอบด้วยองค์คุณคือความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เพื่อประดิษฐานไว้ให้เป็นพระมหาปฏิมา อันนำมาซึ่งสิริมงคลแก่[[จังหวัดอุตรดิตถ์]]"<ref name="ประทานพระนาม1"/><ref name="ประทานพระนาม2">สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช. (๒๕๖๓). '''ประทานบัตรพระนามพระพุทธรูปพระสุมพุทธมุนีศรีสุโขทัย'''. ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓</ref>
เส้น 93 ⟶ 97:
==== โซนตรัสรู้ (สวนสัมพุทธมุนีโพธิสถาน) ====
 
อยู่บริเวณโดยรอบองค์พระประธาน หน้าตัก 10 เมตร ด้านซ้ายปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่ง[[พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ]] เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา นำเมล็ดสืบสันตติพันธ์มาจาก[[พุทธคยา]] ประเทศอินเดีย ด้านขวาปลูกต้นพระ[[อานันทโพธิ์]] ซึ่งพระครูธรรมธรเทวประภาส รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา นำเมล็ดสืบสันตติพันธ์มาจาก[[วัดพระเชตวันมหาวิหาร]] [[เมืองสาวัตถี]] ประเทศอินเดีย<ref name="ผังที่59"/>
 
==== โซนแสดงปฐมเทศนา (สวนสารนาถสรณียสถาน) ====
[[ไฟล์:PhraWat BuddhaKungtaphao MettapanyanathPier 02.jpg|thumb|150px|พระพุทธปฏิมาปางปฐมเทศนาแกะสลักจากหินทรายแดงใหญ่ที่สุดวังปลาเขตอภัยทานริม[[แม่น้ำน่าน]]ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ในส่วนสังเวชนียสถานจำลอง 4 ตำบล ภายในพุทธมณฑลจังหวัดอุตรดิตถ์]]
 
อยู่บริเวณก่อนถึงองค์พระประธาน หน้าตัก 10 เมตร ประดิษฐานพระพุทธรูปแกะสลักจากหินทราย ปางทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดเหล่าเบญจวัคคีย์ ขนาดความสูง 3 เมตร ด้านหลังเป็นสวนกวางมฤคทายวันจำลอง เขตอภัยทาน<ref name="ผังที่59"/>