ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันกองทัพไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Loychun (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขให้ชัดเจน และเพิ่มรายละเอียด
Loychun (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำสะกดผิด และเกิน
บรรทัด 7:
เดิม[[กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)|กระทรวงกลาโหม]]ได้กำหนดวันกองทัพไทยให้ตรงกับวันที่ 8 เมษายนของทุกปี ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2523]] ได้เปลี่ยนเป็นวันที่ [[25 มกราคม]] ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ตามการคำนวณของ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ที่ได้คำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 (พ.ศ.ISO 2136) ซึ่งเชื่อว่าเป็นการคำนวณที่ไม่ถูกต้อง
 
ราวปี พ.ศ. 2535 - 2538 นักคำนวณปฏิทินเชิงประวัติศาสตร์ นาย [[ประเสริฐ ณ นคร]] ราชบัณฑิต และนักคำนวณปฏิทินเชิงดาราศาสตร์ นายลอย ชุนพงษ์ทอง ที่ปรึกษาการคำนวณปฏิทินสำนักพระราชวัง และสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสภา ตลอดจนนักโหราคำนวณ พลตรีสุริยน เผือกสกนธ์ ก็ได้คำนวณและต่างลงความเห็นตรงกันในวาระต่างกันว่า แท้จริงแล้ววันดังกล่าวไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่ตรงกับวันที่ [[18 มกราคม]] ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย จนกระทั่งวันที่ [[22 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2549]] คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่[[สภากลาโหมกลาโหม]]เสนอผ่าน [[กระทรวงกลาโหมกลาโหม]] ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี '''และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม'''
 
อนึ่ง ม.ล.ปิ่น มาลากุล เป็นท่านแรก ที่คำนวณไว้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ว่าตรงกับ 18 ม.ค. แต่ทางกองทัพไม่ทราบเรื่อง จึงมิได้นำไปใช้ โดยท่านเป็นอดีตมหาดเล็กรับใช้ในรัชกาลที่ 6 เคยเล่าไว้เมื่อปลายชีวิตว่า สมัยที่ท่านผู้เล่ายังเป็นมหาดเล็กรับใช้อายุราว 15 ปี วันหนึ่งล้นเกล้าฯ มีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ปิ่นรู้ไหม สมเด็จพระนรเศวรยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาไปทำยุทธหัตถีวันไหน ท่านว่าไปเปิดพงศาวดาร 3 ฉบับกล่าวไว้ไม่ตรงกันเลย จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คิดวิธีทางคณิตศาสตร์และ[[กระดานปฏิทินล้านปี]] เพื่อว่าวันเดือนปีที่กำหนด จะตรงกับวันใดในสัปดาห์ เช่น จันทร์ อังคาร พุธ เป็ต้น ละคิดได้สำเร็จเมื่อไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และเมื่อมีการจัดตั้งท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ ขึ้นแล้ว ท่านได้ขอให้ อ.สิงโต ปุกหุต หมุนเครื่องฉายดาวย้อนหลังไปตามที่พงศาวดารทั้ง 3 ฉบับบันทึกไว้ ผลที่ได้รับคือ วันกระทำยุทธหัตถีที่บันทึกไว้ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ (แพ ตาละลักษณ์ - พระยาปริยัติธรรมธาดา) ที่ระบุวันแรม 2 ค่ำ เดือนยี่ น่าจะตรงกับวันที่ 18 หรือ 19 มกราคม ค.ศ. 1593 แต่ไม่แน่ชัด จึงต้องตวจสอบด้วย[[กระดานปฏิทินล้านปี]]ซึ่งเป็นปฏิทินสุริยคติที่ท่านได้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อหาว่า วันไหนเป็นวันจันทร์ และพบว่าวันจันทร์ดังกล่าวตรงกับวันที่ 18 มกราคม เรื่องวันที่ 18 มกราคม เป็นวันกระทำยุทธหัตถีนี้ เคยเรียนถามท่านว่า ทำไมท่านไม่ประกาศให้โลกรู้ ท่านตอบว่า "คนเขาเชื่อว่าเป็นวันที่ 25 มกราคมแล้ว ก็ยากที่จะไปเปลี่ยนแปลง"
 
นายลอย ชุนพงษ์ทอง ได้อธิบายสาเหตุที่คำนวณผิด ในการประชุมทางวิชาการปฏิทินไทยเชิงดาราศาสตร์ จัดโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 ว่า น่าจะเกิดจากนับจำนวนวัน ถอยหลังจากวันเถลิงศกของปีนั้น ซึ่งใน ค.ศ.1593 นั้น ตรงกับวันที่ 9 เมษายน แต่เข้าใจผิดว่า วันเถลิงศกตรงกับวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2522 ที่คำนวณ ประกอบกับ ค่ำกำเนิดของวันเถลิงศกตามหลักสุริยยาตร์ ตรงกับขึ้น 8 ค่ำ แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และหลักปฏิทินไทย ควรเป็นขึ้น 9 ค่ำ เมื่อตามนับถอยหลัง จึงทำให้วันทีได้ช้าไป 7 วัน กลายเป็น 25 ม.ค. อาจกล่าวอีกอย่างว่า แทนที่จะนับถอยหลังจาก ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ของวันที่ 9 เม.ย. ก็นับจาก 8 ค่ำ เดือน 5 ของวันที่ 15 เม.ย. จึงผิด 2 ต่อ รวมกันได้ 7 วัน นอกจากนี้ยังได้พิสูจน์ โดยใช้[[ปฏิทินแผ่นหมุน5000ปี]]ซึ่งเป็นปฏิทินจันคติจันทรคติที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นเองในสมัยเป็นนิสิตจุฬา และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปฏิทินไทย ยืนยันตรงกันว่า วันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1593 ตรงกับวันจันทร์ ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับ แรม 1 หรือ 2 ค่ำ ขณะที่วันจันทร์ที่ 25 จะตรงกับแรม 8 หรือ 9 ค่ำ ซึ่งไม่ถูกต้อง
 
วันกองทัพไทยยึดเอาวันกระทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งในยุคเริ่มแรกสมัย พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในช่วงปี 2523 ได้ใช้วันที่ 25 มกราคม