ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
ใน พ.ศ. 2136 หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงยกทัพมาโจมตีกรุงละแวกอีก คราวนี้ ทรงตีเมืองละแวก และจับพระศรีสุริโยพรรณ และพระโอรสอีกสองพระองค์คือพระชัยเจษฎาและพระอุทัย นำตัวกลับไปกรุงศรีอยุธยา ส่วนสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 และพระมหากษัตริย์อีก 2 พระองค์หลบหนีไปได้ โดยครั้งแรกไปประทับที่เมืองเสร็ยสนทอร์หรือศรีสุนทร จากนั้นจึงหนีไปเมือง[[เชียงแตง]]หรือสตึงเตรง แล้วประชวรเป็นไข้สิ้นพระชนม์ที่นั่นเมื่อพระชนม์ได้ 54 พรรษา ใน พ.ศ. 2137<ref>ตามหลักฐานของสเปนและกัมพูชา ดู ศานติ (2554)</ref> โดยสมเด็จพระชัยเชษฐาประชวรและสิ้นพระชนม์ไปด้วย เหลือแต่สมเด็จพระบรมราชาองค์ตน ต่อมาพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ได้นำมาบรรจุไว้ที่เจดีย์ที่เขาพระราชทรัพย์ เมืองอุดงค์มีชัยในรัชกาล[[พระไชยเชษฐาที่ 2]]<ref>ศานติ ภักดีคำ. 2556. เขมรสมัยหลังพระนคร. กทม. มติชน</ref>
== ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ==
 
ได้มีการนำพระราชประวัติของพระองค์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ใน '''[[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี]]''' ซึ่งปรากฏฉากที่พระศรีสุพรรณพระอนุชาในสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 นักพระสัฏฐา ได้เกิดบาดหมางกับ[[สมเด็จพระนเรศวร]]แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นเหตุให้อาณาจักรเขมรละแวกประกาศอิสรภาพไม่ชึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกต่อไป เปิดฉากสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงละแวก
== อ้างอิง ==
* ศานติ ภักดีคำ. 2554. เขมรรบไทย. กทม. มติชน