ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคารออมสิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Forseman (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55:
ในปี [[พ.ศ. 2456]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินขึ้น และประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ [[1 เมษายน]] โดยให้เรียกว่า "คลังออมสิน" ขึ้นตรงต่อ[[กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ]]
 
ต่อมาในรัชสมัย '''พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว''' มีพระราชดำริจะขยายกิจการคลังออมสินให้กว้างขวางขึ้น จึงโอนกิจการคลังออมสิน จากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปสังกัด[[กรมไปรษณีย์โทรเลข]] (ปัจจุบันเป็น [[กสทช.|สำนักงาน กสทช.]] แต่ก่อนจะแปรสภาพ ส่วนหนึ่งแยกไปจัดตั้งได้กลายเป็นวิวัฒนาการให้กับ [[บริษัท ทีโอทีไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน)]] และ [[บริษัท กสท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)]] และ [[บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด]]) กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (ปัจจุบันแยกเป็นคือ[[กระทรวงพาณิชย์]] และ[[กระทรวงคมนาคม]]) มีสถานะเป็นแผนกคลังออมสินในกองบัญชี เมื่อปี [[พ.ศ. 2472]] เป็นผลให้ราษฎรสามารถฝากและถอนเงิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ได้ เช่นเดียวกับบริการออมสิน ของกรมไปรษณีย์ประเทศญี่ปุ่น และกรมไปรษณีย์ประเทศเยอรมนี
 
กระทั่งปี [[พ.ศ. 2489]] รัฐบาลในสมัยที่ [[ปรีดี พนมยงค์|ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์]] เป็น[[รายนามนายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ยกระดับให้คลังออมสิน เปลี่ยนสถานะเป็น "ธนาคารออมสิน" มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2490]]เพื่อทำหน้าที่การธนาคาร และเป็นสถาบันการออมทรัพย์ที่สมบูรณ์แบบ เช่นเดียวกับธนาคารนานาประเทศ