ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความน่าสะพรึงกลัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ดยุกแห่งออร์เลอองส์" → "ดยุกแห่งออร์เลอ็อง" ด้วยสจห.
บรรทัด 8:
| organisers = [[คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม]]
}}
'''สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 195</ref> ({{lang-en|Reign of Terror}}; 5 กันยายน ค.ศ. 1793 – 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794) หรือที่เรียกว่า '''ลาแตร์รอ''' (''la Terreur'') เป็นสมัยแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลัง[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]]เริ่มต้น โดยถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ [[ฌีรงแด็ง]] (Girondins) และ[[ฌากอแบ็งลามงตาญ]] (Jacobins) ซึ่งมีการประหารชีวิต "ศัตรูแห่งการปฏิวัติ" จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตด้วย[[กิโยติน]] 16,594 คน และอีก 25,000 คน ถูก[[การประหารชีวิตอย่างรวบรัด|ประหารชีวิตอย่างรวบรัด]]ทั่วฝรั่งเศส
 
กิโยตินกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งมีการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก เช่น [[มารี อ็องตัวแน็ต]]และ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 16]] ทั้งผู้สนับสนุนการปฏิวัติ [[หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ฟิลิปที่ 2 ดยุคดยุกแห่งออร์เลอองส์ออร์เลอ็อง|ฟิลิปป์ เอกาลีเต (หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคดยุกแห่งออร์เลอองส์)ออร์เลอ็อง]], [[มาดามโรลองด์รอล็อง]] และกลุ่มฌีรงแด็ง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคน อาทิ [[อ็องตวน ลาวัวซีเย]] นักเคมีบุกเบิก ที่ต้องมาสังเวยชีวิตด้วยเช่นกัน ระหว่าง ค.ศ. 1794 ฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติถูกรุมเร้าด้วยการคบคิดโดยศัตรูทั้งในและนอกประเทศ สำหรับในประเทศ การปฏิวัติถูกชนชั้นสูงฝรั่งเศสคัดค้าน ซึ่งสูญเสียเอกสิทธิ์ที่ได้รับสืบทอดมา [[นิกายโรมันคาทอลิก]]โดยทั่วไปคัดค้านการปฏิวัติ ซึ่งได้เปลี่ยนนักบวชเป็นลูกจ้างของรัฐและบังคับให้ต้องปฏิญาณความจงรักภักดีต่อชาติ นอกเหนือจากนี้ [[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1]] ยังต้องสู้รบใน[[สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส|สงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน]]ที่เจตนาทำลายการปฏิวัตินี้เสียเพื่อป้องกันมิให้ลุกลาม
 
การขยายของสงครามกลางเมืองและการรุกคืบของกองทัพต่างด้าวต่อดินแดนของชาติได้ก่อวิกฤตการณ์การเมืองและเพิ่มการแข่งขันระหว่างฌีรงแด็งกับฌากอแบ็งซึ่งหัวรุนแรงกว่า ฝ่ายหลังนี้ต่อมาได้รวมกลุ่มในกลุ่มแยกรัฐสภา เรียกว่า [[ลามงตาญ]] (La Montagne) และพวกเขาได้การสนับสนุนจากประชากรกรุงปารีส สภาฝรั่งเศสตั้ง[[คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม]] ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1793 เพื่อปราบปรามกิจกรรมต่อต้านการปฏิวัติภายในประเทศและเพิ่มกำลังทหารฝรั่งเศสเพิ่มเติม
ผ่าน[[ศาลศาลอาญาปฏิวัติ]] ผู้นำสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวใช้อำนาจเผด็จการอย่างกว้างขวางและใช้ประหารชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากและการกวาดล้างทางการเมือง การปราบปรามเพิ่มขึ้นในเดือนมถุนายนและกรกฎาคม ค.ศ. 1794 ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า "''la Grande Terreurลากร็องด์แตร์รอ''" (thela GreatGrande TerrorTerreur) และสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหารวันที่ 27 กรกฎาคม 1794 ซึ่งนำไปสู่[[ปฏิกิริยาเดือนแตร์มีดอร์]] (Thermidorian Reaction)<ref name="Alpha Thermidorian">{{Cite web |url=https://alphahistory.com/frenchrevolution/thermidorian-reaction/ |title=The Thermidorian Reaction |last=Llwellyen |first=Jennifer |last2=Thompson |first2=Steve |date=2012-11-19 |website=French Revolution |publisher=Alpha History |language=en-US |access-date=2019-12-07}}</ref> ซึ่งผู้สนับสนุนสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวหลายคนถูกประหารชีวิต รวมทั้ง [[มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์]]
 
== ภูมิหลัง ==
ฤดูร้อน ค.ศ. 1793 การปฏิวัติของฝรั่งเศสส่งผลกระทบทั้งการภายในและจากราชวงศ์ต่าง ๆ ในยุโรป ทำให้เกิดความกลัวว่าการปฏิวัติจะขยายลุกลามสู่ประเทศโดยรอบที่ปกครองด้วยระบอบ[[ราชาธิปไตย]] จึงส่งกองกำลังมาประชิดชายแดนฝรั่งเศส จนเกิดการประทะกันกับทหารของฝ่ายสาธารณรัฐฝรั่งเศส
 
กองกำลังต่างชาติได้ข่มขู่ฝรั่งเศสให้ปล่อย[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส]]และคืนราชสมบัติให้พระองค์ จอมพล[[คำประกาศของดยุกแห่งเบราน์ชไวก์]]เบราน์ชไวค์|ดยุกแห่ง[[ปรัสเซียเบราน์ชไวค์]]ถึงกับขู่ว่าจะเข้าปล้นกรุงปารีส หากชาวปารีสแตะต้องพระบรมวงศานุวงศ์ และมีกระแสความเชื่อสงสัยว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เองอาจเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับรัฐบาลต่างชาติ ให้บุกฝรั่งเศสเพื่อเข้ามาฟื้นฟูระบอบกษัตริย์
 
ชนชั้นสูงของฝรั่งเศสจำนวนมากที่สูญเสียทรัพย์สิน ต่างได้ประโยชน์จากพ่ายแพ้ของฝ่ายปฏิวัติ ฝ่ายศาสนาก็เช่นกัน ต่อต้านฝ่ายปฏิวัติ เพราะมิฉะนั้นพวกพระถูกลดฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของรัฐ และยังต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อรัฐบาล ทำให้บาทหลวงมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก) ปฏิเสธจะสาบานตน และประกาศตนเป็นฝ่ายดื้อดึง (Non-juror) บาทหลวง[[โรมันคาทอลิก]] และชนชั้นสูงในภาคตะวันตก รวมตัวก่อกบฏต่อต้านรัฐบาลฝ่ายปฏิวัติ โดยได้รับการสนับสนุนจาก[[บริเตนใหญ่]]
บรรทัด 26:
 
== ความน่าสะพรึงกลัว ==
ในวันที่ 2 มิถุนายน มีการยึดอำนาจในสภาโดยเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายการเมืองลดและกำหนดราคาขนมปังตายตัวและลดการให้สัมปทานแก่บางฝ่ายเป็นการเฉพาะ และด้วยการสนับสนุนของกองกำลังแห่งชาติพวกดังกล่าวสามารถโน้มน้าวให้จับกุมบุคคลผู้นำกลุ่มการเมือง[[ฌีรงแด็ง]] ไป 31 คน และจากการจับกุมครั้งนี้ทำให้ฝ่ายฌากอแบ็งมีอิทธิพลมากขึ้นจนสามารถคุม[[คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม]]ไว้ได้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน และจัดตั้งระบบเผด็จการฝ่ายปฏิวัติขึ้นมาได้ เมื่อวันที่ [[13 มิถุนายน]] ผู้นำที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ด้วยฝ่ายฌากอแบ็งปากกล้าที่ถูกตราว่ากระหายเลือดถูกสังหารโดยฝ่ายฌีรงแด็ง กลับมีผลให้ฝ่ายฌากอแบ็งมีอิทธิพลทางการเมืองสูงขึ้น ฝ่ายปฏิวัติคนหนึ่งที่ช่วยโค่นล้มกษัตริย์ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็นพวกหรูหราถูกปลดจากตำแหน่งกรรมาธิการและตั้งคนที่ "''บริสุทธิ์จากการคอร์รัปชั่น''" คนหนึ่งขึ้นมาแทนและกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในคณะกรรมาธิการที่กำลังเพิ่มมาตรการปราบปรามพวกต่อต้านต่างจังหวัดและข้าศึกต่างชาติ
 
ในขณะเดียวกัน รัฐสภาก็ได้ผ่านการรับรอบรัฐธรรมนูญ[[สาธารณรัฐ]]ฉบับแรกของฝรั่งเศส
 
ท่ามกลางการต่อต้านภายในและการรุกรานของต่างชาติทั้งทางตะวันออกและตะวันตก ภารกิจหลักของรัฐบาลสาธารณรัฐฯ จึงเน้นที่สงคราม ในวันที่ [[17 พฤษภาคม]] สภาลงมติให้เกณฑ์ทหารเข้ากองกำลัง และในวันที่ 5 กันยายนนั้นเอง รัฐสภาก็ได้ลงมติรับ "ความน่าสะพรึงกลัว" ให้มีความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญโดยอนุมัติให้ปราบปรามข้าศึกศัตรูภายในประเทศได้โดยเด็ดขาด
 
ผลที่ตามมาคือการใช้กำลังปราบปราบฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นอย่างรุนแรง และภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพของคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม ได้มีการออกกฎหมายอีกหลายฉบับ วันที่ [[9 กันยายน]] ได้ออกกฎหมายจัดตั้งกองกำลังร่วมประชาชนฝ่ายปฏิวัติเพื่อบังคับให้ชาวนามอบผลผลิตให้แก่รัฐตามที่รัฐต้องการ วันที่ 17 กันยายน มีการออกกฎหมายให้อำนาจการจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เข้าข่ายเป็น ''ผู้ก่ออาชญากรรมต่อเสรีภาพ'' วันที่ 29 กันยายน รัฐสภาได้เพิ่มการกำหนดราคาตายตัวที่ต่ำลงสำหรับธัญพืช ขนมปังและสินค้าจำเป็นอีกหลายอย่าง รวมทั้งการกำหนดค่าแรงตายตัวให้ต่ำลง กิโยตินได้กลายเป็นสัญลักณ์แห่งการประหารชีวิตที่ต่อเนื่อง [[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส]] ได้ถูกบั่นพระเศียรด้วยกิโยตินไปตั้งแต่ก่อนสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวไปแล้ว พวกฌีรงแด็ง [[หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ฟิลิปที่ 2 ดยุคดยุกแห่งออร์เลอองส์ออร์เลอ็อง|ฟิลิปป์ เอกาลีเต (หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคดยุกแห่งออร์เลอองส์)ออร์เลอ็อง]] ผู้ลงคะแนนให้ประหารพระเจ้าหลุยส์ มาดามโรลองด์และผู้คนอีกมากถูกประหารโดยกิโยติน ศาลคณะศาลอาญาปฏิวัติได้พิพากษาประหารชีวิตคนหลายพันคนด้วยกิโยติน ผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมากถูกฝูงชนทุบตีจนตายอย่างโหดร้าย ประชาชนจำนวนมากตายเพราะมีตวามเห็นทางการเมืองแตกต่าง ไม่น้อยที่ถูกประหารชีวิตเพียงด้วยข้อสงสัยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออาจเพียงเป็นบังเอิญผู้มีส่วนได้เสียเพียงเล็กน้อยกับฝ่ายตรงข้าม ผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่ถูกลากตัวไปกับเกวียนไม้แบบเปิดที่ทำไว้เฉพาะสำหรับการประจานนักโทษ และถูกโห่ประจานไปตลอดทาง
 
เหยื่อของสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยศาลฝ่ายปฏิวัตินับได้ประมาณ 40,000 คน เป็นชนชั้นปกครองชั้นสูง 8% พระ 6% ชนชั้นกลาง 14% และอีก 70% เป็นคนงานและชาวนายากจนที่ถูกกล่าวหาว่ากักตุน หนีทหาร ก่อกบฏและก่ออาชญากรรมอื่น ๆ ในกลุ่มสังคมเหล่านี้ พระคาทอลิกมีสัดส่วนการสูญเสียมากที่สุด{{อ้างอิง}}