ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53:
เกรอเนอร์เติบโตทางราชการในสายงานรถไฟทหาร เขาทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ยาวนานถึง 17 ปีตั้งแต่ค.ศ. 1899<ref name=Bio>{{cite web|url=http://www.deutsche-biographie.de/sfz23872.html|title=Biografie Wilhelm Groener (German)|publisher=Bayerische Staatsbibliothek|accessdate=26 June 2013}}</ref> จนได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟทหารในยศพลโท และมีส่วนสำคัญในการขยายโครงข่ายทางรถไฟและพัฒนาเส้นทางรถไฟในเยอรมนี การพัฒนาทางรถไฟทำให้เยอรมนีสามารถขนทหารนับล้านไปยังชายแดน ทำให้ได้รับเหรียญ[[พัวร์เลอเมรีท]]ในปีค.ศ. 1915
 
พลโทเกรอเนอร์เป็นมือร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมปิตุภูมิ ค.ศ. 1916 ({{lang|de|''Gesetz über den vaterländischen Hilfsdienst''}}) เพื่อเกณฑ์ทหารจากจากชายวัยฉกรรจ์ จนตัวเขาตกเป็นเป้าโจมตีจากบรรดาเจ้าของโรงงานและสหภาพแรงงาน กลุ่มปฏิวัติได้ฉกฉวยคำพูดของเกรอเนอร์ที่ว่า ''"พวกแรงงานหยุดงานประท้วง ขณะที่ทหารแนวหน้ากำลังตาย"'' มาเป็นคำปลุกปั่นในหมู่แรงงาน และนั่นทำให้พลเอก[[เอริช ลูเดินดอร์ฟ]] แม่ทัพพลาธิการแห่งกองทัพบกเยอรมันเจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ รู้สึกไม่พอใจมาก เมื่อได้โอกาสก็ส่งตัวเกรอเนอร์ไปเป็นผู้บัญชาการภาคสนามในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1917<ref name="Bio"/> โดยได้เป็นผบ.กองพลที่ 33 ({{lang|de|''33. Division''}}) ต่อมาเป็นผบ.กองหนุนที่ 25 ({{lang|de|''XXV. Reserve-Korps''}}) และตามด้วยเป็นผบ.กองทัพน้อยที่ 1 ({{lang|de|''I. Armee-Korps''}}) ในยูเครน
 
เยอรมนีกำลังแพ้สงคราม ลูเดินดอร์ฟถูกจักรพรรดิบีบให้ลาออกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918 พลโทเกรอเนอร์ก็ถูกเรียกตัวมาแทนที่ลูเดินดอร์ฟที่ตำแหน่งแม่ทัพพลาธิการเจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ ซึ่งเป็นเบอร์สองรองจาก[[เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค|จอมพลฮินเดินบวร์ค]]<ref name=":0" /> ขณะนั้นสถานการณ์ภายในประเทศเริ่มคุมไม่อยู่ การจลาจลเกิดขึ้นทั้งในหมู่ทหารและพลเรือนจนรัฐบาลเกรงว่าจะบานปลายเป็นการปฏิวัติ พลโทเกรอเนอร์เริ่มเตรียมการถอนกำลังทหารและปลดประจำการกองทัพทันที<ref name="DHM"/><ref name="Haffner">{{cite book|last=Haffner|first=Sebastian|title=Die deutsche Revolution 1918/19 (German)|publisher=Kindler|year=2002|isbn=3-463-40423-0| pages=}}</ref>{{rp|51}}<ref name=":0" /> การปฏิวัติปะทุขึ้นทั่งประเทศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เกรอเนอร์พยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาระบอบกษัตริย์และความสมานฉันท์ในกองทัพไว้ เขามองว่าอุปสรรคที่ขวางทางอยู่คือองค์[[จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี|จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2]] เขารู้สึกว่าจักรพรรดิควรจะปลงพระชนม์ตนเองอย่างองอาจเช่นทหารแนวหน้า<ref name="Haffner"/>{{rp|75}}
 
6 พฤศจิกายน 1918 เกรอเนอร์โกรธเมื่อทราบว่าพรรคสังคมประชาธิปไตยถวายคำแนะนำให้จักรพรรดิทรงสละบัลลังก์<ref name=":0">{{Cite book|title=A genius for war: the German army and General Staff 1807-1945|last=Dupuy|first=Trevor|publisher=Hero Books Ltd.|year=1984|isbn=|location=United Kingdom|pages=}}</ref> แต่สุดท้าย ในวันที่ 9 พฤศจิกายน เกรอเนอร์ทูลแนะนำจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงสละบัลลังก์ เนื่องจากกองทัพไม่เหลือความไว้วางใจพระองค์อีกแล้ว เกรอเนอร์ยังคงต้องการจะพิทักษ์ระบอบกษัตริย์ไว้ แต่เป็นภายใต้เจ้าเหนือหัวคนใหม่<ref name=DHM>{{cite web|url=http://www.dhm.de/lemo/html/biografien/GroenerWilhelm/index.html |title=Biografie Wilhelm Groener (German) |publisher=Deutsches Historisches Museum |accessdate=22 May 2013 |url-status=dead |archiveurl=https://web.archive.org/web/20140711071623/http://www.dhm.de/lemo/html/biografien/GroenerWilhelm/index.html |archivedate=July 11, 2014 }}</ref>