ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบาลเป่ย์หยาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ES Geqias (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ES Geqias (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 72:
 
ชื่อ "เป่ย์หยาง" นั้นมาจาก[[ทัพเป่ย์หยาง]] (北洋軍) ของ[[ยฺเหวียน ชื่อไข่]] (袁世凱) อดีตขุนศึกแห่ง[[ราชวงศ์ชิง]] (清朝) ที่ได้เป็นใหญ่ในทางการเมืองหลังราชวงศ์ล่มสลาย แม้รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีรัฐบาลพลเรือน แต่รัฐบาลพลเรือนก็ปกครองประเทศแต่ในนามเท่านั้น แม่ทัพนายกองจากทัพเป่ย์หยางเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการปกครองที่แท้จริง กระนั้น ก็ได้รับการรับรองจากนานาชาติให้เป็นรัฐบาลโดยชอบธรรมของประเทศ มีอำนาจใช้จ่ายและเรียกเก็บภาษีอากร ทั้งขอกู้ยืมเงินจากต่างชาติได้ ครั้นยฺเหวียน ชื่อไข่ สิ้นชีพลงใน ค.ศ. 1916 ทัพเป่ย์หยางก็ระส่ำระสาย เพราะแตกแยกออกเป็นหมู่เป็นเหล่าและช่วงชิงอำนาจกันเอง ต่อมาใน ค.ศ. 1917 [[ก๊กมินตั๋ง|พรรคชาตินิยม]] (國民黨) ของ[[ซุน ยัตเซ็น]] หรือซุน อี้เซียน (孫逸仙) ก็ออกหน้าคัดค้านความชอบธรรมของรัฐบาลเป่ย์หยาง จนเกิดสู้กันใน[[การรบทางเหนือ]] (北伐) เมื่อช่วง ค.ศ. 1926–1928 ผลลัพธ์ คือ รัฐบาลเป่ย์หยางกับกลุ่มอื่น ๆ พ่ายแพ้ และพรรคชาตินิยม ภายใต้การนำของ[[เจียง ไคเช็ก]] หรือเจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) ที่สืบทอดตำแหน่งจากซุน อี้เซียน สามารถ[[การรวมประเทศจีนอีกครั้ง (ค.ศ. 1928)|หลอมรวมประเทศเข้าเป็นหนึ่งได้อีกครั้ง]]ใน ค.ศ. 1928 พรรคชาตินิยมเดินหน้าจัดตั้ง[[รัฐบาลชาตินิยม]]ของตนขึ้นที่[[หนานจิง]] (南京) ระเบียบทางการเมืองเช่นนี้ทำให้ประเทศกลายเป็น[[รัฐพรรคเดียว|รัฐที่มีพรรคการเมืองเดียว]] (one-party state) แต่ภายหลังก็ได้รับการรับรองจากชาติต่าง ๆ ให้เป็นรัฐบาลโดยชอบธรรมของประเทศจีน
 
==อ้างอิง==
 
[[หมวดหมู่:สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)]]