ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 57:
ภายหลังพระเจ้าหลุยส์ถูกถอดจากบัลลังก์และถูกนำตัวสอบสวนโดยสภา อดีตกษัตริย์หลุยส์ยกกฎหมายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชขึ้นมาต่อสู้ว่า "กษัตริย์และการกระทำของพระองค์จะถูกละเมิดมิได้" สโมสรฌากอแบ็งจึงแตกเป็นสองขั้ว ขั้ว[[ลามงตาญ]]ต้องการให้ประหารอดีตกษัตริย์ ขั้ว[[ฌีรงแด็ง]]ต้องการให้ดำเนินการอย่างรอมชอมโดยไม่ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง บ้างก็เสนอให้กักขังหรือเนรเทศอดีตกษัตริย์{{sfn|Kennedy|1988|pp=308–10}} ในห้วงเวลานี้ รอแบ็สปีแยร์ปราศรัยในสภาว่าอดีตกษัตริย์หลุยส์ละเมิดกฎหมายเอง ดังนั้นจึงไม่อาจยกความละเมิดมิได้มาเป็นข้อต่อสู้
 
อย่างไรก็ตาม การค้นพบเอกสารลับ 726 ฉบับในห้องบรรทมที่[[พระราชวังตุยเลอรี]]ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1792 ซึ่งเป็นจดหมายที่อดีตพระเจ้าหลุยส์เขียนตอบโต้กับบรรดานายธนาคารและรัฐมนตรี ทำให้ปฏิกิริยาของฝูงชนหันมาต่อต้านองค์กษัตริย์ในทันที<ref>Hardman, John (2016) The life of Louis XVI, p. ?</ref> แม้อดีตกษัตริย์จะโต้แย้งว่าไม่รู้เรื่องจดหมายเหล่านี้ และจดหมายเหล่านี้ก็ไม่ได้มีลายเซนต์ของพระองค์อยู่ แม้มีหลักกฎหมายให้สันนิษฐานว่าจำเลยบริสุทธิ์ไว้ก่อน แต่รอแบ็สปีแยร์ได้กล่าวในสภาว่า ''"...เขาย่อมถูกสันนิษฐานอย่างนั้นจนกว่าจะตัดสิน แต่ถ้าหลุยส์ได้ยกฟ้องโดยสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ แล้วฝ่ายปฏิวัติจะเป็นยังไงกัน? ถ้าหลุยส์บริสุทธิ์ล่ะก็ เท่ากับว่าผู้พิทักษ์เสรีภาพทั้งหมดใส่ร้ายเขางั้นสิ..."''<ref>Robespierre 1958, pp. 121–22, in Tome IX, Discours</ref> รอแบ็สปีแยร์เสนอให้ประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ ทั้งที่ตัวเขาคัดค้านโทษประหารชีวิตมาตลอด ด้วยคำกล่าวที่ว่า ''"แน่นอน โดยทั่วไป โทษประหารคืออาชญากรรม หลักธรรมชาติอันยืนยงมิอาจยอมรับมันได้ แต่ยกเว้นกรณีเพื่อปกป้องความปลอดภัยของบุคคลหรือสังคม..."''<ref>Robespierre 1958, pp. 129–30, in Tome IX, Discours.</ref> ท้ายที่สุด ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1793 สภามีมติ 721 ต่อ 361 เสียงให้ประหารตัดสินว่าอดีตกษัตริย์หลุยส์ที่ 16มีความผิดจริงฐานสมคบประทุษร้ายต่อเสรีภาพปวงชนและความมั่นคงแห่งรัฐ
 
===กลุ่มฌีรงแด็งสิ้นอำนาจ===