ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 90:
มิถุนายน 1791 มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางอ็องตัวแน็ตได้แอบติดต่อกับพระเชษฐา คือ[[จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] เพื่อจะให้ทรงยกทัพมาตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ ฝ่ายพระเจ้าหลุยส์นั้นไม่ได้ทรงพยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเลอรีในคืนวันที่ 20 มิถุนายน 1791 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมือง[[การเสด็จสู่วาแรน|วาแรน]] ในวันต่อมา ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงฮวบฮาบ พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส
 
=== รัฐธรรมนูญร่างเสร็จ/ปราบฝ่ายสาธารณรัฐนิยม ===
แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาจะนิยมระบอบ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] มากกว่าระบอบ[[สาธารณรัฐ]]ก็ตาม{{อ้างอิง}} แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า หากกระทำการใด ๆ ที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือกระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
 
บรรทัด 97:
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมสาธารณรัฐนิยมรวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย เช่น หนังสือพิมพ์''เพื่อนประชาชน'' ({{lang|fr|''L'Ami du Peuple''}}) ของ[[ฌ็อง-ปอล มารา]] บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่นมาราและ[[กามีย์ เดมูแล็ง]] ต่างพากันหลบซ่อน ส่วน[[ฌอร์ฌ ด็องตง]] หนีไปอังกฤษ
 
==เหตุการณ์ช่วงสงคราม==
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรปนำโดย[[พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย]], [[จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] ตลอดจนพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ร่วมมือกันออก[[คำประกาศของดยุกแห่งเบราน์ชไวค์]] โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสมัชชาแห่งชาติ ถ้าหากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นก็จะส่งกองทัพโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน
{{บทความหลัก|สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส}}
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรปนำโดย[[พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย]], [[จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] ตลอดจนพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ร่วมมือกันออก[[คำประกาศของดยุกแห่งเบราน์ชไวค์]] โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสมัชชาแห่งชาติสภา ถ้าหากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นก็จะส่งกองทัพโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยสภาเริ่มส่งกำลังทหารไปยังชายแดนและมีมติประกาศสงครามกับออสเตรียและบริเตนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 1792
 
===ตั้งสาธารณรัฐ พระเจ้าหลุยส์ถูกประหาร===
[[ไฟล์:Jacques Bertaux - Prise du palais des Tuileries - 1793.jpg|thumb|265px|พระราชวังตุยเลอรีถูก[[คอมมูนปารีส (การปฏิวัติฝรั่งเศส)|คอมมูนปารีส]]บุกทำลายในวันที่ 10 สิงหาคม 1792]]
[[คำประกาศของดยุกแห่งเบราน์ชไวค์]]ยิ่งทำให้สถานการณ์ของฝ่ายเจ้าในฝรั่งเศสเลวร้ายลง คอมมูนปารีสไม่เชื่อฟังสภาอีกต่อไป และนำกลุ่มฝูงชนบุกเข้าพระราชวังตุยเลอรีในวันที่ 10 สิงหาคม 1792 พระบรมวงศ์ต้องไปหลบภัยที่สภา และในสามวันถัดมา พระองค์ถูกประกาศจับกุมอย่างเป็นทางการและถูกส่งตัวไปจองจำที่หอคอยต็องเปลอ ({{lang|fr|''Square du Temple''}}) ป้อมปราการเก่าในปารีส และในวันที่ 21 กันยายน สภามีมติให้ล้มเลิกระบอบกษัตริย์ และสถาปนาเป็น[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1|สาธารณรัฐฝรั่งเศส]] ฐานันดรและพระอิสริยยศทั้งหมดถูกล้มล้าง พระองค์ได้ชื่อใหม่ว่า ''นายหลุยส์ กาเป'' อีกด้านหนึ่ง สภาเปลี่ยนชื่อเป็น[[สภากงว็องซียงแห่งชาติ]] ({{lang|fr|''Convention nationale''}})
 
พฤศจิกายน 1792 เกิดเหตุอื้อฉาวพบตู้นิรภัยในห้องพระบรรทมซึ่งภายในบรรจุเอกสารลับมากมายที่เขียนติดต่อกับต่างชาติ ชื่อเสียงของอดีตกษัตริย์ยิ่งย่ำแย่ลง สภากงว็องซียงแห่งชาติมีมติเอกฉันท์ในวันที่ 15 มกราคม 1793 ว่าอดีตกษัตริย์มีความผิดจริงฐาน "สมคบประทุษร้ายต่อเสรีภาพปวงชนและความมั่นคงแห่งรัฐ" ({{lang|fr|''conspiration contre la liberté publique et la sûreté générale de l'État''}}) วันต่อมา ที่ประชุมชนะโหวตกำหนดบทลงโทษเป็นการประหารชีวิตในทันที อดีตกษัตริย์ขออุทธรณ์โทษประหารชีวิต แต่แพ้โหวตในสภา คำตัดสินดังกล่าวจึงเป็นอันสิ้นสุด อดีตกษัตริย์หลุยส์ถูกนำตัวไปประหารชีวิตด้วย[[กิโยตีน]]ที่[[ปลัสเดอลากงกอร์ด|ปลัสเดอลาเรวอลูว์ซียง]]ในวันที่ 21 มกราคม 1893
 
==ผลของการปฏิวัติในช่วงต้น==