ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รอบประจำเดือน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 125:
==== การตกไข่ ====
[[ไฟล์:Ovulation.jpg|thumb| รังไข่ขณะที่กำลังปล่อยไข่ ]]
การตกไข่เป็นระยะที่สองของรอบรังไข่ โดยไข่ที่เจริญเต็มที่จะถูกปล่อยออกจากถุงน้อยรังไข่เข้าสู่[[ท่อนำไข่]] (oviduct)<ref>[http://dukefertilitycenter.org/tests/ovulation-assessment/ Ovulation Test] at Duke Fertility Center. Retrieved 2 July 2011</ref> ระหว่างระยะถุงน้อย เอสตราไดออล (estradiol) ยับยั้งการปล่อยฮอร์โมนลูทีไนซิง (lutienizing hormone, LH) จาก[[ต่อมใต้สมองส่วนหน้า]] เมื่อไข่เจริญเกือบเต็มที่ ระดับของเอสตราไดออลจะถึงขีดแบ่งซึ่งผลนี้จะกลายเป็นย้อนกลับ และเอสโตรเจนจะกระตุ้นการผลิต LH ปริมาณมากแทน กระบวนการนี้ที่เรียก การเพิ่มกระทันหันของ LH (LH surge) เริ่มต้นประมาณวันที่ 12 ของรอบเฉลี่ย และอาจเกินเวลา 48 ชั่วโมง<ref>{{cite web|url=http://www.pregnology.com/ovulate/16/2/10/1/15/2013|title=Ovulation Calendar|publisher=Pregnology}}</ref>
 
ยังไม่เข้าใจกลไกแน่ชัดของการตอบสนองตรงกันข้ามของระดับ LH ต่อเอสตราไดออล<ref name=Lentz>{{cite book |last=Lentz | first=Gretchen M |last2=Lobo | first2=Rogerio A. |last3=Gershenson | first3=David M |last4=Katz | first4=Vern L. | name-list-format = vanc |title=Comprehensive gynecology.|year=2013|publisher=Elsevier Mosby|location=St. Louis|isbn=978-0-323-06986-1|url=http://www.mdconsult.com/books/page.do?eid=4-u1.0-B978-0-323-06986-1..00004-4--s0195&isbn=978-0-323-06986-1&sid=1291988935&uniqId=327920693-3#4-u1.0-B978-0-323-06986-1..00004-4--s0195|access-date=5 April 2012}}</ref> มีการแสดงว่าการเพิ่มกระทันหันของ[[Gonadotropin-releasing hormone|ฮอร์โมนปล่อยโกนาโดโทรปิน]] (gonadotropin-releasing hormone, GnRH) ในสัตว์เกิดขึ้นก่อนการเพิ่มกระทันหันของ LH เสนอว่าฤทธิ์หลักของเอสโตรเจนอยู่ที่[[ไฮโปทาลามัส]] ซึ่งควบคุมการหลั่ง GnRH<ref name=Lentz /> โดยในไฮโปทาลามัสมีตัวรับเอสโตเจนต่างกันสองชนิด ได้แก่ ตัวรับเอสโตรเจนแอลฟาซึ่งเป็นตัวการของวงวนเอสตราไดออล-LH และตัวรับเอสโตรเจนบีตา ซึ่งเป็นตัวการของความสัมพันธ์เอสตราไดออล-LH เชิงบวก<ref>{{cite journal | vauthors = Hu L, Gustofson RL, Feng H, Leung PK, Mores N, Krsmanovic LZ, Catt KJ | title = Converse regulatory functions of estrogen receptor-alpha and -beta subtypes expressed in hypothalamic gonadotropin-releasing hormone neurons | journal = Molecular Endocrinology | volume = 22 | issue = 10 | pages = 2250–9 | date = October 2008 | pmid = 18701637 | pmc = 2582533 | doi = 10.1210/me.2008-0192 }}</ref> อย่างไรก็ดีในมนุษย์มีการแสดงว่าเอสตราไดออลระดับสูงสามารถกระตุ้นให้ LH เพิ่มขึ้นได้ 32 เท่า แม้ระดับของ GnRH และความถี่ของพัลส์คงที่<ref name=Lentz /> ซึ่งเสนอว่าเอสโตรเจนออกฤทธิ์โดยตรงต่อ[[ต่อมใต้สมอง]]ในการกระตุ้นการเพิ่มกระทันหันของ LH
 
การปล่อย LH ทำให้ไข่เจริญเต็มที่และทำให้ผนังของถุงน้อยในรังไข่อ่อนแอลง ทำให้ถุงน้อยที่เจริญเต็มที่ปลดปล่อยเซลล์ไข่ทุติยภูมิ<ref name="isbn0-07-303120-8"/> ถ้าไข่มีการปฏิสนธิกับอสุจิ เซลล์ไข่ทุติยภูมิจะเจริญต่อเป็นโอโอติด (ootid) แล้วต่อไปเป็นไข่ที่เจริญเต็มที่ ถ้าไข่นั้นไม่เกิดการปฏิสนธิ เซลล์ไข่ทุติยภูมิจะสลายไป ไข่เจริญเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2 มิลลิเมตร<ref>{{cite book |last=Gray | first=Henry David | name-list-format = vanc |title=Anatomy of the human body |chapter=The Ovum |publisher=Lea & Febiger|year=1918|via=Bartleby.com |location=Philadelphia|chapter-url=https://www.bartleby.com/107/3.html}}</ref>