ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฟอร์นันโด วาร์กัส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดแม่แบบเรียงลำดับ
Ice 4402 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล นักมวย
| ชื่อ = เฟอร์นันโด วาร์กัส
| ชื่อจริง = เฟอร์นันโด ฮาเวียร์ วาร์กัส <br>(Fernando Javier Vargas)
| ภาพ = [[ภาพ:Vargas2.jpg|200px|center|]]
| ฉายา = Ferocious<br>El Feroz <small>([[ภาษาสเปน]])</small>
บรรทัด 23:
วาร์กัสในวัยเด็กมีชีวิตที่เสเพล เพราะความยากจนของครอบครัว จึงเริ่มต้นชกมวยจาก[[มวยสากลสมัครเล่น]] จนกระทั่งติดทีมชาติสหรัฐอเมริกาได้ไปแข่งในกีฬา[[โอลิมปิก 1996]] ที่[[แอตแลนตา]] [[รัฐจอร์เจีย]] ในรุ่นไลท์มิดเดิลเวท แต่ทว่าตกรอบที่สอง เมื่อเป็นฝ่ายแพ้ให้กับ มาเรียน ซีเมียน นักมวยชาว[[โรมาเนีย]]ไป 8-10 หมัด
 
หลังจากนั้น วาร์กัสก็ได้หันมาชกมวยสากลอาชีพ โดยมี [[ลู ดูว่า]] เทรนเนอร์ชื่อดังระดับโลกเป็นผู้ฝึกสอน และ [[แดน ดูว่า]] เป็นโปรโมเตอร์ ซึ่งวาร์กัสสามารถทำสถิติไม่แพ้และเสมอแก่ใครถึง 14 ไฟต์ และทั้งหมดเป็นการชนะ[[น็อก]]ทั้งหมด จึงได้ชิงแชมป์โลกในรุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวทของ [[สหพันธ์มวยนานาชาติ|IBF]] กับ โยรี่ริ บอย แคมปัสกัมปัส นักมวยที่ไม่เคยแพ้หรือเสมอแก่ใครเช่นกันชาวเม็กซิกัน ในปลายปี [[ค.ศ. 1998]] ผลการชกปรากฏว่าวาร์กัสเป็นฝ่ายเอาชนะน็อกไปได้ในยกที่ 7
 
หลังจากนั้น เฟอร์นันโด วาร์กัส ก็เป็นที่จับตามองของวงการมวยระดับโลก ในฐานะดาวรุ่งดวงใหม่ ประกอบกับบุคคลิกที่ห้าว ไม่เกรงกลัวใคร อีกทั้งยังมีหน้าตาดี จึงทำให้ได้รับฉายาว่า "Ferocious" หรือ "El Feroz" ใน[[ภาษาสเปน]] ซึ่งวาร์กัสเมื่อให้สัมภาษณ์หรือพูดคุยกับ[[สื่อมวลชน]]มักจะพาดพิงไปถึง [[ออสการ์ เดอ ลา โฮยา]] อยู่เสมอ ๆ ในลักษณะท้าทาย ซึ่งขณะนั้นเดอ ลา โฮยา ถือเป็นซูเปอร์สตาร์อันดับหนึ่งของวงการมวยโลกอยู่ จึงทำให้เป็นที่จับตามองของแฟนมวยทั่วโลกว่า ทั้งคู่อาจได้โคจรมาพบกัน
 
เฟอร์นันโด วาร์กัส ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกของ IBF ไว้ได้ทั้งหมด 5 ครั้ง ก่อนที่จะพบกับความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกในปี [[ค.ศ. 2000]] เมื่อทำการชกล้มแชมป์กับแชมป์โลกในรุ่นเดียวกันนี้ของ [[สมาคมมวยโลก|WBA]] คือ [[เฟลิกซ์ ทริตรินิแดดดัด]] นักมวยชาว[[เปอร์โตริโกปวยร์โตริโก]] ที่เพิ่งเอาชนะคะแนน เดอ ลา โฮยา มาได้ โดยวาร์กัสเป็นฝ่ายแพ้น็อกไปในยกที่ 12 ซึ่งเป็นยกสุดท้าย ซึ่งตลอดการชกวาร์กัสแทบไม่อาจสู้กับทริตรินิแดดดัดได้เลย
 
หลังจากนั้น วาร์กัสก็ชกอุ่นเครื่องอยู่หนึ่งครั้ง ก่อนที่ขึ้นชิงแชมป์ในรุ่นเดียวกันนี้ของ WBA ที่ว่างลง เนื่องจากทรินิแดดสละตำแหน่ง วาร์กัสสามารถเอาชนะน็อก โฮเซ่โฆเซ อัลเฟรโด ฟลอเรสโฟลเรส นักมวยชาวเม็กซิกันไปในยกที่ 7 ก่อนที่ถัดมาจะทำการชกล้มแชมป์อีกครั้งกับแชมป์โลกของ [[สภามวยโลก|WBC]] คือ ออสการ์ เดอ ลา โฮยา ที่เป็นเสมือนคู่กรณีกัน ปรากฏว่า วาร์กัสก็เป็นฝ่ายแพ้น็อกทีเคโอ​ไปในยกที่ 11 ในแบบที่แทบจะสู้ไม่ได้เหมือนเช่นที่พบกับทรินิแดด หลังจากนั้นแล้ววาร์กัสหันมาชกเคลื่อนไหวอยู่ 4 ครั้ง ก่อนที่จะพบกับ [[เชน มอสลีย์]] ยอดนักมวยอีกคน[[ชาวอเมริกัน]] ปรากฏว่าวาร์กัสตกเป็นฝ่ายแพ้[[ที.เค.โอ.]]ไปในยกที่ 10 เมื่อต้นปี [[ค.ศ. 2006]] โดยที่ตาข้างซ้ายของวาร์กัสโดนหมัดของมอสลีย์จนปูดบวมไปหมด<ref>[http://www.boxnews.com.ua/en/gallery/879/Fernando-Vargas-vs-Shane-Mosley Gallery - Fernando Vargas vs Shane Mosley]</ref> จากนั้นในกลางปีเดียวกัน วาร์กัสยังติดใจในผลการชก จึงทำการขอล้างตาอีกไฟต์กับมอสลีย์ ก็เป็นฝ่ายแพ้ที.เค.โอ.ไปอีกเช่นกันในยกที่ 6<ref>[http://football.sanook.com/others/11101.php ชูการ์เชนย้ำแค้นวาร์กาส , “สด”พ่ายน็อกยกแรก จาก[[สนุกดอตคอม]]]</ref>
 
เฟอร์นันโด วาร์กัส ชกมวยเป็นครั้งสุดท้ายถัดจากไฟต์นี้ โดยขึ้นชิงแชมป์ทวีปอเมริกาเหนือที่ว่างในรุ่น[[ซูเปอร์มิดเดิลเวท]]ของ WBC กับ ริคาร์โดการ์โด มาร์ยอกามาโยร์กา นักมวยชาว[[นิคารากัว]] ก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างเอกฉันท์เมื่อครบ 12 ยก ซึ่งตลอดการชกวาร์กัสก็มิอาจสู้มาร์ยอมาโยร์กาได้เลย และในไฟต์นี้วาร์กัสปล่อยร่างกายให้[[อ้วน]]ฉุเพราะต้องทำน้ำหนักเพิ่มขึ้นมา
 
หลังจากนั้นแล้ว วาร์กัสก็มิได้ขึ้นชกมวยอีกเลย เสมือนกับได้แขวนนวมไปแล้วอย่างเป็นทางการ