ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต เทวกุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 44:
=== กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ===
 
ทรงรับราชการในหน้าที่พลรบ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ตั้งแต่เดือนมกราคม [[พ.ศ. 2458]] ถึงเดือน[[เมษายน]] [[พ.ศ. 2461]]
 
ทรงเริ่มเข้ารับราชการเมื่อวันที่ [[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2458]] ในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อยทำหน้าที่ผู้บังคับหมวด ในกองร้อยที่ 1 โดยยังมิได้รับพระราชทานสัญญาบัตรและเงินเพิ่มพิเศษเยี่ยงนายทหารซึ่งได้ศึกษาจบบริบูรณ์ในต่างประเทศ เนื่องจากทรงจบการศึกษาจากหลักสูตรอย่างย่อสำหรับทหารปืนใหญ่เท่านั้น
 
ทรงรับราชการจนพระปรีชาเป็นที่ประจักษ์ ทรงรับพระราชทานยศว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 ทรงรับพระราชทานเงินเพิ่มค่าวิชาเดือนละ 100 บาทเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 และทรงได้รับพระราชทาน'''สัญญาบัตรยศร้อยตรี''' เมื่อวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2461]] พร้อมกับเลื่อนเงินเดือนข้ามชั้นไปยัง'''อัตราร้อยตรีชั้น 1''' อีกด้วย
 
ทรงรับราชการเป็นนายทหารคนสนิทของผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2460]] จนถึงสิ้นเดือน[[เมษายน]] [[พ.ศ. 2461]] รวมทรงรับราชการในกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์นาน 2 ปี 3 เดือนครึ่ง
 
=== กรมช่างแสงทหารบก (ครั้งแรก) ===
ในวันที่ [[1 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2461]] โปรดเกล้าฯ ไปปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยรบ ในกรมช่างแสงทหารบก เป็นเวลานาน 1 ปี 3 เดือน
 
=== ราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น สังกัดกรมเสนาธิการทหารบก ===
 
เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462 หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต ทรงเป็นกรรมการผู้หนึ่งในคณะไปราชการ ณ [[ประเทศญี่ปุ่น]] เพื่อดูการสร้างและตรวจรับปืนใหญ่สนาม ซึ่ง[[กองทัพบก]]ได้สั่งซื้อจาก[[ประเทศญี่ปุ่น]] โดยมี '''พลตรี พระยาอินทรวิชิต (รัตน อาวุธ)''' เป็นหัวหน้าคณะ เป็นเวลานาน 3 ปี 5 เดือน และยังทรงได้มีโอกาสศึกษากิจการทหารในประเทศนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาอันเกี่ยวด้วยราชการของกรมช่างแสงทหารบก
 
ณ [[ประเทศญี่ปุ่น]] ทรงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น'''ร้อยโท'''เมื่อต้นปี [[พ.ศ. 2463]] และทรงได้เลื่อนชั้นเงินเดือนทุกปี
 
ครั้นเมื่อทรงเสด็จกลับมายังกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ [[28 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2465]] แล้ว ใน[[พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา]]เมื่อวันที่ [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2465]] ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ต่อพระหัตถ์[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งถือเป็นบำเหน็จความชอบพิเศษ เนื่องจากตามระเบียบการพระราชทานในสมัยนั้นกำหนดไว้ว่า ตามปรกติสำหรับพระราชทานแก่นายทหารยศชั้นพันโทเท่านั้น
 
=== กรมช่างแสงทหารบก (ครั้งหลัง) ===
 
ทรงรับราชการต่อในกรมช่างแสงทหารบกตั้งแต่วันที่ [[28 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2465]] จนกระทั่งวันที่ [[1 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2475]] ซึ่งเป็นช่วงที่เกิด[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] เป็นระบอบ[[ประชาธิปไตย]] รวมเวลานาน 9 ปี 7 เดือน
 
ทรงเป็นราชองครักษ์เวรในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ [[19 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2466]]
 
แรกทรงมีตำแหน่งสำรองราชการ แล้วเป็นตำแหน่งประจำกรม ต่อมาทรงได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกที่ 5 (การปืนเล็กปืนกล) เมื่อวันที่ [[31 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2472]]
 
รับพระราชทานยศ'''ร้อยเอก''' เมื่อวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2467]] และยศ'''พันตรี''' เมื่อวันที่ [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2472]] พร้อมทรงรับเงินเดือน'''อัตราพันตรีชั้น 1'''
 
ในที่สุดระหว่างห้วงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ ทรงถูกปลดเป็นนายทหารกองหนุนเบี้ยหวัด เมื่อวันที่ [[1 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2475]] เมื่อมีชันษาเพียง 36 ปีเศษ (หลังจากทรงถูกกักบริเวณพร้อมกับเชื้อพระวงศ์ เจ้านายและนายทหารอื่น ๆ ณ [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] และทรงไม่สมัครใจสมัครทัยรับราชการทหารอีกต่อไป)
 
== การประกอบกิจการอื่น ๆ ==