ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏบวรเดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 58:
{{คำพูด|''บัดนี้ปรากฏข่าวตามทางสืบสวนว่าท่านได้มีการประชุมและคิดอยู่เสมอในอันที่จะให้เกิดความไม่สงบแก่บ้านเมือง และทำให้รัฐบาลเป็นกังวล ซึ่งเป็นเหตุให้การบริหารบ้านเมืองไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร จะเป็นในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงขอเตือนให้ท่านสงบจิตเสีย หากท่านยังขืนจุ้นจ้านอีก คณะก็ตกลงจะกระทำการอย่างรุนแรง และจะถือเอาความสงบของบ้านเมืองเท่านั้นเป็นกฎหมายอันสูงสุดในการกระทำแก่ท่าน ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่การขู่เข็ญ แต่เป็นการเตือนมาเพื่อความหวังดี''<ref>เลื่อน ศราภัยวานิช, ฝันร้ายของข้าพเจ้า, หน้า 16-17</ref>}}
 
เมื่อพระองค์เจ้าบวรเดชทรงได้รับจดหมายเช่นนี้ พระองค์ทรงตรัสกับนายทหารที่บ้านว่า ''"ฉันก็ตั้งใจจะเป็นพลเมืองที่สงบ แต่เขาไม่ให้สงบ"''<ref>กรมพระธรรมนูญทหารบก กระทรวงกลาโหม, บัญชีสำนวนคดีและคำพิพากษาศาลพิเศษคดีกบฎ, (พระองค์เจ้าบวรเดช) แฟ้มที่ 5, คดีดำที่ 7/2576</ref> หนังสือทำนองคล้ายกันนี้ยังถูกส่งถึงบุคคลอื่นๆอีกหลายคน อาทิ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ|กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ]], [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์|พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์]], [[หม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์]], [[หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์]], พันพลตำรวจโท[[พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช)|พระยาอธิกรณ์ประกาศ]], พันโท[[ประยูร ภมรมนตรี]] เป็นต้น<ref>เลื่อน ศราภัยวานิช, ฝันร้ายของข้าพเจ้า, หน้า 19</ref>
 
เห็นได้ชัดว่าการก่อการกบฏของพระองค์เจ้าบวรเดชในครั้งนี้ เกิดจากความมุ่งหวังอำนาจทางการเมืองมากกว่าอย่างอื่น นับตั้งแต่สมัยที่ทรงลาออกจากเสนาบดีกลาโหมก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว เมื่อทรงพลาดพลั้งจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ทรงมุ่งหวัง การถูกกีดกันจากอำนาจทางการเมือง เป็นเหตุที่กระตุ้นให้พระองค์ก่อการยึดอำนาจจากคณะราษฎร<ref>เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์, ปฏิวัติ 2475, (พระนคร : แพร่พิทยา, 2514) หน้า 167-168</ref>