ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โขน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36:
 
ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้[[หน้า|ใบหน้า]]จริงเช่นเดียวกับ[[ละคร]] แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทน[[ชุดเกราะ|เกราะ]] เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือ[[ลายกระจัง]]ตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัว[[ลิง]]จะเป็นลายวง[[ทักษิณาวรรต]]<ref>[http://www.cp.eng.chula.ac.th/cg/khon_web/khon_archive/costume_main.php?partid=00050100000000000000# เครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน]</ref> โดยสมมุติเป็น[[ขนสัตว์|ขน]]ของ[[ลิง]]หรือ[[หมี]] ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็น[[ทำนอง]]เรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้[[กาพย์ยานี]]และ[[กาพย์ฉบัง]]<ref>[http://www.snr.ac.th/elearning/orrawan-thai/page9.html บทพากย์ในการแสดงโขน]</ref> โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/index.html การพากย์ การเจรจาในโขน]</ref> ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่อง[[รามเกียรติ์]]และ[[อุณรุท]] ปัจจุบัน[[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]]มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และ[[กรมศิลปากร]] มีหน้าที่ในการจัดการแสดง<ref name="คำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ">คำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, [[มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]], ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ [[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]</ref>
 
== ประวัติ ==
โขนจัดเป็น[[นาฏกรรม]]ที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า '''"โขน"''' ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงใน[[วรรณคดี|วรรณคดีไทย]]เรื่อง[[ลิลิตพระลอ]]ที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงาน[[ศพ|พระศพ]]ของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า ''"ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราว[[เทียน]]"''<ref>[http://student.swu.ac.th/hm471010167/โขน.htm การแสดงมหรสพในลิลิตพระลอ] {{ลิงก์เสีย}}</ref> โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายใน[[ภาษา]]ต่าง ๆ ดังนี้<ref>[http://art.hcu.ac.th/khon/history.html ประวัติและความเป็นมาของโขน]</ref><ref> ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโขน กรมศิลปากร]</ref>
 
* คำว่าโขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งปรากฏคำว่า "โขละ" หรือ "โขล" '' (บางครั้งสะกดด้วย ฬ เป็นคำว่า"โขฬะ" หรือ "โขฬ") ''<ref name="โขนในภาษาเบงคาลี">โขนในภาษาเบงคาลี, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 32, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref> ที่เป็นชื่อเรียกของ[[เครื่องดนตรี]]ประเภท[[หนัง]]ชนิดหนึ่งของ[[ฮินดู]] ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับ[[ตะโพน]]ของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วย[[ดิน]] ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมใน[[รัฐเบงกอลตะวันตก|แคว้นเบงกอล]] [[ประเทศอินเดีย]] ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่ายาตราหรือละครเร่ที่คล้ายคลึงกับละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่าโขลตามชื่อของเครื่องดนตรี
 
* คำว่าโขนใน[[ภาษากลุ่มอิหร่าน|ภาษาอิหร่าน]] มีที่มาจากคำว่าษูรัต ควาน ({{lang-en|Surat khwan}}) หมายความถึง[[ตุ๊กตา]]หรือ[[หุ่น]] ซึ่งใช้สำหรับประกอบการแสดง โดยมี[[นักร้อง|ผู้ขับร้อง]]และให้[[เสียง]]แทนตัวหุ่น เรียกว่าควานหรือโขน ({{lang-en|Khon}}) มีความคล้ายคลึงกับผู้พากย์และผู้เจรจาของการแสดงโขนในปัจจุบัน
 
* คำว่าโขนใน[[ภาษาเขมร]] เป็นการกล่าวถึงโขนใน[[พจนานุกรม]][[ภาษาเขมร]] ซึ่งหมายความถึงละคร แต่เขียนแทนว่าละโขน ที่หมายความถึงการแสดงมหรสพอย่างหนึ่ง
 
จากข้อสันนิษฐานต่าง ๆ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโขนเป็นคำมาจากภาษาใด [[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน]] [[พ.ศ. 2525]] ระบุความหมายของโขนเอาไว้ว่า ''"โขนหมายถึงการเล่นอย่างหนึ่งคล้าย[[ละครรำ]] แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่าหัวโขน"''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp ความหมายของโขนตามราชบัณฑิตยสถาน]</ref> หรือหมายความถึง[[ไม้]]ใช้ต่อเสริมหัว[[เรือ]]ท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไปที่เรียกว่าโขนเรือ หรือใช้สำหรับเรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่าเรือโขนเช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อยเหลือหลายในลิลิตพยุหยาตรา หรือหมายความถึงส่วนสุดทั้งสองข้างของราง[[ระนาด]]หรือ[[ฆ้องวงใหญ่]]ที่มีลักษณะงอนขึ้นว่าโขน<ref name="ที่มาของคำว่าโขน">ที่มาของคำว่าโขน, โขน, ธนิต อยู่โพธิ์, องค์การค้าของคุรุสภา, 2538, หน้า 42, เลขหมู่หนังสือ 793. 3209593, ISBN 974-000-849-4</ref>
 
[[ไฟล์:Siamese theater group around 1900.jpg|left|thumb|วงปี่พาทย์ที่ใช้ในการแสดงโขน]]
 
ในสมัยของสมเด็จพระนาราย์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงโขนโดย[[ลาลูแบร์]] เอาไว้ว่า ''"โขนนั้น เป็นการร่ายรำเข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบ ตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก (หัวโขน) และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควรแล้ว นาน ๆ ก็จะหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำ หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่เป็นหน้า[[ปีศาจ]] ([[ยักษ์]]) ''"<ref name="ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม">ว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย : มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย : สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157</ref> ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นต่อมหรสพในอดีตของชาวไทยในสายตาของชาวต่างประเทศ
 
การแสดงโขนโดยทั่วไปนิยมแสดงเรื่องรามยณะหรือรามเกียรติ์ ในอดีตกรมศิลปากรเคยจัดแสดงเรื่องอุณรุฑ แต่ไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับการแสดงเรื่องรามเกียรติ์<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/index.html ความนิยมของรามเกียรติ์ในการแสดงโขน]</ref> มีหลายสำนวน ทั้งที่มีการประพันธ์ขึ้นใน[[สมัยกรุงศรีอยุธยา]] [[กรุงธนบุรี]]และ[[กรุงรัตนโกสินทร์]] โดยเฉพาะบทประพันธ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมแสดงตามสำนวนของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ที่[[กรมศิลปากร]]ได้ปรับปรุงเป็นชุดเป็นตอนสำหรับแสดงเป็นโขนฉาก ในสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 ก็เคยทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ถึง 6 ชุด ได้แก่ ชุดนางสีดาหาย ชุดเผากรุงลงกา ชุด[[พิเภก]]ถูกขับ ชุดจอง[[ถนน]] ชุดประเดิมศึกลงกาและชุดนาคบาศ
 
แต่เดิมนั้นการแสดงโขนจะไม่มีการสร้างฉากประกอบการแสดงตามท้องเรื่อง การดำเนินเรื่องราวต่าง ๆ เป็นแบบจินตนาการถึงฉากหรือสถานที่ในเรื่องราวเอง การจัดฉากในการแสดงโขนเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 โดยที่ทรงคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้น คล้ายกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]ทรงคิดขึ้น
 
== ประเภทของโขน ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โขน"