ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนกาญจนาภิเษก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tititham Sukhaya (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้: ขับรถดูได้นะครับ
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 69:
 
==== ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ====
'''ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)''' เดิมมีชื่อว่า "ทางพิเศษสายบางพลี–สุขสวัสดิ์" ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อทางพิเศษว่า "ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)" เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553<ref name="กทพ.">{{cite web|url=http://www.exat.co.th/index.php/th_TH/news/article/view/5/12/ |title=ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) |publisher=[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] |date= 14 พฤษภาคม 2556 |accessdate=1 มีนาคม 2558}}</ref> เป็นส่วนหนึ่งของการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ดำเนินการโดย[[การทางพิเศษแห่งประเทศไทย]] มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ (ช่วง[[ถนนพระรามที่ 2]] ถึง[[ถนนสุขสวัสดิ์]]) ทางพิเศษเริ่มต้นจากถนนสุขสวัสดิ์ บริเวณ[[อำเภอพระประแดง]] ข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ไปทางทิศตะวันออกผ่าน[[ถนนสุขุมวิท]]บริเวณด้านข้างพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ [[ถนนศรีนครินทร์]] และ[[ถนนเทพารักษ์]] ไปบรรจบกับ[[ถนนเทพรัตน]] (บางนา–หนองไม้แดง) บริเวณ[[ทางแยกต่างระดับวัดสลุด]] หน้าห้าง[[เมกาบางนา]] [[อำเภอบางพลี]] ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางแยกต่างระดับ 5 แห่ง เปิดให้บริการโดยยกเว้นการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษชั่วคราวในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเปิดให้บริการโดยจัดเก็บค่าผ่านทาง ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552
 
ทางพิเศษสายนี้มีการก่อสร้างสะพานแขวนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง ที่ตำบลบางจาก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานนามสะพานแห่งนี้ว่า "[[สะพานกาญจนาภิเษก]]" พร้อมด้วยระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจร ซื่งเป็นระบบปิด เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 รวมจำนวน 29 ด่าน