ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมอิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5:
ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาพระคลังผู้เป็นสามีได้เดินทางออกไปสักเลขสมกำลังที่หัวเมืองปักษ์ใต้ หม่อมอินที่กำลังตั้งครรภ์ก็ได้ร่วมเดินทางไปด้วยและได้คลอดบุตรชายเพียงคนเดียวที่ [[เมืองชุมพร]] โดยท่านเจ้าคุณบิดาก็ได้ตั้งชื่อบุตรชายคนนี้ว่า ชุมพร ซึ่งต่อมาก็คือเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เมื่อ พ.ศ. 2392 ขณะนั้นท่านมีอายุได้เพียง 27 ปี
 
เมื่อ [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติในปี พ.ศ. 2394 ก็โปรดเกล้าฯ ให้ท่านและวงมโหรีของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์รวมถึงครูดนตรีคนอื่น ๆ เข้าไปฝึกหัดมโหรีหลวงถึงใน [[พระบรมมหาราชวัง]] เพื่อไว้ใช้ในราชการ ครั้นล่วงมาถึงในรัชสมัยของ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในปีระกาเบญจศก เมื่อพระองค์แต่งตั้งให้บุตรชายของท่านเป็นจางวางมหาดเล็กและพระราชทานพานทองแล้ว พระองค์ก็ได้พระราชทานเบี้ยหวัดแก่ท่านปีละ ๑๐ ตำลึงตลอดมา
 
หม่อมอินถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2440 เวลา ๑๕.๑๕ นาฬิกา เนื่องจากอุจจาระธาตุพิการ สิริรวมอายุได้ 74 ปี 10 เดือน 25 วัน ในการนี้ [[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ]] ซึ่งสำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้น โปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำอาบศพและโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจา จ่าปี่ ๑ กลองชนะ ๕ คู่ พระสงฆ์สวดอภิธรรมเวลากลางคืน เป็นเวลา ๓ เดือนเป็นเกียรติยศอย่างมารดาเสนาบดี และพระราชทานน้ำอาบศพส่วนพระองค์ เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ [[สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี]] ได้พระราชทานน้ำอาบศพด้วย
 
== อ้างอิง ==