ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมอมรวงษ์วิจิตร์ (หม่อมราชวงศ์ปฐม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
 
==ประวัติ==
 
หม่อมอมรวงษ์วิจิตรเป็น[[หม่อมราชนิกูล]] มีนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร เป็นบุตรของ[[หม่อมเจ้าเมฆิน คเนจร]] และเป็นนัดดาใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์]] ต้นราชสกุลคเนจร เกิดเมื่อใดยังสืบหาหลักฐานไม่พบ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงระบุในพระนิพนธ์คำนำหนังสือประชุมพงศาวดารภาค 4 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2458 ไว้ว่า หม่อมอมรวงษ์วิจิตรได้รับการศึกษาชั้นต้นจาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย|โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] เมื่อศึกษาจนครบหลักสูตรแล้ว จึงเข้ารับราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ก่อนจะย้ายเข้ามารับราชการใน[[กระทรวงมหาดไทย]] โดยสมัครออกไปรับราชการในพื้นที่[[มณฑลอีสาน]]<ref>ครอบคลุมพื้นที่ปัจจุบันของ[[จังหวัดอุบลราชธานี]], [[อำนาจเจริญ]], [[ยโสธร]], [[ศรีสะเกษ]], [[สุรินทร์]], [[ร้อยเอ็ด]], [[มหาสารคาม]] และ[[กาฬสินธุ์]]ของประเทศไทย [[แขวงจำปาศักดิ์]]ของ[[ประเทศลาว]] [[จังหวัดพระวิหาร]]และ[[จังหวัดสตึงแตรง|สตึงแตรง]]ของ[[ประเทศกัมพูชา]]</ref> ตั้งแต่ครั้ง[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์]] ยังเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ ได้รับความก้าวหน้ามาเป็นลำดับจากตำแหน่งผู้ช่วยจนเป็นถึงปลัดมณฑลเป็นตำแหน่งสุดท้าย<ref name="คำนำประชุมพงศาวดาร 4">ดำรงราชานุภาพ. คำนำ ใน ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 4 อำมาตย์เอก พระยาศรีสำรวจ (ชื่น ภัทรนาวิก) ม.ม. ท.ช. รัตน ว.ป.ร.4 พิมพ์แจกในงานศพ พัน ภัทรนาวิก ผู้มารดา เมื่อปีเถาะสัปตศก พ.ศ. 2458. โบราณคดีสโมสร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2458. หน้า ญ - ท.</ref>
 
เส้น 27 ⟶ 26:
* พ.ศ. 2444 ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลอีสาน<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/006/86.PDF ส่งสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ไปพระราชทาน] </ref>
* [[6 กุมภาพันธ์]] ร.ศ. 122 ([[พ.ศ. 2446]] ตามปฏิทินในขณะนั้น) ได้ลาออกจากตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทยมณฑลอีสาน เพื่อย้ายกลับเข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/046/789_2.PDF แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หม่อมอมรวงษ์วิจิตร์ ลาออกจากตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทยมณฑลอีสานเข้ามารับราชการกรุงเทพฯ ให้ขุนภักดีรณชิตไปรับราชการในตำแหน่งว่าที่ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลอีสาน], เล่ม 20, ตอน 46, 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446, หน้า 789</ref>
* [[4 มิถุนายน]] ร.ศ. 123 ([[พ.ศ. 2447]]) เข้ารับราชการเป็นเลขานุการกระทรวงมหาดไทยที่กรุงเทพฯ<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/011/160_1161.PDF แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้หม่อมอมรวงษ์วิจิตรเป็นเลขานุการกระทรวงมหาดไทย], เล่ม 21, ตอน 11, 12 มิถุนายน พ.ศ. 2447, หน้า 161</ref>
* [[2 กุมภาพันธ์]] ร.ศ. 123 ([[พ.ศ. 2447]] ตามปฏิทินในขณะนั้น) ย้ายไปรับราชการเป็นผู้รั้งตำแหน่งปลัดเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/046/844_2.PDF แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้หม่อมอมรวงษ์วิจิตร ผู้แทนเลขานุการมหาดไทย เป็นผู้รั้งตำแหน่งปลัดเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า ให้พระราชพินิจจัยเป็นผู้แทนเลขานุการต่อไป], เล่ม 21, ตอน 46, 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447, หน้า 844</ref> (นับรวมเข้าในทำเนียบนามผู้ว่าราชการ[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]])
* [[18 ธันวาคม]] ร.ศ. 124 ([[พ.ศ. 2448]]) ย้ายจากตำแหน่งผู้ว่าราชการ[[จังหวัดสิงห์บุรี|เมืองสิงห์บุรี]] (ยังไม่พบสำเนาประกาศแต่งตั้งในราชกิจจานุเบกษา แต่มีการอ้างอิงถึงตำแหน่งนี้) ไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองอ่างทอง<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/039/951_1.PDF แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ให้หม่อมอมรวงษ์วิจิตรเป็นผู้ว่าราชการเมืองอ่างทอง ให้พระราชพินิจจัยเป็นผู้ว่าราชการเมืองสิงห์บุรี ให้พระมนตรีพจนกิจเป็นเลขานุการกระทรวงมหาดไทย ให้พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติปลัดบัญชี]], เล่ม 22, ตอน 39, 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448, หน้า 951</ref>