ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏบวรเดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 63:
 
===การเตรียมการของทัพกบฏ===
คณะณะผู้ก่อการเริ่มชักชวนหาพรรคพวกทั้งในหมู่ทหารนอกและในประจำการ การประชุมของคณะผู้ก่อการครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2476 โดยมีพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม พันโทหลวงพลหาญสงคราม และร้อยโทจงกล ไกรฤกษ์ ที่ร้านอาหารบนถนนราชวงศ์ การประชุมครั้งที่สองเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมที่บ้านหลวงพลหาญสงคราม เป็นการประชุมระหว่างผู้แทนทหารหัวเมืองต่างๆ การประชุมครั้งที่สามเกิดขึ้นในต้นเดือนตุลาคมที่บ้านพันเอกพระยาไชเยนทร์ฤทธิรงค์ในจังหวัดนครราชสีมา<ref>กรมพระธรรมนูญทหารบก. คำพิพากษาศาลพิเศษคดีแดงที่ 62, 63, 64, 78/2477 พระยานายกนรชนกับพวกรวม 12 คน จำเลย. แฟ้มที่ 2</ref> ซึ่งที่ประชุมตกลงให้ใช้ชื่อแผนว่า "แผนล้อมกวาง"<ref>ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์, เมืองนิมิตร...., หน้า 335</ref> และตกลงใช้เมืองโคราชเป็นกองบัญชาการใหญ่ เนื่องจากเป็นจังหวัดใหญ่มีอาวุธและกำลังพลมากกว่าหัวเมืองอื่น
 
ในช่วงวางแผนการ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร|กรมขุนชัยนาทนเรนทร]], หม่อมเจ้าวงศ์นิรชร เทวกุล และพระองค์เจ้าบวรเดช ลงไปเข้าเฝ้าในหลวงที่วังไกลกังวล<ref>เพลิง ภูผา, 2557. ''กบฏสะท้านแผ่นดิน''</ref> พระองค์เจ้าบวรเดชอาสาเป็นผู้นำ "กองทัพสีน้ำเงิน" และได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจะเปลี่ยนแปลงใหม่ ในหลวงคัดค้านหนัก พระองค์เจ้าบวรเดชโกรธในหลวงและกลับมาพูดกับนายทหารคนอื่นว่า ''"ถ้าท่านไม่เล่นกับเราเราก็หาคนใหม่!"''<ref name="poom"/> อย่างไรก็ตาม ต่อมามีเช็คสั่งจ่ายของพระคลังข้างที่ให้แก่พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นจำนวน 200,000 บาท<ref name ="Jaijing">ณัฐพล ใจจริง, 2556 : 22-27</ref>สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์|กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์]] หลังจากนั้น [[หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล]] ราชเลขานุการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เป็นผู้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้นำกองทัพสีน้ำเงิน<ref name ="Jaijing"/> นอกจากนี้ พระองค์เจ้าบวรเดชยังได้เงินจาก[[มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย|มหามกุฏราชวิทยาลัย]]อีก 200,000 บาท เนื่องจาก[[พระยาเสนาสงคราม (อี๋ นพวงศ์)|พระยาเสนาสงคราม]] แม่ทัพกบฎฝ่ายนครสวรรค์ เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ[[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์]]
 
พระองค์เจ้าบวรเดชได้นำกำลังเข้าแจ้งต่อข้าราชการหัวเมืองว่า รัฐบาลคณะราษฎรจะเอาระบอบคอมมิวนิสต์มาใช้และจะไม่มีกษัตริย์จึงต้องนำทหารเข้าไปปราบปราม อย่าได้ทำการขัดขวาง<ref name ="siam revolt">เพลิง ภูผา, 2541. ''กบฏเมืองสยาม''</ref> พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นผู้นำกองกำลังกบฏที่ชื่อว่า '''คณะกู้บ้านเมือง''' ซึ่งประกอบด้วยทหารโคราช (กองพันทหารราบที่ 15, กองพันทหารราบที่ 16, กองพันทหารม้าที่ 4, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4) ทหารเพชรบุรี (กองพันทหารราบที่ 14), ทหารอุบลราชธานี (กองพันทหารราบที่ 18) เข้ารบ
 
===การเตรียมการของฝ่ายรัฐบาล===
เส้น 82 ⟶ 80:
[[ไฟล์:Boworadet Rebellion Map.png|220px|thumb|แผนที่แสดงกองกำลังทหารทั้งสองฝ่าย สีแดงคือกองกำลังกบฏ]]
=== 11 ตุลาคม "กบฏยึดทุ่งดอนเมือง"===
11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เพียงสิบวันหลังหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางกลับประเทศสยาม พระองค์เจ้าบวรเดชได้นำกองกำลังทหารนามเข้าแจ้งต่อข้าราชการหัวเมืองว่า "รัฐบาลคณะกู้บ้านเมืองราษฎรจะเอาระบอบคอมมิวนิสต์มาใช้และจะไม่มีกษัตริย์จึงต้องนำทหารเข้าไปปราบปราม อย่าได้ทำการขัดขวาง<ref name ="siam เข้าจับกุมคนของรัฐบาลrevolt">เพลิง ภูผา, 2541. ''กบฏเมืองสยาม''</ref> พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นเชลยผู้นำกองกำลังกบฏที่ชื่อว่า '''คณะกู้บ้านเมือง''' ซึ่งประกอบด้วยทหารโคราช (กองพันทหารราบที่ 15, กองพันทหารราบที่ 16, กองพันทหารม้าที่ 4, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4) ทหารเพชรบุรี (กองพันทหารราบที่ 14), ทหารอุบลราชธานี (กองพันทหารราบที่ 18)

พันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามนำกำลัง 2 กองพันทหารช่างจากสระบุรีเป็นทัพหน้าลงมายึดทุ่งดอนเมือง โดยมีกองทหารม้าของร้อยเอกหลวงโหมรอนราญตามลงมาสมทบ และเข้ายึดกรมอากาศยานที่ดอนเมืองเป็นกองบัญชาการ พระยาศรีสิทธิสงครามส่งกองหน้ามายึดสถานีรถไฟหลักสี่ และส่งนาวาเอกพระยาแสงสิทธิการถือหนังสือถึงพระยาพหลฯความว่า ''"คณะรัฐมนตรีปล่อยให้คนดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเอาหลวงประดิษฐ์มนูธรรมกลับมาเพื่อดำเนินการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ จึงขอให้คณะรัฐบาลถวายบังคมลาออกภายในหนึ่งชั่วโมง มิเช่นนั้นจะใช้กำลังบังคับและจะเข้ายึดการปกครองชั่วคราว"''<ref>กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ 39/163 เรื่อง คำขอหรือคำขาดและคำแถลงการณ์หรือใบปลิวของพวกกบฏ.</ref>
 
คณะรัฐบาลประชุมกันที่วังปารุสก์แล้วก็ลงความเห็นว่าเหตุผลของฝ่ายกบฏฟังไม่ขึ้น และสมควรปราบปราม เวลาค่ำ นายกรัฐมนตรีออกประกาศไปยังทั่วประเทศว่า พระองค์เจ้าบวรเดช พระยาศรีสิทธิสงคราม พระยาเทพสงคราม เป็นกบฏต่อแผ่นดิน พยายามล้มล้างระบอบประชาธิปไตยขอเลิกรัฐธรรมนูญ และสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม ''"ในพระนครเหตุการณ์เรียบร้อย อย่าฟังคำสั่งผู้ใดทั้งสิ้นนอกจากข้าพเจ้า พระยาพหลพลพยุหเสนาฯ"''<ref name="thaipost"/>
บรรทัด 138:
16 ตุลาคม เครื่องบินฝ่ายกบฏบินมาทิ้งใบปลิวที่วังไกลกังวลเพื่อทูลว่าการยึดอำนาจล้มเหลว ในค่ำวันต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จประปกเกล้าฯทราบว่าทหารเพชรบุรียอมจำนนต่อรัฐบาลแล้ว และรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมกำลังเดินทางลงมาเข้าเฝ้า ก็ทรงตื่นตระหนกรีบเสด็จลงเรือพระที่นั่งศรวรุณ ซึ่งเป็นเรือยนต์ลำเล็กอย่างกะทันหันพร้อมกับ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี|สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี]], [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์]], [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี]], [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช]], [[หม่อมเจ้าประสบศรี จิรประวัติ]], [[หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล]], [[หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร]], [[หม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์]], [[หม่อมเจ้าเศรษฐพันธ์ จักรพันธุ์]] พร้อมทหารรักษาวังอีก 6-7 นาย มุ่งหน้าจังหวัดสงขลา
 
เนื่องจากเรือไม่พอนั่ง หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิทและ[[เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่]] ต้องนำทหารรักษาวังบางส่วนขึ้นไปยึดขบวนรถไฟจาก[[สถานีรถไฟวังก์พง|สถานีวังก์พง]]ในช่วงบ่าย<ref name ="poon">พูนพิสมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ๒๕๔๖ ''สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕''. พิมพ์ครั้งที่ ๕. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน), หน้า ๑๓๗-๑๔๘.</ref> เจ้ากาวิละวงศ์เป็นพนักงานขับรถ ขบวนรถไฟพิเศษนี้ออกจากหัวหินเวลาตีหนึ่งของวันที่ 18 ตุลาคม มีผู้โดยสารประกอบด้วย: [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]], [[หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล]], [[หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล]], [[หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล]], [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์|กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]พร้อมพระธิดา, [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์|กรมหมื่นอนุวัตจาตุรนต์]], [[หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์]], พลโทพระยาวิชิตวุฒิไกร, พระยาอิศราธิราชเสวี และทหารรักษาวังสองกองร้อย
 
เมื่อนาย[[เล้ง ศรีสมวงศ์]] อธิบดีกรมรถไฟทราบข่าว จึงรีบส่งโทรเลขแจ้งสถานีรายทางล่วงหน้าว่า ทหารหลวงลักขบวนรถจักรออกจากวังก์พง ให้ทำการสกัดกั้น พนักงานกรมรถไฟจึงไปถอดรางรถไฟช่วงก่อนถึงสถานีประจวบคีรีขันธ์ ขบวนรถไฟพิเศษไปต่อไม่ได้ต้องหยุดระหว่างทาง ทหารหลวงต้องช่วยกันถอดรางที่วิ่งที่ผ่านมาแล้วมาต่อเพื่อให้รถไฟเดินต่อไปได้ เมื่อขบวนรถไฟมาถึงสถานีประจวบคีรีขันธ์ก็ถูกกักรถไม่ให้เดินทางต่อจนเกือบจะยิงกัน สมุหราชองครักษ์จึงโทรเลขไปยังรัฐมนตรีมหาดไทย พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์รีบนำความเข้าแจ้งนายกรัฐมนตรี พระยาพหลพลหยุหเสนาสั่งการอนุญาตให้รถไฟเดินได้ตลอดสายทาง