ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานานุกรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
คำว่า ฐานานุกรม ในภาษาบาลี มาจากบทคือ ฐาน (ตำแหน่ง) +อนุกฺกม (ลำดับ, ระเบียบ, ชั้น) ประกอบกัน จึงแปลว่า ตำแหน่งที่ตั้งขึ้นตามทำเนียบ ฐานานุกรมจึงหมายถึง ลำดับตำแหน่งยศพระสงฆ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งสมณศักดิ์ให้ ตามทำเนียบที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชาคณะหรือเจ้าคณะผู้ปกครองนั้น ๆ เช่น พระสงฆ์ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ สามารถตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง [[พระราชาคณะ]]ชั้นสามัญตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึง[[สมเด็จพระสังฆราช]]ทรงตั้งฐานานุกรมได้ 15 ตำแหน่ง
 
=== สถานะของพระฐานานุกรม ===
 
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งในลักษณะนี้เรียกว่า '''พระฐานานุกรม''' ทุกรูปจัดเป็นพระมีสมณศักดิ์ เช่นเดียวกับพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ตั้งแต่พระครูสัญญาบัตรขึ้นไป ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
บรรทัด 23:
ในอดีต ตำแหน่งฐานานุกรมบางตำแหน่งมีลำดับสมณศักดิ์สูงกว่า[[พระมหา]]เปรียญ จึงมีบางครั้งที่พระมหาเปรียญก็อาจได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมบ้าง ซึ่งเรียกกันในภาษาปากว่า '''ฐานาทรงเครื่อง''' หรือ '''พระครูทรงเครื่อง''' คือมีทั้งตำแหน่งมหาเปรียญและฐานานุกรมในคราวเดียวกัน<ref name="วิทยา2"/>
 
=== ประเภทของฐานานุกรม===
ฐานานุกรมแบ่งได้ 4 ตำแหน่ง ได้แก่
# '''ฐานานุกรมชั้นพระราชาคณะ''' ตำแหน่งนี้มีเฉพาะฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น มี 2 ตำแหน่งคือ พระราชาคณะปลัดขวาและพระราชาคณะซ้าย (บางสมัยอาจมีพระราชาคณะปลัดกลาง) และฐานานุกรมชั้นนี้สามารถตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่งเหมือนพระราชาคณะชั้นสามัญทั่วไป