ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลาสติกชีวภาพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VWPT (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
VWPT (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหาเรื่อง "ประเภท" โดยแปลจากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ en:Bioplastic
บรรทัด 29:
</table>
}}</div>
 
[[File:BiodegradablePlasticUtensils1.jpg|thumb|ช้อนส้อมพลาสติกย่อยสลายได้]]
[[File:Stärke-Packstoff Pömpel CG.jpg|thumb|เม็ดโฟมกันกระแทกทำจากพลาสติกชีวภาพ (เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช)]]
[[File:Bio-K Abfallbeutel Kompostbeutel CG.jpg|thumb|บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ที่ทำจากพลาสติกชีวภาพและพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ]]
 
== ประเภท ==
=== พลาสติกที่ทำจากแป้ง ===
ปัจจุบัน เทอร์โมพลาสติกที่ทำจากแป้ง หรือที่เรียกว่า "เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช" ([[:en:Thermoplastic starch|Thermoplastic starch]]) เป็นพลาสติกชีวภาพที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ฟิล์มพลาสติกชีวภาพจากแป้งสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการทำเจลาติไนซ์แป้งแล้วนำมาหล่อขึ้นรูป (solution casting)<ref>[http://www.instructables.com/id/Make-Potato-Plastic!/|Make Potato Plastic!]. Instructables.com (2007-07-26). Retrieved 2011-08-14.</ref> และด้วยสมบัติของแป้งบริสุทธิ์ที่สามารถดูดความชื้นได้ จึงเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับใช้ผลิตแคปซูลยาในวงการเภสัชกรรม อย่างไรก็ตาม พลาสติกชีวภาพที่ทำจากแป้งมักมีความเปราะ จึงนิยมเติม[[พลาสติไซเซอร์]] เช่น [[กลีเซอรอล]] ไกลคอล และ[[ซอร์บิทอล]] เพื่อให้แป้งสามารถผ่านกระบวนการขึ้นรูปแบบเทอร์โมพลาสติกทั่วไปได้ <ref>Liu, Hongsheng; Xie, Fengwei; Yu, Long; Chen, Ling; Li, Lin (2009-12-01). [http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0079670009000653|"Thermal processing of starch-based polymers"]. Progress in Polymer Science. 34 (12): 1348–1368. doi:10.1016/j.progpolymsci.2009.07.001. ISSN 0079-6700.</ref> และมักมีการปรับคุณสมบัติของเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชที่ได้ให้ตรงกับความต้องการมากขึ้นโดยใช้สารเติมแต่งต่าง ๆ
 
=== พลาสติกที่ทำจากเซลลูโลส ===
[[File:Bio-K Blister CG.jpg|thumb|บรรจุภัณฑ์จากเซลลูโลสอะซิเตท พลาสติกชีวภาพชนิดหนึ่ง]]
พลาสติกชีวภาพจากเซลลูโลส มักทำมาจากเซลลูโลสเอสเทอร์ (ได้แก่ [[:en:cellulose acetate|เซลลูโลสอะซีเตท]] และไนโตรเซลลูโลส) และอนุพันธ์ของเซลลูโลสเอสเทอร์ เช่น เซลลูลอยด์
เซลลูโลสสามารถทำเป็นเทอร์โมพลาสติกได้เมื่อถูกดัดแปลงโครงสร้างมากพอสมควร ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสอะซีเตท ซึ่งมีราคาแพงจึงไม่นิยมใช้ทำบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การใช้เส้นใยเซลลูโลสเป็นสารตัวเติมในพลาสติกที่ทำจากแป้ง จะช่วยปรับปรุงสมบัติเชิงกล สมบัติกันการแพร่ผ่านของก๊าซ และความทนต่อน้ำได้ เนื่องจากเซลลูโลสมีความชอบน้ำน้อยกว่าแป้ง <ref name="auto">{{Citation|last=Avérous|first=Luc|title=Nanobiocomposites Based on Plasticized Starch|year=2014|work=Starch Polymers|pages=211–239|publisher=Elsevier|isbn=9780444537300|last2=Pollet|first2=Eric|doi=10.1016/b978-0-444-53730-0.00028-2}}</ref>
 
=== พลาสติกที่ทำจากโปรตีน ===
พลาสติกชีวภาพสามารถทำจากโปรตีนได้หลากหลายชนิด เช่น กลูเตนข้าวสาลี (wheat gluten) และโปรตีนเคซีน (casein) <ref>{{Cite journal|last=Song|first=J. H.|last2=Murphy|first2=R. J.|last3=Narayan|first3=R.|last4=Davies|first4=G. B. H.|date=2009-07-27|title=Biodegradable and compostable alternatives to conventional plastics|journal=Philosophical Transactions of the Royal Society B: Biological Sciences|volume=364|issue=1526|pages=2127–2139|doi=10.1098/rstb.2008.0289|issn=0962-8436|pmc=2873018|pmid=19528060}}</ref>
นอกจากนี้ โปรตีนถั่วเหลือง (soy proteins) ก็อาจนำมาใช้ทำพลาสติกชีวภาพได้ แต่จะมีอุปสรรคบางประการ เช่น ความไวต่อน้ำ และราคาที่ค่อนข้างสูง <ref>{{cite journal | title=Morphology and Properties of Soy Protein and Polylactide Blends | date=May 2006 | last=Zhang | first=Jinwen | last2=Jiang | first2=Long | last3=Zhu | first3=Linyong | last4=Jane | first4=Jay-lin | last5=Mungara | first5=Perminus | journal=Biomacromolecules | volume=7 | issue=5 | pages=1551–1561 | issn=1525-7797 | doi=10.1021/bm050888p| pmid=16677038 |url = http://lib.dr.iastate.edu/fshn_ag_pubs/108}}</ref>
 
== แหล่งอ้างอิง ==
{{Reflist}}
 
 
{{โครง}}
[[หมวดหมู่:เคมีพอลิเมอร์]]