ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาฮินดู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 82:
{{ต้องการอ้างอิงส่วน}}
{{บทความหลัก|ประวัติศาสนาฮินดู}}
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในตอนแรกอนุทวีปอินเดียลุ่มแม่น้ำสินธุ์ปกครองโดยชาวดราวิเดียนจากหลักฐานที่พบตามซากอารยธรรมโบราณจากเมืองเก่าที่ถูกขุดพบสันนิษฐานว่าน่าจะนับถือศาสนาประเภทพหุเทวนิยมต่อมาถูกรุนรานเข้ามาปกครองโดยชาวอารยันที่อพยบเข้ามา และได้สร้างระบบวรรณะ หรือระบบชนชั้นขึ้นเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากกฎหมายฮัมบูราบีที่แบบชนชั้นออกเป็น3คือปกครอง ทั่วไป และทาส ในตอนแรกปกครองเรียกว่ายุคพระเวท เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยม แต่ต่อมาได้รับอิทธิพลจากแนวคิดต่างๆจนเปลี่ยนเป็นศาสนาที่มีผู้สร้างหรือพระเจ้า ในยุคนี้เริ่มเรียกว่า "[[ศาสนาพราหมณ์]]"เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ต่อมาศาสนาพราหมณ์ได้เสื่อมความนิยมลงระยะหนึ่งเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ จนมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 [[ศังกราจารย์]]ได้ปฏิรูปศาสนาโดยแต่งคัมภีร์ปุราณะลดความสำคัญของศาสนาพุทธ และนำหลักปฏิบัติรวมทั้งหลักธรรมของศาสนาพุทธบางส่วนมาใช้และฟื้นฟูปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ให้เป็นศาสนาฮินดู โดยคำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ (เพี้ยนเป็นฮินดู) และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการเพิ่มเติมเทพเจ้าท้องถิ่นดั้งเดิมลงไป เนื่องจากเวลานั้นสังคมอินเดียไม่นับถือพระพรหมและแนวคิดพระเจ้าสร้างโลกอย่างมากเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาที่สร้างวัฒนธรรมอเทวนิยมได้สำเร็จ ในขณะเดียวกันศาสนาพุทธกลับมีลักษณะเป็นกึ่งพหุเทวนิยม คือนิยมนับถือเทวดา ทำให้อินเดียในขณะนั้นเกิดมีเทพเจ้าท้องถิ่นมากมาย ทางตอนเหนือนับถือพระศิวะซึ่งเป็นเทพแห่งภูเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ชาวประมงและชาวนานับถือวิษณุซึ่งเป็นเทพที่ให้ฝนและพายุ(ภายหลังพระวิษณุถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพระนาราย) ชาวป่านับถือพระนิรุทธ และตอนกลางนับถือพระพิฆเนตร คนอินเดียเวลานั้นเริ่มไม่นับถือพระพรหมของศาสนาพราหมณ์อันเป็นแนวคิดเอกเทวนิยมพระเจ้าองค์เดียวเป็นจำนวนมากขึ้น เพราะอิทธิพลของศาสนาพุทธที่เป็นอเทวนิยม ต่อมาศังกราจารย์ได้ปฏิรูปแนวทางฮินดูใหม่ ได้พยายามรวมเทพเจ้าแต่ละท้องถิ่นต่างๆมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับศาสนาพราหมณ์ โดยมีเทพเจ้าหลักสามองค์คือพรหม ศิวะ วิษณุ โดยการเพิ่มพระศิวะ และพระวิษณุที่คนในอินเดียตอนนั้นนับถือมากที่สุดเพิ่มเข้ามา ส่วนพระพรหมคนอินเดียไม่นิยมอีกเลยจนถึงปัจจุบัน จึงเน้นให้บูชาพระศิวะผู้ทำลายและพระวิษณุผู้รักษาแทน โดยใช้แนวคิด พรหมผู้สร้าง นารายณ์ผู้รักษา ศิวะผู้ทำลาย หรือตรีมูรติ แล้วเรียกศาสนาของใหม่นี้ว่า “ศาสนาฮินดู”
 
ในภายหลังวรรณะพราหมณ์และวรรณกษัตริย์เกิดแย่งกันเป็นวรรณะอันดับหนึ่ง พระศิวะจึงเป็นตัวแทนของวรรณะพราหมณ์และพระนารายเป็นตัวแทนของวรรณะกษัตริย์ผ่านวรรณกรรมต่างๆ เกิดเป็นนิกายขึ้นมา ภายหลังเกิดแนวคิดศักติ(มีชายต้องมีหญิง)เหล่าเทพเจ้าจึงมีพระชายา พระสรรัสวดีคู่กับพระพรหม พระลักษมี(แม่โพสฬ)คู่กับพระนาราย พระอุมา(พระแม่กาลี)คู่กับพระศิวะ