ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== สาขาวิชาหลักของดาราศาสตร์ ==
=== ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ ===
[[ไฟล์:Grav.lens1.arp.750pix.jpg|thumb|200px|ภาพแสดงวัตถุทรงรีสีน้ำเงินจำนวนมากที่เป็นภาพสะท้อนของดาราจักรแห่งเดียวกัน เป็นผลกระทบจาก[[เลนส์ความโน้มถ่วง]]ที่เกิดจากกระจุกดาราจักรสีเหลืองใกล้ศูนย์กลางของภาพ]]
{{บทความหลัก|ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ}}
 
การศึกษาวัตถุที่อยู่ในห้วงอวกาศอื่นนอกเหนือจากดาราจักรของเรา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ[[กำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร]] การศึกษารูปร่างลักษณะและ[[การจัดประเภทของดาราจักร]] การสำรวจ[[ดาราจักรกัมมันต์]] การศึกษาการจัด[[กลุ่มและกระจุกดาราจักร]] ซึ่งในหัวข้อหลังนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจกับ[[โครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล]]
 
ดาราจักรส่วนใหญ่จะถูกจัดกลุ่มตามรูปร่างลักษณะที่ปรากฏ เข้าตามหลักเกณฑ์ของการจัดประเภทดาราจักร ซึ่งมีกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ [[ดาราจักรชนิดก้นหอย]] [[ดาราจักรชนิดรี]] และ[[ดาราจักรไร้รูปแบบ]]<ref>Keel, Bill (2006-08-01). [http://www.astr.ua.edu/keel/galaxies/classify.html "Galaxy Classification"]. University of Alabama. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08. </ref>
 
ลักษณะของดาราจักรคล้ายคลึงกับชื่อประเภทที่กำหนด [[ดาราจักรชนิดรี]]จะมีรูปร่างในภาคตัดขวางคล้ายคลึงกับรูปวงรี ดาวฤกษ์จะโคจรไปแบบสุ่มโดยไม่มีทิศทางที่แน่ชัด ดาราจักรประเภทนี้มักไม่ค่อยมีฝุ่นระหว่างดวงดาวหลงเหลือแล้ว ย่านกำเนิดดาวใหม่ก็ไม่มี และดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีอายุมาก เรามักพบดาราจักรชนิดรีที่บริเวณใจกลางของ[[กระจุกดาราจักร]] หรืออาจเกิดขึ้นจากการที่ดาราจักรขนาดใหญ่สองแห่งปะทะแล้วรวมตัวเข้าด้วยกันก็ได้
 
[[ดาราจักรชนิดก้นหอย]]มักมีรูปทรงค่อนข้างแบน เหมือนแผ่นจานหมุน และส่วนใหญ่จะมีดุมหรือมีแกนรูปร่างคล้ายคานที่บริเวณใจกลาง พร้อมกับแขนก้นหอยสว่างแผ่ออกไปเป็นวง แขนก้นหอยนี้เป็นย่านของฝุ่นที่เป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์อายุน้อยมวลมากจะทำให้แขนนี้ส่องสว่างเป็นสีฟ้า ส่วนที่รอบนอกของดาราจักรมักเป็นกลุ่มของดาวฤกษ์อายุมาก ดาราจักร[[ทางช้างเผือก]]ของเราและ[[ดาราจักรแอนดรอเมดา]]ก็เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย
 
[[ดาราจักรไร้รูปแบบ]]มักมีรูปร่างปรากฏไม่แน่ไม่นอน ไม่ใช่ทั้งดาราจักรชนิดรีหรือชนิดก้นหอย ประมาณหนึ่งในสี่ของจำนวนดาราจักรทั้งหมดที่พบเป็นดาราจักรชนิดไร้รูปแบบนี้ รูปร่างอันแปลกประหลาดของดาราจักรมักทำให้เกิดปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงแปลก ๆ ขึ้นด้วย
 
[[ดาราจักรกัมมันต์]]คือดาราจักรที่มีการเปล่งสัญญาณพลังงานจำนวนมากออกมาจากแหล่งกำเนิดอื่นนอกเหนือจากดาวฤกษ์ ฝุ่น และแก๊ส แหล่งพลังงานนี้เป็นย่านเล็ก ๆ แต่หนาแน่นมากซึ่งอยู่ในแกนกลางดาราจักร โดยทั่วไปเชื่อกันว่ามี[[หลุมดำมวลยวดยิ่ง]]อยู่ที่นั่นซึ่งเปล่งพลังงานรังสีออกมาเมื่อมีวัตถุใด ๆ ตกลงไปในนั้น [[ดาราจักรวิทยุ]]คือดาราจักรกัมมันต์ชนิดหนึ่งที่ส่องสว่างมากในช่วงสเปกตรัมของคลื่นวิทยุ มันจะเปล่งลอนของแก๊สออกมาเป็นจำนวนมาก ดาราจักรกัมมันต์ที่แผ่รังสีพลังงานสูงออกมาได้แก่ [[ดาราจักรเซย์เฟิร์ต]] [[เควซาร์]] และ[[เบลซาร์]] เชื่อว่าเควซาร์เป็นวัตถุที่ส่องแสงสว่างมากที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักในเอกภพ<ref>[http://imagine.gsfc.nasa.gov/docs/science/know_l1/active_galaxies.html "Active Galaxies and Quasars"]. NASA. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08. </ref>
 
[[โครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล]]ประกอบด้วย[[กลุ่มและกระจุกดาราจักร]]จำนวนมาก โครงสร้างนี้มีการจัดลำดับชั้นโดยที่ระดับชั้นที่ใหญ่ที่สุดคือ มหากระจุกของดาราจักร เหนือกว่านั้นมวลสารจะมีการโยงใยกันในลักษณะของ[[ใยเอกภพ]]และกำแพงเอกภพ ส่วนที่ว่างระหว่างนั้นมีแต่สุญญากาศ<ref>Zeilik, Michael (2002). ''Astronomy: The Evolving Universe'' (8th ed.). Wiley. ISBN 0-521-80090-0.</ref>
 
=== จักรวาลวิทยา ===
{{บทความหลัก|จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ}}