ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== สาขาวิชาหลักของดาราศาสตร์ ==
=== ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์ ===
[[ไฟล์:Ant Nebula.jpg|thumb|200px|[[เนบิวลาดาวเคราะห์]][[Mz3|รูปมด]] ที่แผ่แก๊สออกมาจากศูนย์กลางดาวฤกษ์ที่แตกดับในลักษณะสมมาตร ต่างจากการระเบิดโดยทั่วไป]]
{{บทความหลัก|ดาวฤกษ์}}
 
การศึกษาเกี่ยวกับ[[ดาวฤกษ์]]และ[[วิวัฒนาการของดาวฤกษ์]]เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจกับเอกภพ วิทยาการ[[ฟิสิกส์ดาราศาสตร์]]ของดวงดาวเกิดขึ้นมาจากการสังเกตการณ์และการพยายามสร้างทฤษฎีเพื่อทำความเข้าใจ รวมถึงการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นภายในดวงดาว
 
ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นในย่านอวกาศที่มีฝุ่นและแก๊สอยู่หนาแน่น เรียกชื่อว่า[[เมฆโมเลกุล|เมฆโมเลกุลขนาดยักษ์]] เมื่อเกิดภาวะที่ไม่เสถียร ส่วนประกอบของเมฆอาจแตกสลายไปภายใต้แรงโน้มถ่วง และทำให้เกิดเป็น[[ดาวฤกษ์ก่อนเกิด]]ขึ้น บริเวณที่มีความหนาแน่นของแก๊สและฝุ่นสูงมากพอ และร้อนมากพอ จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งทำให้เกิดดาวฤกษ์ใน[[แถบลำดับหลัก]]ขึ้น<ref>[http://observe.arc.nasa.gov/nasa/space/stellardeath/stellardeath_intro.html "Stellar Evolution & Death"]. NASA Observatorium. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-06-08.</ref> ธาตุที่กำเนิดขึ้นในแกนกลางของดาวฤกษ์โดยมากเป็นธาตุที่หนักกว่า[[ไฮโดรเจน]]และ[[ฮีเลียม]]ทั้งสิ้น
 
คุณลักษณะต่าง ๆ ของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับ[[มวล]]เริ่มต้นของดาวฤกษ์นั้น ๆ ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีความส่องสว่างสูง และจะใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากแกนกลางของมันเองไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาผ่านไป เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหล่านี้จะค่อย ๆ แปรเปลี่ยนกลายไปเป็นฮีเลียม ดาวฤกษ์ก็จะวิวัฒนาการไป การเกิดฟิวชั่นของฮีเลียมจะต้องใช้อุณหภูมิแกนกลางที่สูงกว่า ดังนั้นดาวฤกษ์นั้นก็จะขยายตัวใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มความหนาแน่นแกนกลางของตัวเองด้วย [[ดาวแดงยักษ์]]จะมีช่วงอายุที่สั้นก่อนที่เชื้อเพลิงฮีเลียมจะถูกเผาผลาญหมดไป ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าจะผ่านกระบวนการวิวัฒนาการได้มากกว่า โดยที่มีธาตุหนักหลอมรวมอยู่ในตัวเพิ่มมากขึ้น
 
การสิ้นสุดชะตากรรมของดาวฤกษ์ก็ขึ้นอยู่กับมวลของมันเช่นกัน ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรามากกว่า 8 เท่าจะแตกสลายกลายไปเป็น[[ซูเปอร์โนวา]] ขณะที่ดาวฤกษ์ที่เล็กกว่าจะกลายไปเป็น[[เนบิวลาดาวเคราะห์]] และวิวัฒนาการต่อไปเป็น[[ดาวแคระขาว]] ซากของซูเปอร์โนวาคือ[[ดาวนิวตรอน]]ที่หนาแน่น หรือในกรณีที่ดาวฤกษ์นั้นมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรากว่า 3 เท่า มันจะกลายไปเป็น[[หลุมดำ]]<ref>Jean Audouze, Guy Israel, ed. (1994). ''The Cambridge Atlas of Astronomy'' (3rd ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-43438-6.</ref> สำหรับดาวฤกษ์ที่เป็น[[ระบบดาวคู่]]อาจมีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไป เช่นอาจมีการถ่ายเทมวลแก่กันแล้วกลายเป็นดาวแคระขาวแบบคู่ซึ่งสามารถจะกลายไปเป็นซูเปอร์โนวาได้ การเกิดเนบิวลาดาวเคราะห์และซูเปอร์โนวาเป็นการกระจายสสารธาตุออกไปสู่[[สสารระหว่างดาว]] หากไม่มีกระบวนการนี้แล้ว ดาวฤกษ์ใหม่ ๆ (และระบบดาวเคราะห์ของมัน) ก็จะก่อตัวขึ้นมาจากเพียงไฮโดรเจนกับฮีเลียมเท่านั้น
 
=== ดาราศาสตร์ดาราจักร ===
[[ไฟล์:Milky Way Spiral Arm-th.svg|thumb|200px|การสังเกตการณ์และศึกษาโครงสร้างแขนกังหันของ[[ดาราจักรทางช้างเผือก]]]]