ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดสุรินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
47JL (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
47JL (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 393:
ในปัจจุบันทุกชาติพันธุ์ในจังหวัดสุรินทร์และบริเวณจังหวัดใกล้เคียงได้อาศัยอยู่กันอย่างกลมกลืนตามความเชื่อของตนเอง มีการผสมผสานกันทางภาษา ประเพณี และวัฒนธรรม ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
=== ภาษาและวรรณกรรม ===
ภาษา ประชากรในจังหวัดสุรินทร์ยังใช้ภาษท้องถิ่นเขมร ส่วย และลาว เป็นภาษาที่ ๑ ควบคู่กับภาษาไทย ประชากรจังหวัดสุรินทร์ ใช้ภาษาเขมรเหนือเป็นภาษาที่หนึ่งมากที่สุดคือ ประมาณร้อยละ ๕๐ ของประชากร ภาษาส่วยหรือกูย ร้อยละ ๓๐ ภาษาลาวร้อยละ ๑๒ ภาษาจีนและอื่น ๆ ร้อยละ ๘
ภาษาเขมร เป็นภาษาที่พูดที่กระจายอยู่ทุกอำเภอในจังหวัดสุรินทร์ แต่หนาแน่นที่สุดที่อำเภอเมือง ฯ อำเภอท่าตูม อำเภอลำดวน อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ กิ่งอำเภอพนมดงรัก กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอจอมพระ
ภาษาส่วยหรือภาษากูย นับเป็นภาษาพูดของกลุ่มชนเก่าแก่กลุ่มหนึ่ง แต่ไม่มีภาษาเขียน ใช้กันมากที่อำเภอสำโรงทาบ อำเภอท่าตูม กิ่งอำเภอศรีณรงค์ อำเภอจอมพระ และอำเภอศีขรภูมิ