ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ออลเทอร์นาทิฟร็อก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 59:
 
ออลเทอร์นาทิฟร็อก มีความหมายครอบคลุมถึงดนตรีที่แตกต่าง ในแง่ของซาวด์เพลง บริบททางสังคม และรากเหง้าท้องถิ่น เมื่อสิ้นสุดคริสต์ทศวรรษ 1980 นิตยสารและ[[ซีน]] (Zine), สถานีวิทยุในวิทยาลัย และการพูดแบบปากต่อปากนี้เองที่ทำให้แนวนี้โดดเด่นขึ้นมาและถือเป็นจุดเด่นความหลากหลายของออลเทอร์นาทิฟร็อก ยังช่วยให้กำหนดนิยามแนวเพลงที่แตกต่างให้ชัดเจน (กระแสดนตรี) เช่น [[นอยส์ป็อป]], [[อินดีร็อก]], [[กรันจ์]] และ[[ชูเกซ]] แนวเพลงย่อยจำพวกนี้ส่วนใหญ๋แล้วจะประสบความสำเร็จในกระแสหลักได้เพียงเล็กน้อยและมีไม่กี่วง อย่าง [[ฮุสเกอร์ดุ]] และ [[อาร์.อี.เอ็ม.]] ที่ได้เซ็นสัญญากับค่ายใหญ่ แต่วงออลเทอร์นาทิฟส่วนใหญ่แล้วจะประสบความสำเร็จด้านยอดขายที่ค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับแนวร็อกอื่น ๆ และดนตรีป็อปในช่วงนั้น วงส่วนใหญ่จะเซ็นสัญญากับค่ายเพลงอิสระและได้รับความสนใจจากวิทยุที่เปิดเพลงกระแสหลัก โทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ เพียงเล็กน้อย และจากการแจ้งเกิดของวง[[เนอร์วานา]]และความนิยมในกระแสเพลงกรันจ์และบริตป็อปในคริสต์ทศวรรษ 1990 ออลเทอร์นาทิฟร็อกก็สามารถก้าวสู่ดนตรีกระแสหลัก มีวงออลเทอร์นาทิฟหลายวงประสบความสำเร็จ
 
==ต้นกำเนิดของชื่อ==
ก่อนที่ชื่อ ''ออลเทอร์นาทิฟร็อก'' จะใช้กันอย่างกว้างขวางราวปี 1990 จำพวกของเพลงที่ถูกอ้างถึงมีความหมายที่หลากหลายกันไป<ref>Azerrad (2001), p. 446.</ref> ปี 1979 เทอร์รี ทอลคิน ใช้คำว่า ''ดนตรีออลเทอร์นาทิฟ'' (Alternative Music) เพื่อบรรยายถึงวงที่เขากำลังเขียนถึงอยู่<ref>Azerrad (2001).</ref> ปี 1979 สถานีวิทยุจากดัลลาสคลื่น เคเซดอีดับเบิลยู (KZEW) มีรายการคลื่นลูกใหม่ช่วงดึกที่ชื่อ "ร็อกแอนด์โรลล์ออลเทอร์นาทิฟ" (Rock and Roll Alternative)<ref>"Are We Not New Wave Modern Pop at the Turn of the 1980s by Theo Cateforis University of Michigan Press 2011 p. 38 {{ISBN|9780472115556}}</ref> ส่วนคำว่า "[[คอลเลจร็อก]]" ใช้ในสหรัฐเพื่ออธิบายหมายถึงดนตรีในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เพื่อเชื่อมโยงกับขอบเขตสถานีมหาวิทยาลัยและรสนิยมของนักเรียนระดับมหาวิทยาลัย<ref name="Reynolds391">Reynolds, p. 391</ref> ในสหราชอาณาจักรค่ายเพลงประเภทดีไอวายมากมายเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากวัฒนธรรมย่อยพังก์ จากข้อมูลของหนึ่งในผู้ก่อตั้งค่ายเชอร์รีเรด กล่าวว่านิตยสาร ''[[เอ็นเอ็มอี]]'' และนิตยสาร ''ซาวส์'' ได้เผยแพร่ชาร์ตเพลงจากข้อมูลของร้านขายแผ่นเล็ก ๆ เรียกชาร์ตนี้ว่า "ออลเทอร์นาทิฟชาตส์" (Alternative Charts) ส่วนชาร์ตระดับชาติชาร์ตแรกที่ดูจากยอดขายเรียกว่า อินดี้ชาร์ต (Indie Chart) ตีพิมพ์ในเดือนมกราคม 1982 ชาร์ตประสบความสำเร็จทันทีจากการช่วยเหลือของค่ายเพลงเหล่านี้ ณ ตอนนั้นคำว่าอินดี้ใช้เพื่ออธิบายถึงค่ายอิสระ<ref>Stanley, Bob. [https://www.theguardian.com/music/2009/jul/31/indie-chart-rise-again "Will the indie chart rise again?"]. ''[[The Guardian]]''. July 31, 2009. Retrieved July 20, 2012.</ref> ในปี 1985 อินดี้มีความหมายเจาะจงไปทางแนวเพลง หรือกลุ่มแนวเพลงย่อย มากกว่าแค่สถานะการเผยแพร่เพลง<ref name="Reynolds391" />
 
การใช้คำว่า ''ออลเทอร์นาทิฟ'' เพื่ออธิบายถึงเพลงร็อกเกิดขึ้นราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1980<ref>Thompson, Dave. "Introduction". ''Third Ear: Alternative Rock''. San Francisco: Miller Freeman, 2000. p. viii.</ref> ขณะนั้นเป็นคำทั่วไปที่อธิบายถึงเพลงล้ำสมัย เป็น ''[[โพสต์พังก์|เพลงแบบใหม่]]'' และ[[ดนตรีโพสต์โมเดิร์น]] ที่เป็นการบ่งบอกถึงความสดใหม่ และพิเศษ ตามลำดับ เพื่อบ่งซาวด์ให้ต่างจากเพลงในอดีต<ref name="altguitar"/><ref>Reynolds, p. 338.</ref> คนที่ทำงานด้านดีเจและโปรโมเตอร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 อ้างว่าที่มาของคำนี้เกิดขึ้นจากสถานีวิทยุเอฟเอ็มอเมริกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่เปิดเพลงรูปแบบทางเลือกใหม่ก้าวหน้าไปจนถึงเพลงรูปแบบท็อป 40 โดยเปิดเพลงยาวขึ้นและให้อิสระแก่ดีเจในการเลือกเพลงมากกว่า จากข้อมูลของหนึ่งในดีเจและโปรโมเตอร์ "บางครั้งคำว่า 'ออลเทอร์นาทิฟ' ถือเป็นการค้นพบใหม่ และยืมมาจากบุคลากรสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่พวกเขาประยุกต์มาใช้กับเพลงโพสต์พังก์ใหม่, อินดี้ และเพลงใต้ดินอะไรก็ตาม"<ref>Mullen, Brendan. ''Whores: An Oral Biography of Perry Farrell and Jane's Addiction''. Cambridge: Da Capo, 2005. p. 19. {{ISBN|0-306-81347-5}}.</ref> ในช่วงแรกคำนี้ตั้งใจให้หมายถึง เพลงร็อกนอกกระแส ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจาก "เพลงเฮฟวีเมทัลบัลลาด, เพลงนิวเวฟบาง ๆ" และ "เพลงชาติเต้นรำอันทรงพลัง"<ref name=1997Definition>[[Neil Strauss|Strauss, Neil]]. [https://www.nytimes.com/1997/03/02/arts/forget-pearl-jam-alternative-rock-lives.html "Forget Pearl Jam. Alternative Rock Lives"]. ''[[The New York Times]]''. March 2, 1997. Retrieved July 20, 2012.</ref> การใช้คำนี้ก็กว้างมากขึ้นให้รวมถึงเพลง[[นิวเวฟ]], [[ป็อป]], [[พังก์ร็อก]], [[โพสต์พังก์]] และในบางครั้งหมายถึงเพลง[[คอลเลจร็อก|คอลเลจ]]/[[อินดี้ร็อก|อินดี้]]ร็อก ที่พบเห็นได้ในสถานีวิทยุ "ออลเทอร์นาทิฟเพื่อการค้า" ในยุคนั้นอย่างเช่น เคอาร์โอคิว-เอฟเอ็ม (KROQ-FM) ในลอสแอนเจลิส นักข่าว จิม เกอร์ (Jim Gerr) เขียนไว้ว่า ออลเทอร์นาทิฟได้รวบความหลากหลายอย่างเช่น "แร็ป, แทรช, เมทัล และอินดัสเทรียล" ไว้ด้วยกัน<ref name=gerr /> ในเดือนธันวาคม 1991 นิตยสาร ''[[สปิน (นิตยสาร)|สปิน]]'' เขียนว่า "ปีนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เป็นที่โด่งดังแจ่มแจ้งว่า อะไรก่อนหน้าถือว่าเป็น''ออลเทอร์นาทิฟร็อก'' ที่เป็นกลุ่มศูนย์กลางการตลาดของเด็กมหาวิทยาลัย ที่ทำกำไรพอควร หากจะตั้งขอบเขตแนวโน้มแล้ว ในความเป็นจริงคือได้ก้าวสู่กระแสหลักเรียบร้อยแล้ว"<ref name=gerr>{{cite |last=Gerr|first=Jim |title=Artist of the Year: Perry Farrell of Jane's Addiction |work=Spin (magazine)|date=December 1991}}</ref> รายการครั้งแรกของ[[ลอลลาพาลูซา]] เทศกาลของนักท่องเที่ยวในอเมริกาเหนือ ให้นึกถึงหัวหน้าวง[[เจนส์แอดดิกชัน]] [[เพอร์รี ฟาร์เรลล์]] ที่กลับมารวมตัวกันใหม่ "โดยมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของชุมชนออลเทอร์นาทิฟร็อก" ร่วมด้วย[[เฮนรี โรลลินส์]], [[บัตต์โฮลเซิฟเฟอส์]], [[ไอซ์-ที]], [[ไนน์อินช์เนลส์]], [[ซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์]] และเจนส์แอดดิกชัน<ref name=gerr /> ปีเดียวกันฟาร์เรลล์เป็นคนต้นคิดคำว่า ''ออลเทอร์นาทิฟเนชัน'' (Alternative Nation)<ref>{{cite book|first=Jake |last=Brown|title=Jane's Addiction: In the Studio |publisher=Black Market Publishing |year=2011 |isbn=9780972614276}}</ref> ปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 คำนี้มีนิยามที่เจาะจงอีกครั้ง<ref name="altguitar"/> ปี 1997 นีล สเตราสส์แห่ง ''[[เดอะนิวยอร์กไทมส์]]'' จำกัดความหมายของออลเทอร์นาทิฟร็อกว่า "ร็อกแน่วแน่ที่แยกโดยความเปราะบาง, ท่อนริฟฟ์กีตาร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากคริสต์ทศวรรษ 1970 และนักร้องที่เจ็บปวด เต็มไปด้วยปัญหา จนพวกเขานำไปสู่มิติแห่งมหากาพย์"<ref name=1997Definition/>
 
การนิยามดนตรีออลเทอร์นาทิฟมักเป็นเรื่องยากลำบากเหตุเพราะ มีการประยุกต์ใช้คำที่ขัดแย้งกัน 2 อย่าง ออลเทอร์นาทิฟสามารถอธิบายถึงดนตรีที่ท้าทายดนตรีมีเป็นอยู่ และ "นอกคอกอย่างรุนแรง, ต่อต้านการค้า และต่อต้านกระแสหลัก" แต่คำนี้ก็ยังใช้ในอุตสาหกรรมดนตรีเพื่อแสดงถึง "ทางเลือกของผู้บริโภคจากร้านแผ่นเสียง, วิทยุ, เคเบิลทีวี และอินเทอร์เน็ต"<ref>Starr, Larry; Waterman, Christopher. ''American Popular Music: From Minstrelsy to MTV''. New York: [[Oxford University Press]], 2003. p. 430. {{ISBN|0-19-510854-X}}.</ref> อย่างไรก็ดี ดนตรีออลเทอร์นาทิฟก็เหมือนจะขัดแย้งในตัวเอง เพราะได้กลายมาธุรกิจและสามารถทำเงินได้แบบเพลงร็อกกระแสนิยม โดยค่ายเพลงใช้คำว่า "ออลเทอร์นาทิฟ" เป็นดนตรีการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังในกลุ่มที่เพลงร็อกกระแสนิยมไม่สามารถเข้าถึงได้<ref>{{cite journal|last1=Dolan|first1=Emily|title='...This little ukulele tells the truth':indie pop and kitsch authenticity|journal=Popular Music|date=2010|volume=29/3|pages=457–469|doi=10.1017/s0261143010000437}}</ref> การนิยามความหมายที่กว้างขึ้นของแนวเพลงนี้ เดฟ ทอมป์สันได้พูดถึงในหนังสือของเขา ''ออลเทอร์นาทิฟร็อก'' ว่าการเกิดวง[[เซ็กซ์พิสทอลส์]] หรืออย่างการออกจำหน่ายอัลบัม ''[[Horses (album)|ฮอร์ซิส]]'' ของแพตตี สมิท และ ''[[Metal Machine Music|เมทัลแมชชีนมิวสิก]]'' ของ[[ลู รีด]] เป็น 3 ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดออลเทอร์นาทิฟร็อก<ref>[https://books.google.com/books?id=ZHP-r9-eqdAC&printsec=frontcover&dq=thompson,Dave.+Alternative+Rock.&client=firefox-a&cd=1#v=onepage&q=&f=false ''Alternative Rock'' by Dave Thompson, reprinted by Google Books]</ref> จนในช่วงที่ผ่านมา (ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000) เมื่อ[[อินดี้ร็อก]]กลายเป็นคำทั่วไปในสหรัฐที่อธิบายหมายถึง โมเดิร์นป็อป และร็อก คำว่า "อินดี้ร็อก" และ "ออลเทอร์นาทิฟร็อก"จึงสามารถใช้สลับสับเปลี่ยนกันได้<ref name=Fonarow>[https://www.theguardian.com/profile/wendy-fonarow Fonarow, Wendy] (July 28, 2011). [https://www.theguardian.com/music/musicblog/2011/jul/28/indie-professor "Ask the indie professor: why do Americans think they invented indie? For years, Americans never used the term 'indie', preferring to label the likes of Bush 'alternative'. But things changed"]. The Guardian.</ref> ขณะที่มุมมองของ 2 แนวเพลงนี้ที่เหมือนกันคือ อินดี้ร็อกเป็นคำที่ใช้จากวงอังกฤษ แต่ออลเทอร์นาทิฟร็อกมักใช้กับวงอเมริกันมากกว่า<ref>Carew, Anthony. [http://altmusic.about.com/od/historyofaltindiemusic/a/alternavsindie.htm "Alternative Music 101 - Is There a Difference Between 'Alternative' and 'Indie'?"]. [[About.com]]. Retrieved July 20, 2012.</ref>
 
==คุณลักษณะ==