ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พฤษภาทมิฬ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oohlanla (คุย | ส่วนร่วม)
Oohlanla (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและปรับภาษาในบทความ
บรรทัด 61:
เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์[[รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534]] หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมี[[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ]] เป็น [[นายกรัฐมนตรี]] โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอำนาจ คณะ รสช. ได้เลือก [[อานันท์ ปันยารชุน|นายอานันท์ ปันยารชุน]] เป็นนายกรัฐมนตรี มีการแต่งตั้ง[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]ขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน โดย [[มีชัย ฤชุพันธุ์]] เป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อร่าง[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับใหม่ขึ้นแทน[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534]] ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534
 
หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ก็ได้มีการจัด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535|การเลือกตั้งทั่วไป]]เมื่อวันที่ [[22 มีนาคม]] พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จำนวนผู้แทนมากที่สุดคือ [[พรรคสามัคคีธรรม]] (79 คน) ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการรวมตัวกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ คือ [[พรรคชาติไทย]] [[พรรคกิจสังคม]] และ[[พรรคราษฎร]]<ref>http://www.forensic2.go.th/fpd21/tamin/tamin.htm</ref> และมีการเตรียมเสนอ[[ณรงค์ วงศ์วรรณ|นายณรงค์ วงศ์วรรณ]] หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ[[สหรัฐอเมริกา]] นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอ[[วีซ่า]]เดินทางเข้าสหรัฐฯสหรัฐอเมริกา ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
 
ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ [[สุจินดา คราประยูร|พลเอกสุจินดา คราประยูร]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเมื่อได้รับพระราชทานแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ก็เกิดความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับ[[รัฐธรรมนูญ]]ที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ซึ่ง[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534|รัฐธรรมนูญฉบับนี้]]ก็ได้ถูกประกาศใช้
บรรทัด 77:
หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในบริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ
 
กระทั่งในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จากนั้นวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 00.30 น.<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/1.PDF</ref>รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน[[กรุงเทพมหานคร]] [[จังหวัดปทุมธานี]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] [[จังหวัดสมุทรสงคราม]] และ[[จังหวัดนนทบุรี]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/2.PDF</ref>,ประกาศ ห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมกัน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/4.PDF ประกาศ ห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมกัน]</ref>และประกาศให้วันที่ 18 - 20 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/2.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการ]</ref>พร้อมกับปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในจังหวัดที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 3 วัน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/8.PDF ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้สถานศึกษาปิดเรียน (วันที่ 18 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)]</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/9.PDF ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องให้สถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชนงดการเรียนการสอน และกิจกรรมนิสิต - นักศึกษา]</ref>และงดการตรวจร่างกายและเอกซเรย์ เนื่องจากวันหยุดราชการ โดยให้ตรวจระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แทน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/10.PDF ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง งดการตรวจร่างกายและเอกซเรย์]</ref> โดยให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลายการชุมนุมในเช้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน
 
เวลา 15.30 นาฬิกา ของวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารได้(ควบคุมตัวพลตรีจำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่องยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่าง ๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีก 7 คน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, นายแพทย์[[เหวง โตจิราการ]], นายแพทย์[[สันต์ หัตถีรัตน์]], นาย[[สมศักดิ์ โกศัยสุข]], นาง[[ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ]], นางสาวจิตราวดี วรฉัตร และนาย[[วีระ มุสิกพงศ์]] โดยระบุว่าบุคคลเหล่านี้ยังคงชุมนุมไม่เลิก และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุดและเริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนิน
บรรทัด 101:
=== พระราชทานพระราชดำรัส ===
{{วิกิคำคม}}
เมื่อเวลาประมาณ 21:30 นาฬิกา ของ[[วันพุธ]]ที่ [[20 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2535 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ [[ศาสตราจารย์]] [[สัญญา ธรรมศักดิ์]] ประธาน[[คณะองคมนตรีไทย|องคมนตรี]] และพลเอก[[เปรม ติณสูลานนท์]] องคมนตรีและ[[รัฐบุรุษ]]ในขณะนั้น นำ[[สุจินดา คราประยูร|พลเอกสุจินดา คราประยูร]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย|นายกรัฐมนตรี]] และพลตรี[[จำลอง ศรีเมือง]] เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย<ref>[https://www.facebook.com/Horoworldfanpage/photos/a.300900791174.153901.100346446174/10151747481136175/?type=3&theater พระราชดำรัสของในหลวง ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535] จาก[[เฟซบุ๊ก]]</ref> ซึ่ง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]] นำเทปบันทึกภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ออกอากาศทาง[[รายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย|สถานีโทรทัศน์ทั้ง 5 ช่อง]] เมื่อเวลา 24:00 นาฬิกาของคืนเดียวกัน<ref>[https://www.youtube.com/watch?v=TOkfIEdDB8A พระราชดำรัส 20 พฤษภาคม 2535 ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช King of Thailand.] จาก[[ยูทูบ]]</ref> หลังจากนั้นประมาณวันที่ 124 สัปดาห์พฤษภาคม พลเอกสุจินดาจึงกราบบังคมทูล ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้[[มีชัย ฤชุพันธุ์]] รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทนเป็นการชั่วคราว
 
== ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535 ==
บรรทัด 113:
* [[7 เมษายน]] - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนทื่ 19 ของประเทศไทย
* [[8 เมษายน]] - ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
* [[17 เมษายน]] - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 48|คณะรัฐมนตรีชุดใหม่]]
* [[20 เมษายน]] - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]]มีผู้ร่วมชุมนุมเกือบ 100,000 คน
* [[4 พฤษภาคม]] -พลตรีจำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
* [[7 พฤษภาคม]] -พลเอกสุจินดา แถลงนโยบายต่อ[[รัฐสภา]] แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกะทันหันให้มาประชุมใหม่ในวันรุ่งขึ้น
บรรทัด 124:
* 18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มนำทหารจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/2.PDF ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]</ref>พร้อมกับแถลงการณ์ของ[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 48|รัฐบาล]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/1.PDF แถลงการณ์ของรัฐบาล]</ref>,[[กองทัพบกไทย|กองทัพบก]]และกองกำลังรักษาพระนคร<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/7.PDF แถลงการณ์กองทัพบกและกองกำลังรักษาพระนคร เรื่องให้ประชาชนเลิกการชุมนุมมั่วสุมกัน ฉบับที่ 1]</ref>ให้เลิกการชุมนุม และออกประกาศอีกหลายฉบับ เช่น ประกาศ ห้ามเสนอข้อความหรือเผยแพร่รวมไปถึงพิมพ์เอกสารที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/5.PDF ประกาศห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการโฆษณาหรือพิมพ์เอกสารอันกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร]</ref>เวลาบ่ายพลตรีจำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
* [[19 พฤษภาคม]] - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่[[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
* [[20 พฤษภาคม]] - พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ประกาศห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน เวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันที่ [[21 พฤษภาคม]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/061/1.PDF ประกาศห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด] </ref>
* [[20 พฤษภาคม]] - [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]มีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือพลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือพลเอก[[เปรม ติณสูลานนท์]] และ[[สัญญา ธรรมศักดิ์]] ประธานองคมนตรี ในขณะนั้น
* [[20 พฤษภาคม]] - กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้สถานศึกษาปิดเรียนเพิ่มเติมในจังหวัดที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปจนถึงวันที่ [[22 พฤษภาคม]] <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/061/3.PDF ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้สถานศึกษาปิดเรียน (วันที่ 21 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)]</ref>
* [[21 พฤษภาคม]] - เวลา 12.00 น. พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ประกาศยกเลิกการห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน เนื่องจากสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/062/1.PDF ประกาศ ยกเลิกการห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน]</ref>
* [[23 พฤษภาคม]] - [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/063/1.PDF พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535]</ref>
บรรทัด 132:
* [[26 พฤษภาคม]] - ได้มีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี โดยยกเลิกตั้งแต่เวลา 12.00 น.ของวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/064/2.PDF ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน]</ref>
* [[10 มิถุนายน]] - แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อพลอากาศเอก[[สมบุญ ระหงษ์]] หัวหน้า[[พรรคชาติไทย]] เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นาย[[อาทิตย์ อุไรรัตน์]] รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อบริหารประเทศชั่วคราว ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งใหม่
* 30 มิถุนายน - [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกา[[การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย|ยุบสภาผู้แทนราษฎร]] โดยกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
* [[13 กันยายน]] - มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535|การเลือกตั้ง]]ใหญ่ทั่วทั้งประเทศ [[พรรคประชาธิปัตย์]]ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งนาย[[ชวน หลีกภัย]] ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
 
== เหตุการณ์สืบเนื่อง ==