ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Hamish (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 24:
 
'''มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ''' ({{lang-en|Srinakharinwirot University}}; [[อักษรย่อ]]: มศว – SWU) ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง" ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2492 และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "วิทยาลัยวิชาการศึกษา" เมื่อ พ.ศ. 2497 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" เมื่อ พ.ศ. 2517
 
== ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ==
{{บทความหลัก|ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ}}
[[ไฟล์:Swuold.jpg|200px|thumb|อาคารสมัยเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร]]
 
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แรกเริ่มได้จัดตั้งเป็น'''โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง''' สังกัด[[กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)|กระทรวงศึกษาธิการ]] ซึ่งเป็นการผลักดันของ [[หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล|ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล]] ปลัด[[กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)|กระทรวงศึกษาธิการ]]ในขณะนั้น โดยจัดตั้งเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2492 เพื่อผลิตวิชาชีพครู ซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดแคลนเป็นจำนวนมากในขณะนั้น นับว่าเป็นการเริ่มต้นการศึกษาในระดับวุฒิประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา และประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา มีผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรกคือ [[หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร)]]
 
ในกาลต่อมา พ.ศ. 2496 [[สาโรช บัวศรี|ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี]] ผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงในขณะนั้น ได้เสนอต่อ[[กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)|กระทรวงศึกษาธิการ]]ให้ก่อตั้ง '''วิทยาลัยวิชาการศึกษา''' <ref name="ratchakitcha-SWU-2497">{{cite act
| title =
| trans_title =
| type =
| number = เล่ม ๗๑ ตอนพิเศษ ๖๑
| language =
| date =28 กันยายน พ.ศ. 2497
| article = พระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497
| articletype = ราชกิจจานุเบกษา
| page = หน้า ๑๓๒๙
| url =http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/A/061/1329.PDF
| accessdate =29 กุมภาพันธ์ 2559
| ref = }}</ref> ในยุคสมัยนั้นวิชาชีพครูสูงสุดแค่วุฒิ ป.ม. (ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม) ซึ่งรับนักเรียกจากระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาศึกษาต่อเทียบเท่ากับอนุปริญญาเท่านั้น ทำให้ปัญญาชนในสมัยนั้นหันไปเรียนวิชาชีพอื่นที่ได้รับใบปริญญา [[สาโรช บัวศรี|ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี]] เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เข้าชี้แจงให้คณะรัฐบาลเข้าใจถึงเหตุและผลที่จะดำเนินการและสิ่งที่เกิดขึ้น หากให้สามารถเปิดสอนครูถึงระดับปริญญาและสามารถชี้แจงจนเข้าใจร่วมกันได้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมจึงได้มีมติยอมรับ และผ่านพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาออกมา แต่กว่าที่จะได้มีการยอมรับนั้นค่อนข้างพบอุปสรรคพอสมควร
 
{{คำพูด|...ตอนนั้นในหมู่ประชาชนความคิดที่ว่าจะให้ครูเรียนถึงปริญญายังไม่มี ดังนั้นการเสนอให้ครูมีการศึกษาถึงระดับปริญญาตรีเป็นของที่แปลกมาก อีกประการหนึ่งนั้นจะให้สถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยประสาทปริญญานี้ยิ่งไม่เข้าใจใหญ่ ฉะนั้นพอกฎหมายไปถึงพรรคเสรีมนังคศิลาแล้ว ผมก็ต้องไปชี้แจงหนักหน่วงมาก เพราะท่านผู้แทนสมัยโน้นเขาไม่เข้าใจเลย เป็นวิทยาลัยอะไรให้ปริญญา? เป็นครู, เป็นศึกษาธิการอำเภอจะเอาปริญญาเชียวหรือ? ผมก็ต้องชี้แจงมากมาย...
...แต่พอมาถึงประเด็นที่ว่า วิทยาลัยจะประสาทปริญญาได้นี่ไม่เคยเห็นมีแต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น เป็นแค่วิทยาลัยจะมาประสาทปริญญาไม่เห็นด้วย เป็นไปไม่ได้ ผมก็ออกไปชี้แจงอีก ...แต่เขาก็ไม่ฟังเสียง เป็นวิทยาลัยจะมาประสาทปริญญาได้อย่างไร ตอนนั้นผมก็หนักใจมาก แต่ก็กัดฟันชี้แจงต่อไปอีก แล้วก็เป็นการบังเอิญมีรัฐมนตรีท่านหนึ่งซึ่งอยู่ในที่ประชุมและผมทราบลูกของท่านเรียนอยู่ที่วิทยาลัยแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนียกำลังทำปริญญาเอกด้วย ทำไมทำได้ล่ะ เขาจึงค่อยเงียบเสียงลง...
|[[สาโรช บัวศรี|ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี]] พ.ศ. 2531}}
 
เพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านการศึกษาให้เป็นวิชาชีพที่มีระบบแบบแผนมากขึ้น พร้อมทั้งได้เปิดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต โดยมี [[หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล|ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล]] ดำรงตำแหน่งอธิการ และ[[สาโรช บัวศรี|ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี]] ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาการศึกษา หลังจากนั้น จึงได้ดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ในระยะนี้ได้มีการตั้งโรงเรียนสาธิต (Demonstration School) เพื่อให้เป็นแปลงทดลองค้นคว้าในระบบการศึกษาพื้นฐานสมัยใหม่ พร้อมกับมีการขยายวิทยาลัยวิชาการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคต่าง ๆ โดยขยายวิทยาเขตปทุมวัน วิทยาเขตบางแสน วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตมหาสารคาม วิทยาเขตสงขลา วิทยาเขตพระนคร และวิทยาเขตพลศึกษา โดยมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหาร
 
ในปี พ.ศ. 2516 ก่อนหน้า [[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] ในช่วงเวลาที่[[สุดใจ เหล่าสุนทร|ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร]] ดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา คณาจารย์ นิสิต และข้าราชการ ได้ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ปรับฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นกับทบวงมหาวิทยาลัย ท่ามกลางการปกครองที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐบาลทหารในขณะนั้น เพื่อความคล่องตัวในการพัฒนาโครงสร้าง การบริหาร และการเรียนการสอนที่จำกัด ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยและการขยายตัวที่มีความหลากหลายวิชาชีพ ท้ายที่สุด '''มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ''' "มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร" ได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 <ref name="ratchakitcha-SWU-2517">{{cite act
| title =
| trans_title =
| type =
| number = เล่ม ๙๑ ตอนพิเศษ ๑๑๒
| language =
| date =28 มิถุนายน 2517
| article = พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗
| articletype = ราชกิจจานุเบกษา
| page = หน้า ๑
| url = http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/A/112/1.PDF
| accessdate =26 มิถุนายน 2561
| ref = }}</ref> โดยมี[[สุดใจ เหล่าสุนทร|ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร]] เป็นอธิการบดี โดยนามของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานนามจาก[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 โดยพระราชทานเพียงชื่อเต็มและความหมายของชื่อดังกล่าว
 
มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารจัดการในรูปวิทยาเขตมาจนถึง พ.ศ. 2533 รวมเวลา 16 ปี วิทยาเขตภูมิภาค ทั้ง 5 แห่ง เริ่มแยกออกไปเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ โดยมีการบริหารจัดการและงบประมาณเป็นของตนเอง ขณะที่มหาวิทยาลัยแม่ก็ขยายตัวไปที่ [[อำเภอองครักษ์]] [[จังหวัดนครนายก]] ในปี พ.ศ. 2539 จากอดีตที่มีคณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพลศึกษา และบัณฑิตวิทยาลัย ภายหลังมีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ตามลำดับ จวบจนปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกอบไปด้วยคณะวิชาทั้งสิ้น 15 คณะ วิทยาลัย 3 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย มีหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยประเภทศูนย์/สำนัก/สถาบัน ทั้งหมด 14 หน่วยงาน
 
เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/033/10.PDF พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๕๙], ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๓ ก หน้า ๑๐ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๙</ref> ส่งผลให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงาน เป็น[[สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ]] เมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นวันประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] หรือตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
 
== ลำดับเหตุการณ์ของมหาวิทยาลัย ==