ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Famefill/ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51:
'''ราชวงศ์ฉิน''' ({{zh|c=秦朝|w=Chʻin²-chʻao²|p=Qíncháo}}) หรือ '''ราชวงศ์จิ๋น''' เป็น[[ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน|ราชวงศ์แรก]]ของ[[ประวัติศาสตร์จีน#สมัยราชวงศ์และจักรวรรดิ|จักรวรรดิจีน]]<ref> "...The collapse of the Western Zhou state in 771 BC and the lack of a true central authority thereafter opened ways to fierce inter-state warfare that continued over the next five hundred years until the Qin unification of China in 221 BC, thus giving China her first empire." Early China A Social and Cultural History, Cambridge University Press, 2013, page 6.</ref> ปกครองแผ่นดินในช่วง 221 – 206 ก่อน ค.ศ. ชื่อมากจาก[[รัฐฉิน]] (ปัจจุบันคือ[[มณฑลกานซู่]]และ[[มณฑลส่านซี]]ของจีน) ราชวงศ์ฉินก่อตั้งโดย[[จิ๋นซีฮ่องเต้|จักรพรรดิฉินฉื่อ]] (จิ๋นซีฮ่องเต้) จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์ จากการปฏิรูปกฎหมายของ[[ชาง ยาง]] ช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. ใน[[ยุครณรัฐ]] ส่งผลให้รัฐฉินแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงกลางและปลายศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. รัฐฉินได้ดำเนินการพิชิตอย่างรวดเร็ว อันดับแรกได้ยุติอำนาจของ[[ราชวงศ์โจว]] และพิชิต 6 รัฐใน[[เจ็ดรณรัฐ]] ช่วงระยะเวลา 15 ปีถือเป็นเวลาที่สั้นมากสำหรับราชวงศ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์จีนมีจักรพรรดิเพียง 2 พระองค์ แต่ได้สร้างระบบจักรวรรดิของจีนที่เริ่มตั้งแต่ 221 ก่อน ค.ศ. จนถึงการสิ้นสุดลงในเหตุการณ์[[การปฏิวัติซินไฮ่]] ในปี ค.ศ. 1912
 
ราชวงศ์ฉินพยายามสร้างรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยการรวมศูนย์อำนาจการเมืองและกองทัพขนาดใหญ่สนับสนุนโดยเศรษฐกิจที่มั่นคง<ref>Tanner 2010, p. 85-89</ref> ราชสำนักได้ปลดชนชั้นสูงและเจ้าของที่ดินเพื่อควบคุมการบริหารชาวบ้านได้โดยตรงผู้ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่และเป็นกำลังแรงงาน โครงการที่มีความทะเยอทะยานนี้เกี่ยวข้องกับชาวบ้านและนักโทษสามแสนคน เช่นการเชื่อมต่อกำแพงชายแดนทางด้านเหนือในตอนท้ายได้กลายเป็น[[กำแพงเมืองจีน]] การสร้างระบบถนนใหม่ ตลอดไปจนการสร้าง[[สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้]] ที่รายล้อมไปด้วย[[กองทัพดินเผา]]ขนาดเท่าคนจริง<ref>{{Cite book|title=Ancient World History-Patterns of Interaction|last=Beck|first=B, Black L, Krager, S|display-authors=etal|publisher=Mc Dougal Little|year=2003|isbn=978-0-618-18393-7|location=Evanston, IL|pages=187|quote=|via=}}</ref>
 
ราชวงศ์ฉินได้นำสู่การปฎิรูป เช่น มาตราฐานของเงินตรา การชั่งตวง วัดขนาด และระบบมาตราฐานการเขียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการรวมชาติและส่งเสริมการค้า นอกจากนี้ด้านการทหารได้ใช้อาวุธ การขนส่ง และยุทธวิธีที่ทันสมัยที่สุดแม้ว่าราชสำนักมีระบบที่เข้มงวด [[ชาวฮั่น]]ที่นับถือ[[ลัทธิขงจื๊อ]]กล่าวถึงการยึดถือกฎระเบียบของราชวงศ์ฉินไว้ว่าเป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จโดยอ้างเหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักกันคือการ[[เผาตำรา ฝังบัณฑิต]] แม้ว่าทว่านักวิชาการสมัยใหม่บางคนจะโต้แย้งความจริงของเรื่องราวนี้
 
ขณะที่จิ๋นซีฮ่องเต้สิ้นพระชนม์ไปเมื่อ 210 ปีก่อน ค.ศ. ขุนนางสองคนของพระองค์ได้กำหนดรัชทายาทใหม่ในความพยายามที่จะมีอิทธิพลและควบคุมการปกครองของราชวงศ์ ต่อมาขุนนางทั้งสองกลับผิดใจกันจนทำให้จักรพรรดิฉินที่ 2 สวรรคต การก่อจลาจลได้เกิดไปทั่วและจักรวรรดิอ่อนแอลงในไม่ช้าก็พ่ายต่อ[[ฌ้อปาอ๋อง|เซี่ยง อวี่]] ขุนพลรัฐฉู่ซึ่งสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่แห่งฉู่ตะวันตก (ฌ้อปาอ๋อง) และ[[จักรพรรดิฮั่นเกาจู่|หลิว ปัง]] ผู้สถาปนา[[ราชวงศ์ฮั่น]]ในภายหลัง แม้จะมีการปกครองในระยะสั้น แต่ราชวงศ์มีอิทธิพลอย่างมากต่อนาคตของจีนโดยเฉพาะราชวงศ์ฮั่นและชื่อของจักรวรรดิเป็นจุดกำเนิดชื่อในยุโรปว่า China