ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะโดธรรมราชาที่ 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{Infobox royalty
| type = กษัตริย์
| name = พระเจ้าตะโดธรรมราชา<br/> {{my|သတိုးဓမ္မရာဇာ}} <br> <small>นันทยอทา</small>
| image =
| caption =
| reign = 2030 สิงหาคม พ.ศ. 2094 - พฤศจิกายน/ธันวาคม พ.ศ. 2131
| coronation =
| succession = พระเจ้าแปร (ประเทศราช)
| predecessor = พระเจ้า[[ตะโดธรรมราชาที่ 1]]
| successor = พระเจ้า[[ตะโดธรรมราชาที่ 3]]
บรรทัด 12:
| reg-type =
| regent =
| spouse = พระนาง[[สาลินมิบะยา]]
| issue = พระนาง[[เซงพยูเชงเมดอ]]<br>พระนาง[[มินตะยาเมดอ]]<br>นันทยอทา(เชงเศง) เจ้าเมืองสะกาย<br>เมงชเวเมี๊ยต เจ้าเมืองแตงดา<br>เมงเยอุศนะ เจ้าเมืองซะลี่น<br>เจ้าหญิงแห่งเมืองสากู<br>เจ้าเมืองมล่วน<br>ชินเนเมียว<br>ชินเนตุน<br>ปเยงสาสีหะ เจ้าเมืองเมาะลำเลิง
| issue = [[พระนางเมงตยาเหม่ด่อ]]
| issue-link =
| full name =
บรรทัด 19:
| father = [[เมงเยสีหตู]]
| mother = [[พระนางเมียวเมียะ]]
| birth_date = คริสต์ทศวรรษพ.ศ. 14902033
| birth_place = [[ตองอู]]
| death_date = พฤศจิกายน/ธันวาคม พ.ศ. 2131 เดือน[[นะดอ]] 950 [[ปฏิทินพม่า|ME]]
| death_place = [[แปร]]
| religion = [[เถรวาท|พุทธศานานิกายเถรวาท]]
บรรทัด 27:
}}
{{มีอักษรพม่า}}
'''พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2''' ({{lang-my|သတိုးဓမ္မရာဇာ}}, {{IPA-my|ðədó dəma̰ jàzà|pron}}; {{lang-roman|Thado Dhamma Yaza II of Prome}}, ประมาณ 1520s203315882131) มีพระนามเดิมว่า '''นันทยอทา''' เริ่มรับราชการทหารในรัชสมัย[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]แห่ง[[ราชวงศ์ตองอู]] กระทั่งได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าแปร ในฐานะกษัตริย์เมืองออกของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]]ผู้เป็นพระเชษฐา<ref>''พระราชพงศาวดารพม่า'', หน้า 140</ref>และ[[พระเจ้านันทบุเรง]]พระนัดดาระหว่าง .ศ. 15512091 ถึง 15882131 ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองได้สำเร็จโทษพระเจ้า[[ตะโดธรรมราชาที่ 1]] พระเจ้าแปรพระองค์ก่อนเรียบร้อยแล้ว
 
==ต้นพระชนม์==
พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 เป็นพระโอรสองค์ที่ 4 ของ[[เมงเยสีหตู]] กับพระนางเมียวเมียะ มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินี ร่วมพระมารดา 3 พระองค์ คือ [[พระนางธัมมเทวีแห่งตองอู|พระนางขิ่นโปนโซ]] [[พระเจ้าบุเรงนอง]] และ[[เมงเยสีตูแห่งเมาะตะมะ|เมงเยสีตู]] และยังมีพระอนุชาต่างพระมารดา อีก 2 พระองค์ คือ [[มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู|พระเจ้ามังฆ้อง]]และ[[พระเจ้าตะโดเมงสอแห่งอังวะ|พระเจ้าตะโดเมงสอ]] พระองค์เจริญพระชันษาอยู่ในบริเวณพระราชวังตองอูและได้รับการศึกษาการทหารที่นั่น
 
==เข้ารับราชการทหาร==
===รัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้===
เมื่อ[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2073 พระองค์ต้องการแผ่ขยายพระราชอำนาจแห่ง[[อาณาจักรตองอู]] ให้แผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศ นันทยอทา ได้เข้าร่วมใน[[สงครามตองอู-หงสาวดี (พ.ศ. 2077–2084)]] ปี พ.ศ. 2083 นันทยอทา ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองธัมยินดง ( သမြင်းတုံ ) เป็นเมืองที่อยู่บริเวณ[[พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี]] ปี พ.ศ. 2084 พระองค์เข้าร่วมนำทัพในสงครามตองอู-แปร (พ.ศ.2084-2085) ทรงเป็นผู้นำกองทัพเรือในสงครามตองอู-ยะไข่ (พ.ศ.2089-2090) และนำทัพช้างใน[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้|สงครามอยุธยา]] (พ.ศ.2091-2092) และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2093 เขาได้ร่วมกับพระเชษฐา[[พระเจ้าบุเรงนอง|บุเรงนอง]]และ[[สิริชัยกยอดิน|เมงเยสีตูแห่งเมาะตะมะ]] ปราบกบฏ[[สมิงทอ]]
 
===รัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง===
หลังจากที่[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2093 [[พระเจ้าบุเรงนอง]]ก็สถาปนาตนเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป พระองค์ร่วมกับพระเชษฐา กอบกู้อาณาจักรที่แตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่า พ.ศ.2093-2094 ขณะนั้น[[มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู|พระเจ้ามังฆ้อง]] เจ้าเมืองตองอู พระอนุชาต่างพระมารดาของพระเจ้าบุเรงนอง แข็งเมืองไม่ยอมรับพระราชอำนาจของพระเชษฐา พระองค์จึงต้องยกทัพไปปราบ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2094 พระเจ้ามังฆ้องทรงยอมแพ้ พระเจ้าบุเรงนองพระราชทานอภัยโทษให้ นันทยอทา ที่มีความดีความชอบในศึกครั้งนี้ พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ '''ตะโดธรรมราชา''' ให้แก่นันทยอทา และจึงยกทัพไปปราบ[[ตะโดธรรมราชาที่ 1|พระเจ้าตะโดตู]] เจ้าเมืองแปร พระสัสสุระของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ที่คิดแข็งเมืองอีกพระองค์ เมื่อสำเร็จโทษพระเจ้าตะโดตูแล้ว พระเจ้าบุเรงนองจึงสถาปนา นันทยอทา เป็นพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2
 
พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 เป็น 1 ใน 4 ยอดขุนพลคู่พระทัยของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งได้แก่ [[เมงเยสีตูแห่งเมาะตะมะ|พระเจ้าเมงเยสีตู]] พระเจ้าตะโดธรรมราชา [[มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู|พระเจ้ามังฆ้อง]] [[พระเจ้าตะโดเมงสอแห่งอังวะ|พระเจ้าตะโดเมงสอ]] ทรงร่วมสมรภูมิตลอดการรณรงค์สงครามตั้งแต่ พ.ศ.2095-2108 เพื่อรวบรวมอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2099 เมงเยสีตู สิ้นพระชนม์ลง ตำแหน่งขุนพลคู่พระทัยก็ตกไปเป็นของ[[พระเจ้านันทบุเรง|พระมหาอุปราชมังชัยสิงห์ (นันทบุเรง)]] พระองค์ทรงนำทัพไปร่วมในทุกสมรภูมิ ยกเว้นสงครามเมือง[[มณีปุระ]] พ.ศ. 2103 และสงคราม[[ราชอาณาจักรล้านช้าง|ล้านช้าง]] พ.ศ. 2108 พระเจ้าบุเรงนองได้สร้างอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากพักราชการงานศึก ในปีพ.ศ. 2111 ล้านช้างและอยุธยาก็กระด้างกระเดื่อง พระองค์จึงต้องยกทัพไปปราบ และในปีพ.ศ. 2113 พระเจ้าตะโดธรรมราชา กับขุนพลคู่พระทัยอีก 3 พระองค์ ก็ยกขึ้นไปปราบรัฐฉาน
 
{{ahnentafel top|การศึกของพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 (ค.ศ. 1551–80)|width=100%; clear:none}}
{| class="wikitable" border="1"
|-
!width=10%| สถานที่
!width=5%| เวลา
!width=10%| ไพร่พล
!width=30%| หมายเหตุ
|-
| [[ตองอู]]
| พ.ศ.2093-2094
| 1,000
| ทรงบัญชาการทหารในกองทัพพระเจ้าบุเรงนอง ปราบปรามพระเจ้ามังฆ้อง
|-
| [[แปร]]
| พ.ศ.2094
| -
| นำทัพไปทางแม่น้ำอิรวดี เพื่อปราบปรามพระเจ้าตะโดตู
|-
| [[หงสาวดี]]
| พ.ศ.2095
| -
| เสด็จนำทัพลงไปยึดพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และนำทัพเรือลงไป โดยมีพระเจ้ามังฆ้องเป็นผู้บัญชาการทัพ ลงไปช่วยหงสาวดี
|-
| [[อังวะ]]
| พ.ศ.2097-2098
| 11,000 (ทัพเรือ)
| นำทัพเรือไปตาม[[แม่น้ำอิรวดี]] สมทบกับพระเจ้าบุเรงนอง ยกไปปราบพระเจ้าสิทธูกยอดิน ทรงตีได้เมืองสะกาย แต่เมื่อยกต่อไปตามแม่น้ำอิรวดี ก็ถูกสะกัดโดยทัพอังวะที่เมืองสิงกู ทัพของพระองค์แตกพ่ายและพักทัพอยู่ ณ ที่นั่น
|-
| [[รัฐชาน|รัฐฉาน]]
| พ.ศ.2100
| 8,000 (ทัพบก) 18,000 (ทัพเรือ)
| ยกทัพไปสมทบกับพระเจ้าบุเรงนอง ไปจนถึงอังวะ ทรงพักทัพ ณ ที่นั่น และยกตามไปโดยทรงบัญชาการทัพที่ยกไปตีรัฐฉาน
|-
| โมเน
| พ.ศ.2100
| 8,000
| ทรงเป็นทัพหน้า ยกไปตีเมืองโมบเย ([[รัฐกะยา]]ตอนเหนือ) และเมืองอื่นๆ จนกระทั่งถึงเมืองโมเน ทัพของพระองค์ยึดเมืองโมเนได้โดยปราศจากการสู้รบ
|-
| [[อาณาจักรล้านนา|ล้านนา]]
| พ.ศ.2101
| 10 กองพล (12,000) 2 กองพลม้า (6,000)
| ทรงนำทัพไปสมทบกับพระเจ้าบเรงนอง ไปรบกับ[[พระเมกุฏิสุทธิวงศ์]] เจ้าเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเป็นทัพหน้า พระเจ้าตะโดเมงสอเป็นปีกซ้าย พระมหาอุปราชนันทบุเรงเป็นปีกขวา ตามด้วยทัพหลวงและกองพลรักษาพระองค์ของพระเจ้าบุเรงนอง และทัพเกียกกายของพระเจ้ามังฆ้อง พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ เกรงกลัวต่อแสนยานุภาพของพระเจ้าบุเรงนอง จึงได้ส่งช้าง 4 เชือก ผ้าแพรจีนอย่างดี และเครื่องราชบรรณาการเป็นอันมาก มาขอสวามิภักดิ์
|-
| [[มณฑลยูนนาน|รัฐจีนไทใหญ่]]
| พ.ศ.2106
| 12,000
| เป็น 1 ใน 4 กองทัพขุนพลคู่พระทัย ยกไปตีรัฐจีนไทใหญ่ กองทัพของพระองค์ยกมาทางเมืองธีบอ
|-
| [[อาณาจักรอยุธยา|อยุธยา]]
| พ.ศ.2106-2107
| 14,000
| [[สงครามช้างเผือก]] พระเจ้าบุเรงนองทรงกรีฑาทัพยกมาทางด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก ทรงบัญชาให้พระองค์กับพระเจ้าตะโดเมงสอ ยกเข้าตีเมืองพิษณุโลก หลังจากนั้นก็ทรงนำทัพเรือ ยกลงมาตาม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] แต่ถูกสกัดโดยกองทัพเรืออยุธยา และเรือกำปั่นโปรตุเกส 3 ลำ
|-
| [[อาณาจักรล้านนา|ล้านนา]]
| พ.ศ.2107
| 12,000
| เป็น 1 ใน 4 กองทัพขุนพลคู่พระทัย ยกทัพจากอยุธยาขึ้นไปเชียงใหม่ หลังจากยึดเชียงใหม่ได้แล้ว ได้ตั้งพระยาเสนนี เป็นเจ้าเมืองเชียงราย พระยาเกงตุง เป็นเจ้าเมืองเชียงแสน เพื่อให้คอยดูแลรักษาความจงรักภักดีของล้านนา
|-
| [[อาณาจักรอยุธยา|อยุธยา]]
| พ.ศ.2111-2112
| 11,000
| เป็น 1 ใน 7 กองทัพที่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ พระเจ้าบุเรงนอง พระมหาอุปราชนันทบุเรง พระเจ้าแปรตะโดธรรมราชา พระเจ้าตองอูมังฆ้อง พระเจ้าอังวะตะโดเมงสอ พระมหาธรรมราชา เจ้าเมืองพิษณุโลก พระแสนหลวงพิงชัย แม่ทัพเชียงใหม่ พญาแก้วรัตนภูมินทร์ เจ้าเมืองเชียงตุง
|-
| [[ราชอาณาจักรล้านช้าง|ล้านช้าง]]
| พ.ศ.2112-2113
| 11,000
| เป็น 1 ใน 3 ทัพที่ยกไปตีล้านช้าง มีแม่ทัพ 11 นาย ทรงยกทัพมาทางเหนือ จากเมืองลำปาง แต่ทัพพระองค์เดินทัพล่าช้าไปถึง 3 เดือน เพราะขัดสนเสบียงและต้องเจอกับความทุรกันดารของป่าล้านช้าง
|-
| โมเยง และ โมกอง
| พ.ศ.2114
| 12,000
| ทรงนำทัพเรือยกขึ้นไปตีโมเยงและโมกอง พระองค์ทรงตามไล่ล่าเจ้าเสือฟ้าในป่า แต่ไม่สามารถกุมตัวมาได้
|-
| [[ราชอาณาจักรล้านช้าง|ล้านช้าง]]
| พ.ศ.2117
| 11,000
| เป็น 1 ใน 4 กองทัพขุนพลคู่พระทัย ยกไปตีล้านช้าง แต่ไม่มีการสู้รบ
|-
| โมเยง และ โมกอง
| พ.ศ.2118-2119
| 7,000
| ทรงนำทัพไปสมทบ แต่ไม่มีการสู้รบ
|-
|}
{{ahnentafel bottom}}
 
นอกจากนี้ พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 ทรงเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์เป็นอย่างยิ่ง ทรงแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าบุเรงนอง ผู้เป็นพระเชษฐา โดยทรงก่อสร้างประตูแปร ประจำเมืองหงสาวดี (ประตูเมืองหงสาวดี มีทั้งหมด 20 ประตู แต่ละประตู ตั้งตามชื่อเมืองประเทศราชของหงสาวดี) พระองค์ได้รับพระเกียติยศจากพระเชษฐาในฐานะที่ทรงจงรักภักดี พร้อมด้วยพระเจ้ามังฆ้องและพรเจ้าตะโดเมงสอ ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2123
 
===รัชสมัยพระเจ้านันทบุเรง===
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2124 พระเจ้าบุเรงนอง สวรรคต [[พระเจ้านันทบุเรง]] เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าหงสาวดี แต่ถึงกระนั้น เมืองประเทศราชที่เคยขึ้นต่อพระเจ้าบุเรงนอง ต่างคิดกระด้างกระด่าง ในเดือนสิงหาคม/กันยายน พ.ศ. 2125 ขณะนั้นเมืองจัณฑาและเมืองธองทุต ที่อยู่ในรัฐจีนไทใหญ่ แข็งเมืองไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย พระเจ้านันทบุเรง โปรดให้พระเจ้าตะโดธรรมราชา กับพระเจ้าเชียงใหม่[[นรธาเมงสอ]] นำทัพ 8,000 ไปปราบกบฏ (พระเจ้านันทบุเรงไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าตะโดเมงสอ เพราะทรงไม่ไว้วางพระทัย เพราะเมืองอังวะแอบสนับสนุนให้พวกไทใหญ่ก่อกบฏ) ทัพทั้งสองต้องล้อมเมืองจัณฑาอยู่นานเกือบ 5 เดือน เพราะพวกไทใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากจีนต้าหมิงและอังวะ แต่เมื่อพวกไทใหญ่ขาดเสบียง จึงต้องยอมแพ้ กองทัพทั้งหมดยกกลับมาถึงหงสาวดีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2126
 
ในต้นปี พ.ศ. 2126 [[พระนางนัตชินเมดอ]] ได้ส่งผอบใส่ผ้าคลุมไหล่เปื้อนพระโลหิตพร้อมด้วยสาส์น มาแจ้งพระเจ้าตะโดเมงสอ ผู้เป็นพระราชบิดา ในสาส์นมีใจความว่า พระนางถูกพระมหาอุปราชา[[มังกะยอชวา]] ผู้เป็นพระราชสวามี ตบตีทำร้ายพระนาง เมื่อพระนางทรงแสดงอาการหึงหวงที่พระมหาอุปราชา ไปหลงใหลใน[[พระนางราชธาตุกัลยา]] พระชายาใหม่ และทรงผลักพระนางชนกับเสา พระเจ้าตะโดเมงสอ ทรงพิโรธเป็นอย่างมาก และนี่ก็ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ของพระเจ้าตะโดเมงสอ กับพระเจ้านันทบุเรงเสื่อมถอยลง และนี่ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พระเจ้าตะโดเมงสอจะหาความชอบธรรมในการกบฏ ในเดือนมิถุนายน/กรกฏาคม พ.ศ. 2126 [[พระเจ้าตะโดเมงสอแห่งอังวะ|พระเจ้าตะโดเมงสอ]] ลักลอบส่งทูตไปยังเมือง[[แปร]] เมือง[[ตองอู]] และเมือง[[จังหวัดเชียงใหม่|เชียงใหม่]] เกลี้ยกล่อมให้พระเจ้าตะโดธรรมราชา พระเจ้ามังฆ้อง และพระเจ้านรธาเมงสอ ให้ร่วมกับพระองค์ แข็งเมืองต่อพระเจ้านันทบุเรง แต่เจ้าผู้ครองนครทั้ง 3 พากันเข้าข้างพระเจ้านันทบุเรง พระเจ้านันทบุเรงทรงทราบความทั้งสิ้นทั้งปวง จึงแต่งทัพยกไปตีเมืองอังวะ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2127 พร้อมด้วยเจ้าผู้ครองนครทั้ง 3 ศึกอังวะ เป็นศึกสุดท้ายของพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 หลังจากนั้นพระองค์ ก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการนำทัพออกศึกสงครามรบกับอยุธยาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2127
 
พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 สวรรคตในเดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม พ.ศ. 2131 พระเจ้านันทบุเรง ทรงแต่งตั้งเมงจีหน่อง เป็นพระเจ้าแปร คือ พระเจ้า[[ตะโดธรรมราชาที่ 3]]
 
==พระบรมวงศานุวงศ์==
พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 มีพระอัครมเหสี คือ พระนาง[[สาลินมิบะยา]] พระธิดาของ[[พระเจ้าบาเยงทเว]] เจ้าเมืองแปร ทรงอภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2088 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] ทรงมีพระธิดาด้วยกัน 2 พระองค์ คือ พระนาง[[เซงพยูเชงเมดอ]] พระมเหสีของพระเจ้าเชียงใหม่[[นรธาเมงสอ]] และพระนาง[[มินตะยาเมดอ]] พระมเหสีของ[[พระเจ้านันทบุเรง]]
 
นอกจากนี้ยังมีพระโอรสและพระธิดาที่เกิดแต่นางสนมอีก 7 พระองค์ ได้แก่
*นันทยอทา(เชงเศง) ทรงอภิเษกกับพระนางเมี๊ยตเมียวโปนไว พระธิดาของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] หลังจากนั้น พระองค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสะกาย พระนามว่า เมงเยเสงฆตู และถูก[[มี่นยาซาจี้|พระเจ้าเมงราชาคยี]] เจ้าเมือง[[อาณาจักรมเยาะอู้|ยะไข่]] จับไปเป็นเชลยที่ยะไข่ ในปี พ.ศ. 2143
*เมงชเวเมี๊ยต เจ้าเมืองแตงดา
*เมงเยอุศนะ เจ้าเมืองซะลี่น
*เจ้าหญิงแห่งเมืองสากู
*เจ้าเมืองมล่วน ผู้เป็นควาญช้างให้พระมหาอุปราชา[[มังกะยอชวา]] ในสงครามยุทธหัตถี และเคยนำทัพไปรบกันเมืองทวายและตะนาวศรี แต่ก็พ่ายศึกกลับมา หลังจากนั้น พระองค์ถูก[[มี่นยาซาจี้|พระเจ้าเมงราชาคยี]] เจ้าเมือง[[อาณาจักรมเยาะอู้|ยะไข่]] จับไปเป็นเชลยที่ยะไข่ ในปี พ.ศ. 2143
*ชินเนเมียว เสนาบดีของพระเจ้า[[ตะโดธรรมราชาที่ 3]] ถูกสังหารโดย[[ยานแนง]] ในปี พ.ศ. 2140
*ชินเนตุน เสนาบดีของพระเจ้า[[ตะโดธรรมราชาที่ 3]] ถูกสังหารโดย[[ยานแนง]] ในปี พ.ศ. 2140
*ปเยงสาสีหะ เจ้าเมืองเมาะลำเลิง
 
นับตั้งแต่ ค.ศ. 1550 ถึง 1576 พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 ได้ตามเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปในราชการสงครามเพื่อรวบรวม ขยาย และปกป้องดินแดนของ[[อาณาจักรตองอู]] กระทั่งพระองค์สวรรคตในรัชสมัยพระเจ้านันทบุเรงเมื่อ ค.ศ. 1588
 
==อ้างอิง==