ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{ความหมายอื่น|||เจ้าพระยานครราชสีมา}}
{{Infobox person
เส้น 78 ⟶ 77:
| box_width =
}}
'''เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)'''<ref>กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)</ref><ref>[http://koratdaily.com/blog.php?id=6834 ต้นสกุล ณ ราชสีมา ย้อนเรื่อง เมืองโคราช]</ref> หรือ '''ทองอินท์, ทองอิน''' เจ้าเมืองนครราชสีมาสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บุตรบุญธรรมใน[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)]] เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายใน[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] และเป็นแม่ทัพคนสำคัญของไทยในสงครามปราบกบฏเวียงจันทน์ และสงครามอานามสยามยุทธ
 
== ประวัติ ==
'''เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์)''' เกิดในปี พ.ศ. 2323 เป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] กับ[[เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงจวน ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงจวน]] ราชธิดาของพระเจ้า[[นครศรีธรรมราช]] รับราชการฝ่ายใน ณ ราชสำนักกรุงธนบุรี เมื่อทรงครรภ์แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงพระราชทานแก่[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)]] ให้เป็นแม่เมือง หาได้ถือเป็นภรรยาไม่ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) จึงถือได้ว่าเป็นพระราชโอรสองค์หนึ่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) ในตอนปลายรัชกาลกรุงธนบุรี ปรากฏว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาขณะนั้น คือ พระยากำแหงสงคราม (บุญคง กาญจนาคม) ไปราชการช่วยเหลือ[[สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้าจุ้ย กรมขุนอินทรพิทักษ์]] ในการสงครามกัมพูชา-ญวน และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน พระยากำแหงสงคราม (บุญคง) ถูกสำเร็จโทษ ตามเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ แต่บุตรหลานสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ยังเล็กไม่ได้ถูกสำเร็จโทษด้วย
 
เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ได้สมรสกับท่านผู้หญิงทับทิม ธิดาพระยาสุริยเดช (ทัศน์ ราณยสุข) บุตรคนหนึ่งของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ต่อมาท่านผู้หญิงทับทิมได้ถึงแก่กรรม จึงได้สมรสใหม่กับ ท่านผู้หญิงบุนนาค ธิดาของ[[เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น สิงหเสนี)]] และเป็นน้องสาวของ[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]]
 
เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) มีบุตรธิดารวม 50 ท่าน ต่อมาเชื้อสายและเครือญาติ ได้มีมีบทบาทสำคัญในราชสำนักสยาม และในราชการบ้านเมือง