ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่ฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
| ผู้ร่วมรบ1 = {{flagicon|France}} [[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3|ฝรั่งเศส]]<br />{{flag|สหราชอาณาจักร}}<br>{{flag|เบลเยียม}}<br />{{flagcountry|เนเธอร์แลนด์}}<br />{{flagcountry|ลักเซมเบิร์ก}}<br>{{flagicon|POL}} [[โปแลนด์]]<br>{{flagicon|สาธารณรัฐเช็ก}} [[Czechoslovak government-in-exile|เชโกสโลวาเกีย]]
| ผู้ร่วมรบ2 = {{flagcountry|นาซีเยอรมนี}}<br />{{flagicon|ราชอาณาจักรอิตาลี}} [[ราชอาณาจักรอิตาลี|อิตาลี]] <small>(ตั้งแต่ 10 มิถุนายน)</small>
| ผู้บัญชาการ1 = {{flagicon|France}} [[มอริส กาเมแล็งอแล็ง]]<br> {{flagicon|France}} [[อาลฟงส์ โฌแซ็ฟ ฌอร์ฌ|อาลฟงส์ ฌอร์ฌ]] <br>{{flagicon|UK}} [[John Vereker, 6th Viscount Gort|ลอร์ดกอร์ท]]<br>{{flagicon|เบลเยียม}} [[สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม|พระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3]]
| ผู้บัญชาการ2 = {{flagicon|Nazi Germany|army}} [[วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ|วิลเฮ็ล์ม ฟ็อน เลพ]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[อัลแบร์ท เค็สเซิลริง]]<br>{{flagicon|Nazi Germany|army}} [[ฮูโก ชแปร์เลอ]]
| strength1 = '''สัมพันธมิตร:'''<br> 135 กองพล<br>3,300,000 ล้านนาย<br>3,383–4,071 ยานเกราะ{{sfn|Umbreit|2015|p=279}}{{sfn|Zaloga|2011|p=73}}<br>2,935 อากาศยาน
บรรทัด 31:
 
ในวันที่ 22 มิถุนายน ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามใน[[การสงบศึก 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940|ตราสารสงบศึก]]ที่ป่ากงเปียญ [[วิชีฝรั่งเศส|รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส]]ที่นำโดย[[ฟีลิป เปแต็ง|จอมพลฟีลิป เปแต็ง]] ออกประกาศล้มล้าง[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3]] ยอมให้เยอรมนีเข้ายึดครองภาคเหนือและชายฝั่งตลอดจนแผ่นดินหลังฝั่งทะเลของฝรั่งเศส อิตาลีได้ยึดครองพื้นที่ส่วนน้อยบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส รัฐบาลวิชีมีเขตอำนาจเพียงดินแดนนอกยึดครองแถบภาคใต้ซึ่งเรียกว่า "โซนเสรี" ({{lang|fr|''Zone libre''}}) แม้ฝรั่งเศสจะพ่ายแพ้ศึกครั้งนี้ แต่นายพล[[ชาลส์ เดอ โกล]] แห่งกองทัพฝรั่งเศสได้ลี้ภัยไปอยู่กรุงลอนดอน เขาได้ตั้งแนวร่วมเสรีฝรั่งเศส (France Libre) เพื่อต่อต้านนาซีเยอรมนีและรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะจนกระทั่งถูกปลดปล่อยหลัง[[การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี|ฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบก]]ในปี 1944
 
==ภูมิหลัง==
===เส้นมาฌีโน===
{{บทความหลัก|เส้นมาฌีโน}}
ระหว่างปี 1929–1938 ฝรั่งเศสได้สร้างแนวป้องกันที่ชื่อ "เส้นมาฌีโน" ({{lang|fr|''Ligne Maginot''}}) ตามแนวพรมแดนกับเยอรมนี ตลอดเส้นนี้เต็มไปด้วยป้อมปราการคอนกรีต สิ่งกีดขวาง และอาวุธ แนวป้องกันนี้ถูกสร้างเพื่อที่ฝรั่งเศสจะไม่ต้องใช้ทหารจำนวนมากในการต้านเยอรมันที่ด้านนี้ และสามารถส่งหน่วยทหารมือดีที่สุดของฝรั่งเศสไปรบกับทหารเยอรมันในเบลเยียมแทน ฝรั่งเศสเชื่อว่าสงครามจะปะทุขึ้นกับประเทศอื่นที่ไม่ใช่ฝรั่งเศส เส้นมาฌีโนช่วงที่แข็งแกร่งมีจุดเริ่มต้นบริเวณพรมแดน[[สวิตเซอร์แลนด์]] และลากยาวตามแนวชายแดนเยอรมัน ผ่านป่าทึบอาร์แดน จนไปถึงชายแดนเบลเยียม ชาวงที่ขนานไปตามแนวชายแดนเบลเยียมเป็นส่วนที่มีการป้องกันอ่อนลง การที่ฝรั่งเศสมีเส้นมาฌีโนนี้ ทำให้พลเอกสูงสุด[[ฟีลิป เปแต็ง]] ถึงกับประกาศว่า "[[จังหวัดอาร์แดน|อาร์แดน]]ไม่มีวันแตก" ในขณะที่ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพฝรั่งเศส พลเอก[[มอริส กาเมอแล็ง]] ก็เชื่อว่าพื้นที่บริเวณนั้นปลอดภัยจากการถูกโจมตีเช่นกัน ความเชื่อเช่นนี้ทำให้ฝรั่งเศสวางกำลังทหารไว้ในพื้นที่นี้เพียงสิบกองพล พวกเขาเชื่อว่าเส้นมาฌีโนแกร่งพอจะถ่วงเวลาให้ระดมพลไปที่แนวรบและโต้กลับอย่างทันสบาย
===การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนี===
{{บทความหลัก|การบุกครองโปแลนด์}}
 
ในปี 1939 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเสนอความช่วยเสนอทางทหารให้แก่โปแลนด์ในกรณีเผื่อว่าถูกรุกรานโดยเยอรมนี ในเช้าวันที่ 1 กันยายน 1939 เยอรมนีก็เปิดฉากบุกครองโปแลนด์ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์ในทันที เยอรมนีไม่ตอบสนอง<ref>[https://avalon.law.yale.edu/wwii/blbk81.asp Viscount Halifax to Sir N. Henderson (Berlin)] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20171002231120/http://avalon.law.yale.edu/wwii/blbk81.asp |date=2 October 2017 }} Cited in the British Blue book</ref><ref>{{cite web |title=Britain and France declare war on Germany |url=http://www.history.com/this-day-in-history/britain-and-france-declare-war-on-germany |publisher=The History Channel |accessdate=6 May 2014}}</ref> ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน และประเทศอื่นก็ทยอยประกาศตาม ได้แก่ ออสเตรเลีย (3 กันยายน), นิวซีแลนด์ (3 กันยายน), แอฟริกาใต้ (6 กันยายน), และแคนาดา (10 กันยายน) อย่างไรก็ตาม แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะได้ประกาศสงครามแล้ว แต่ทั้งสองประเทศกลับไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะช่วยเหลือทางทหารแก่โปแลนด์อีกแล้วในภาวะที่เป็นอยู่ การส่งทหารเข้าไปในโปแลนด์อาจดึงสหภาพโซเวียตเข้ามาร่วมสงคราม เยอรมนีและ[[สหภาพโซเวียต]]พึ่งลงนามใน[[กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ|กติกาสัญญาไม่รุกรานกัน]] และโซเวียตก็ช่วยเยอรมันบุกโปแลนด์จากด้านตะวันออก นายพลกาเมอแล็งต้องการให้กองทัพสัมพันธมิตรมีความพร้อมกว่านี้จึงยังไม่ตัดสินใจบุกเยอรมนี สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเร่งสั่งสมอาวุธยุทธภัณฑ์เพื่อเตรียมบุกเยอรมนี<ref>{{cite web | url=http://www.indiana.edu/~league/1939.htm | title =Chronology 1939 | author =Indiana University | publisher =indiana.edu| author-link =Indiana University }}</ref> และมองดูโปแลนด์ล่มสลายไปต่อหน้า
 
===สงครามลวง===
{{บทความหลัก|การรุกซาร์ลันท์|สงครามลวง}}
 
7 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสยกกำลัง 98 กองพล (มีเพียง 28 กองพลที่เป็นทหารกองหนุน) พร้อมยานเกราะ 2,500 คันออกนอกเส้นมาณีโนราว 5 กิโลเมตรเพื่อไปยัง[[ซาร์ลันท์]] เขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของเยอรมนีซึ่งถูกป้องกันโดย 43 กองพลเยอรมัน (กว่า 32 กองพลเป็นทหารกองหนุน) และไม่มียานเกราะเลย จะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสมีความเหนือกว่าในทุกมิติ กองพลฝรั่งเศสรุดหน้าไป 5 กิโลเมตรจนเกือบจะถึง[[แนวซีคฟรีท]]ของเยอรมันที่ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ในวันที่ 17 กันยายน พลเอกกาเมอแล็งเปลี่ยนใจ มีคำสั่งให้ถอนกำลังกลับมาหลังเส้นมาณีโน ยุทธศาสตร์ของพลเอกกาเมอแล็งคือรอจนกระทั่งกองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษมีความพรั่งพร้อมด้านยุทธภัณฑ์อย่างเต็มที่เสียก่อน ภายหลังจบการรุกซาร์ลันท์ก็เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า[[สงครามลวง]] (Phoney War) หรือที่เยอรมนีเรียกว่าสงครามนั่ง ({{lang|de|''Sitzkrieg''}}) [[ฮิตเลอร์]]หวังว่าสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะยอมรับการยึดครองโปแลนด์และประนีประนอมสันติภาพโดยเร็ว ฮิตเลอร์เสนอข้อตกลงสันติภาพไปยังสองมหาอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม<ref name="Shirer 1990, p.715">Shirer 1990, p. 715</ref>
 
==อ้างอิง==