ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฌ็อง-ปอล มารา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
}}
 
'''ฌ็อง-ปอล มารา''' ({{lang-fr|Jean-Paul Marat}}) เป็นนักทฤษฎีการเมือง แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเขียนบทความทางการเมืองฝ่ายซ้ายจัดลงในหนังสือพิมพ์ในช่วง[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]] เขาเป็นหนึ่งในสื่อมวลชนหัวซ้ายจัดที่สุดในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขาเป็นกระบอกเสียงให้สำคัญแก่พวก[[Sans-culottes|ซ็อง-กูว์ล็อต]] (ชนชั้นกลางและล่าง) ผ่านใบปลิว ป้ายประกาศ หนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ ''ลามีดูว์เปิปล์'' ("สหายของเพื่อนประชาชน") ซึ่งช่วยทำให้เขามีเส้นสายกับกลุ่มลามงตาญในสโมสร[[ฌากอแบ็ง]] ซึ่งกลุ่มนี้ก้าวขึ้นมามีอำนาจในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1793
 
มาราถูกสังหารโดย[[ชาร์ล็อต กอร์แด]] ผู้ฝักใฝ่ฝ่าย[[ฌีรงแด็ง]] เธอถูกประหารชีวิตในอีกสี่วันต่อมา หลังการเสียชีวิตของมารา มาราก็ถูกชูขึ้นเป็นมรณสักขีของสโมสรฌากอแบ็ง พิธีศพมีการยิงสลุตทุก 5 นาทีเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง
บรรทัด 27:
ในปี ค.ศ. 1770 มาราย้ายไปยัง[[นิวคาสเซิลอะพอนไทน์]]และเริ่มงานเขียนทางการเมืองชิ้นแรกของเขา ''Chains of Slavery'' (''ห่วงโซ่ของระบอบทาส'') ในค.ศ. 1776 เขาก็เดินทางไปยังกรุงปารีสโดยแวะเยี่ยมครอบครัวที่นครเจนีวา ในค.ศ. 1777 เขาได้กลายเป็นแพทย์ประจำองครักษ์ในเคานต์แห่งอาร์ตัว (ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส]])<ref name="Conner, Clifford D p.35">Conner, Clifford D. Jean Paul Marat: scientist and revolutionary, Humanities Press, New Jersey 1997 p.35</ref>
 
ตั้งแต่ค.ศ. 1789 มาราเริ่มทำการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า ''ลามีดูว์เปิปล์'' ("สหายของเพื่อนประชาชน") ซึ่งช่วยทำให้เขามีเส้นสายกับกลุ่มต่อต้านระบอบกษัตริย์ และทำให้งานพิมพ์ของเขากลายเป็นกระบอกเสียงสำคัญของชนชั้นล่างและชั้นกลางไป อย่างไรก็ตาม แนวความคิดของมาราค่อนข้างเป็นฝ่ายซ้ายแบบสุดโต่งเกินไป งานเขียนส่วนใหญ่ของเขามีลักษณะที่ปลูกฝังความเกลียดชังต่อชนชั้นนำ แต่นี่กลับเป็นบทความที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในฝรั่งเศสยุคนั้น บางส่วนของงานเขียนของมารากล่าวไว้ว่า ''"ห้าหกร้อยหัวที่ถูกตัดไปจะช่วยรับประกันความสงบ, อิรสภาพอิสรภาพ และความสุขที่แท้จริง"''<ref>{{cite book|author=Gregory Fremont-Barnes|title=Encyclopedia of the age of political revolutions and new ideologies, 1760–1815: vol 1|url=https://books.google.com/books?id=30EEq8R2feIC&pg=PA450|year=2007|publisher=Greenwood |pages=1:450}}</ref>
 
งานเขียนดังกล่าวทำให้มารากลายเป็นบุคคลที่ศัตรูมากขึ้นอย่างนับไม่ถ้วน ในช่วงปีค.ศ. 1790-1792 เขาต้องหนีไปหลบซ่อนตัวในท่อน้ำทิ้งและทำให้โรคผิวหนังเรื้อรังของเขาย่ำแย่ลง (คาดว่าเป็นโรคผิวหนังอักเสบจากเริม)<ref name="Jelinek, J.E. 1979">{{cite journal | last1 = Jelinek | first1 = J.E. | year = 1979 | title = Jean-Paul Marat: The differential diagnosis of his skin disease | journal=American Journal of Dermatopathology | volume = 1 | issue = 3| pages = 251–52 | pmid = 396805 | doi=10.1097/00000372-197900130-00010}}</ref> หลังจากนั้นเขาแทบจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในอ่างน้ำใส่ยา