ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการวัลคือเรอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ฟรอมม์" → "ฟร็อม" ด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ความหมายอื่น||ภาพยนตร์ซึ่งอิงเนื้อหาของแผนการดังกล่าว ในปี ค.ศ. 2008|ดูที่=ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก}}
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 146-1969-168-07, Friedrich Fromm.jpg|200px|thumb|พลเอกอาวุโส [[ฟรีดริช ฟรอมม์ฟร็อม]] ผู้บัญชาการกองทัพสำรอง บุคคลเดียวนอกจากฮิตเลอร์ที่มีอำนาจสั่งใช้แผนปฏิบัติการวัลคือเรอ]]
 
'''ปฏิบัติการ[[วัลคือเรอ]]''' ({{lang-de|''Unternehmen Walküre''}}) เป็นแผนปฏิบัติการรักษาความต่อเนื่องของรัฐบาลในวาระฉุกเฉิน ปฏิบัติการนี้ถูกคิดขึ้นโดย[[กองทัพสำรอง]] ({{lang|de|''Ersatzheer''}}) มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศกรณีที่ระบบรัฐบาลฮิตเลอร์เกิดภาวะสุญญากาศ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการทิ้งระเบิดของ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]] หรือการลุกฮือขึ้นก่อจลาจลของผู้ใช้แรงงานนับล้านคนในประเทศที่ถูกเยอรมันยึดครอง
บรรทัด 9:
== แผนการ ==
[[ไฟล์:Claus von Stauffenberg (1907-1944).jpg|200px|thumb|พันเอก[[เคลาส์ ฟ็อน ชเตาเฟินแบร์ค]] ผู้นำหลักในการรัฐประหาร]]
แผนการดั้งเดิมได้รับการออกแบบมาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินภายในประเทศ โดยกองเสนาธิการของพลเอกฟรีดริช อ็อลบริชท์<ref name="Ref-1">Joachim Fest, ''Plotting Hitler's Death: The German Resistance to Hitler, 1933–1945'', 1996, p219</ref> และได้รับการรับรองเห็นชอบจากฮิตเลอร์เอง อันที่จริง แนวคิดในการวางแผนดึงเอากองกำลังสำรองของกองทัพบกเยอรมันในแนวหลัง (ในดินแดนเยอรมันเองหลังแนวรบ) มาใช้ในการก่อ[[รัฐประหาร]]เคยถูกหยิบยกขึ้นมาขบคิดก่อนหน้านี้แล้ว แต่ถูกพลเอกอาวุโส[[ฟรีดริช ฟรอมม์ฟร็อม]] ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ
 
การที่พลเอกเอกอาวุโสฟรีดริช ฟรอมม์ฟร็อม ผู้บัญชาการกองทัพสำรอง เป็นนายทหารคนเดียวที่สามารถออกคำสั่งเริ่มปฏิบัติการวัลคือเรอ ถือเป็นอุปสรรคต่อคณะรัฐประหารอย่างร้ายแรง แต่กระนั้น หลังจากบทเรียนที่ได้รับมาหลังจาก[[:en:Operation Spark (1940)|ความพยายามลอบสังหารฮิตเลอร์]] ในวันที่13 มีนาคม ค.ศ. 1943 แล้ว พลเอกอ็อลบริชท์รู้สึกว่าแผนการก่อรัฐประหารฉบับเดิมนั้นไม่ดีพอ และจะต้องมีการดึงเอากองทัพสำรองมาใช้ในการก่อรัฐประหารด้วยให้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้รับความร่วมมือจากพลเอกอาวุโสฟรอมม์ก็ตามฟร็อมก็ตาม
 
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 146-1976-130-53, Henning v. Tresckow.jpg|200px|thumb|พลตรี[[เฮ็นนิง ฟ็อน เทร็สโค]]]]
บรรทัด 45:
ใจความหลักของแผนการดังกล่าว คือการหลอกให้กองทัพสำรองเข้ายึดอำนาจในกรุงเบอร์ลินและล้มล้างรัฐบาลฮิตเลอร์ โดยให้ข้อมูลเท็จว่า หน่วยเอ็สเอ็สพยายามจะก่อการรัฐประหารและได้ลอบสังหารฮิตเลอร์แล้ว ปัจจัยที่สำคัญคือ นายทหารระดับล่าง (ผู้ซึ่งแผนการนี้ถือว่าจะเป็นผู้นำแผนการไปปฏิบัติ) จะถูกลวงและกระตุ้นให้กระทำการดังกล่าว จากความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า กลุ่มผู้นำรัฐบาลนาซีไม่มีความจงรักภักดีและทรยศต่อไรช์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องล้มล้างลงเสีย เหล่าผู้สมคบคิดในแผนการนี้ตั้งความหวังไว้กับการที่เหล่าทหารที่ได้รับคำสั่งจะยอมทำตามคำสั่ง (หลอก) ของพวกเขาด้วยดี หากคำสั่งดังกล่าวมาจากช่องทางการสั่งการและบังคับบัญชาที่ถูกต้อง กล่าวคือ ผ่านทางกองบัญชาการกองทัพสำรองมา โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินหลังจากฮิตเลอร์ถูกสังหารแล้ว
 
หากฮิตเลอร์ตายแล้ว จะมีเพียงพลเอกอาวุโสฟรีดริช ฟรอมม์ฟร็อม ผู้บัญชาการกองทัพสำรองเท่านั้น ที่จะออกคำสั่งใช้ปฏิบัติการวัลคือเรอได้ ดังนั้นเขาจะต้องถูกดึงตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหารหรืออย่างน้อยให้ดำรงตนเป็นกลางด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ถ้าต้องการให้แผนการดังกล่าวประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ ตัวพลเอกอาวุโสฟรอมม์ฟร็อมเองก็ทราบอย่างคร่าวๆว่ามีแผนสมคบคิดในกลุ่มทหารเพื่อต่อต้านฮิตเลอร์ (นายทหารระดับสูงของเยอรมันส่วนใหญ่ก็ทราบเช่นกัน) แต่เขาก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนแผนดังกล่าว ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รายงานเรื่องนี้ต่อ[[เกสตาโพ]]แต่อย่างใดด้วย
 
== การลงมือปฏิบัติ ==
บรรทัด 51:
บุคคลหลักของแผนการ คือ พันเอก[[เคลาส์ ฟ็อน ชเตาเฟินแบร์ค]] ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการจริงหลังจากการลอบสังหารฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 พันเอกชเตาเฟินแบร์คยังได้ปรับปรุงแผนการวัลคือเรอเพิ่มเติม ตำแหน่งหัวหน้ากองเสนาธิการกองทัพสำรองทำให้เขาสามารถเข้าถึงตัวฮิตเลอร์ในการรายงานต่าง ๆ ได้ ในตอนแรก พันเอกเทร็สโคและพันเอกชเตาเฟินแบร์คได้พยายามเสาะหานายทหารคนอื่นๆ ที่สามารถเข้าถึงตัวฮิตเลอร์และสามารถลงมือลอบสังหารเขาได้ ซึ่งพลเอก[[:en:Helmuth Stieff|เฮลมูท ชตีฟ]] ผู้อำนวยการโครงสร้างบุคลากรของ[[กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน]] ก็ได้อาสาที่จะเป็นมือสังหารฮิตเลอร์แต่ได้ถอนตัวออกไปในภายหลัง เทร็สโคพยายามหลายครั้งในการขอโอนย้ายตัวเองไปอยู่ในกองบัญชาการใหญ่ของฮิตเลอร์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ท้ายที่สุด พันเอกชเตาเฟินแบร์คจึงตัดสินใจที่จะลงมือเองในการปฏิบัติการลอบสังหารฮิตเลอร์และปฏิบัติการวัลคือเรอไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะสำเร็จเป็นอย่างมาก หลังจากความพยายามสองครั้งไม่ประสบผล ชเตาเฟินแบร์คจึงแอบลอบวางระเบิดไว้ในห้องประชุมในกองบัญชาการสนาม "รังหมาป่า" (มณฑลปรัสเซียตะวันออก) ในวันที่ 20 กรกฎาคม เพื่อสังหารฮิตเลอร์ ส่วนตนเองก็รีบออกจากรังหมาป่าบินกลับมาดำเนินการตามแผนการต่อในกรุงเบอร์ลิน อย่างไรก็ดี ฮิตเลอร์รอดชีวิตมาจากการลอบวางระเบิดดังกล่าวมาได้
 
หลังจากที่พลเอกอาวุโสฟรอมม์ฟร็อมได้รับยืนยันว่าฮิตเลอร์ไม่ได้ถูกสังหารโดยการลอบวางระเบิด เขาจึงออกคำสั่งให้ประหารชีวิตพลเอกอ็อลบริชท์ พันเอกอัลบรีชต์ ริทเทอร์ เมอร์ทซ์ ฟ็อน เควอร์นไฮม์ (หัวหน้านายทหารเสนาธิการของพลเอกอ็อลบริชท์) พันเอกชเตาเฟินแบร์ค และร้อยโท[[แวร์เนอร์ ฟ็อน เฮ็ฟเทิน]] (ผู้ช่วยชเตาเฟินแบร์ค) ทั้งหมดถูกนำตัวไปยิงประหารภายในลานของกองบัญชาการใหญ่[[:en:Bendlerblock|เบนด์เลอร์บล็อก]]<ref>Rupert Butler, The Gestapo: A History of Hitler's Secret Police 1933-45. London: Amber Books Ltd. 2004. pg. 149.</ref> ไม่นานหลังจากเที่ยงคืน วันที่ 21 กรกฎาคม 1944
 
อย่างไรก็ตาม หลังการสั่งประหารผู้สมคบก่อการในปฏิบัติการวัลคือเรอแล้ว ต่อมา ตัวพลเอกอาวุโสฟรอมม์ฟร็อมเองก็ไม่สามารถรอดพ้นไปจากชะตากรรมเดียวกันได้ เขาถูกเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคนาซี กล่าวหาว่า จงใจเร่งสั่งประหารชีวิตผู้ร่วมก่อการพยายามรัฐประหารดังกล่าว (แทนที่จะเก็บตัวไว้ก่อนเพื่อไต่สวนต่อไป) เพื่อปิดปากมิให้มีการให้การพาดพิงมาถึงตัวพลเอกอาวุโสฟรอมม์ฟร็อมเองว่าเคยมีส่วนรู้เห็นในแผนการดังกล่าวด้วย พลเอกอาวุโสฟรอมม์ฟร็อมถูกสอบสวน ถูกถอดยศ และถูกประหารชีวิตในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1945 ที่บรันเดินบวร์ค จากความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดร้ายแรงและล้มเหลวในการรายงานผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับความพยายามก่อรัฐประหาร แม้ทางการนาซีเยอรมันจะไม่สามารถหาหลักฐานที่ชัดเจนว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับปฏิบัติการวัลคือเรอก็ตาม
 
== อ้างอิง ==